ไม่พบผลการค้นหา
Day Break - LGBT ไต้หวันจดทะเบียนสมรสได้แล้วชาติแรกในเอเซีย - Short Clip
ไทยตามหลังมาเลเซีย-เวียดนามในดัชนีนวัตกรรมโลก
Biz Feed - TVD ตั้งเป้ารายได้ปี 61 โกย 3.99 พันล้าน - Short Clip
Biz Feed - 'Digital Startup' ขับเคลื่อนไอเดียสู่การเป็นสุดยอดสตาร์ทอัพ - Short Clip
ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์บูมในเอเชีย รวมไทย
Biz Feed - 'Digital Startup' ขับเคลื่อนไอเดียสู่การเป็นสุดยอดสตาร์ทอัพ - Short Clip
Biz Feed - 2018 อาจไม่ใช่ปีของเฟซบุ๊ก - Short Clip
Biz Feed - คลังเตรียมชง ครม.ลดภาษีท่องเที่ยวเมืองรองปี 61- Short Clip
CLIP Biz Feed : นโยบายกีดกันการค้าทรัมป์กระทบไทยแค่ไหน?  
CLIP Biz Feed : บริษัทมาเลฯ หาเงินให้เกาหลีเหนือ
CLIP Biz Feed : 'HijUp' เปิดโลกแฟชั่นหญิงมุสลิม
Biz Feed - อาเซียน-ออสเตรเลีย ผนึกกำลังต่อต้านการกีดกันทางการค้า - Full EP.
Biz Feed - 'รถแท็กซี่' ครองแชมป์ถูกร้องเรียนมากที่สุด - Short Clip
CLIP Biz Feed : มูจิ ขยายสาขาในต่างแดนเกินหน้าสาขาญี่ปุ่น
Biz Feed - เอเชียยังลงทุนในเมียนมาแม้มีวิกฤตโรฮิงญา - Short Clip
World Trend - 'อังกฤษ' จ่ายค่าจ้างชาวต่างชาติสูงสุดในโลก - Short Clip
World Trend - 'อังกฤษ' จ่ายค่าจ้างชาวต่างชาติสูงสุดในโลก - Short Clip
Biz Feed - คนทำงานรุ่นใหม่เบื่อง่าย เปลี่ยนงานบ่อย - Short Clip
Biz Feed - แพทย์แคนาดาค้านขึ้นค่าแรงตัวเอง - Short Clip
Biz Feed - แรงงานอาเซียนเสริม ศก.ไทย แต่หนีไม่พ้นถูกละเมิด - Short Clip
Biz Feed - PwC เปิดผลสำรวจอาชญากรรมทางเศรษฐกิจโลกปี'61 - Short Clip
Mar 15, 2018 03:14

PwC เปิดผลสำรวจอาชญากรรมทางเศรษฐกิจโลกและการฉ้อโกงปี 61 พบทวีปแอฟริกา อเมริกาเหนือ ละตินอเมริกา มีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจสูงสุด ขณะที่การยักยอกทรัพย์สิน ภัยไซเบอร์ การฉ้อโกงผู้บริโภค เป็นพฤติกรรมสุดแสบที่สร้างความเสียหายให้องค์กรมากที่สุด

ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ หรือ PwC บริษัทให้คำปรึกษาธุรกิจและบัญชี เปิดเผยผลสำรวจอาชญากรรมทางเศรษฐกิจโลกและการฉ้อโกงประจำปี 2561 หรือ The Global Economic Crime and Fraud Survey 2018 ซึ่งจัดทำขึ้นทุก 2 ปี สำหรับการสำรวจในปีนี้ ได้สำรวจความเห็นจากผู้บริหารระดับสูงและบริษัทจดทะเบียนกว่า 7,200 ราย ใน 123 ประเทศทั่วโลก พบว่า ร้อยละ 49 ของผู้บริหารระบุว่า บริษัทของพวกเขาประสบกับปัญหาการฉ้อโกงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36 จากการสำรวจเมื่อปี 2559 โดยทวีปที่มีรายงานการก่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจสูงที่สุด ได้แก่ 

- แอฟริกา (ร้อยละ 62 ปีนี้เทียบกับร้อยละ 57 ในปี 2559)

- อเมริกาเหนือ (ร้อยละ 54 ปีนี้เทียบกับร้อยละ 37 ในปี 2559) 

- ละตินอเมริกา (ร้อยละ 53 ปีนี้เทียบกับร้อยละ 28 ในปี 2559) 


ทั้งนี้ ปัญหาการยักยอกทรัพย์สิน (ร้อยละ 45) ยังคงเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่พบมากที่สุดขององค์กรในช่วง 24 เดือนที่ผ่านมา ตามด้วย อาชญากรรมทางไซเบอร์ (ร้อยละ 31) การฉ้อโกงผู้บริโภค (ร้อยละ 29) และการประพฤติผิดทางธุรกิจ (ร้อยละ 28) 


ผลสำรวจปีนี้ ยังแสดงให้เห็นว่า สัดส่วนของการก่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการกระทำของคนภายในองค์กร (Internal actors) ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่สัดส่วนของการก่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดจากผู้บริหารระดับสูง ก็เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากร้อยละ 16 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 24 ในปี 2561 โดยมีระดับแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคทั่วโลก 


สำหรับประเทศที่อาชญากรรมทางเศรษฐกิจเกิดจากการกระทำของคนภายนอก (External actors) มากที่สุด ได้แก่

- ออสเตรเลีย (ร้อยละ 64)

- สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 55)

- แคนาดา (ร้อยละ 58)

- อาร์เจนตินา (ร้อยละ 44)

- สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 48) 


นางสาวคริสติน ริเวร่า หัวหน้าสายงาน Forensics ประจำ PwC โกลบอล กล่าวว่า ผลสำรวจในปีนี้สะท้อนให้เห็นถึงการที่องค์กรต่างมีความตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของอาชญากรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น รวมทั้งประเภทของการฉ้อโกงและผู้กระทำผิด บทบาทของเทคโนโลยี ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการฉ้อโกง และต้นทุนความเสียหายที่ภาคธุรกิจต้องแบกรับ หากเกิดภัยคุกคามขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความเข้าใจและการรายงานการเกิดอาชญากรรมทางเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้บริหารมากกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 51 ยังคงบอกว่าไม่รู้ หรือไม่เคยรู้เลยว่า องค์กรของตนเคยประสบกับปัญหาการฉ้อโกงหรือไม่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า หลายองค์กรยังคงมีจุดบอดในเรื่องนี้อยู่

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog