ไม่พบผลการค้นหา
มาเลเซียแอร์ไลน์ ไม่ได้ล้มละลายเพราะโศกนาฏกรรม?
Biz Feed - แคนาดาเป็นจุดหมายของบริษัทขุดบิทคอยน์จีน - Short Clip
Biz Feed - Biz Insight:เครื่องสำอางเกาหลีมุ่งตีตลาดมุสลิมในอาเซียน- Short Clip
World Trend - ย้อนรอยโศกนาฏกรรม 'มาเลเซียแอร์ไลน์' - Short Clip
ไทยขาดแรงงานฝีมือกระทบธุรกิจนวัตกรรม
Biz Insight : จีนชิงบัลลังก์ผู้นำด้านพลังงานทดแทน 
Biz Feed - เอเชียยังลงทุนในเมียนมาแม้มีวิกฤตโรฮิงญา - Short Clip
 Biz Insight :  ชนชั้นกลางจีนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จน้อยลง
Biz Insight : ท่องเที่ยวไทยจะช่วยเศรษฐกิจได้ถึงเมื่อไหร่? 
Biz Feed - จีนให้วีซาฟรี 10 ปี กับชาวต่างชาติฝีมือสูง - Short Clip
CLIP Biz Feed : H&M เปิดแบรนด์ใหม่ หลังถูกร้านออนไลน์ตีตลาด
CLIP Biz Feed : นโยบายกีดกันการค้าทรัมป์กระทบไทยแค่ไหน?  
Biz Feed - ปี 2017 ชาวฟิลิปปินส์ส่งเงินกลับประเทศมากที่สุด - Short Clip
Biz Feed - คนทำงานรุ่นใหม่เบื่อง่าย เปลี่ยนงานบ่อย - Short Clip
Biz Feed - 2018 อาจไม่ใช่ปีของเฟซบุ๊ก - Short Clip
สินค้าหรูทั่วโลกปรับตัวเอาใจลูกค้าจีน
Biz Feed - กระทรวงการคลังเร่งแก้เงินบาทแข็งค่า - Short Clip
CLIP Biz Feed : 5 ธุรกิจสำหรับนักลงทุนยุคมิลเลนเนียล
แรงงานกัมพูชาเสียชีวิตในไทย 4 ปี กว่า 500 ศพ
Biz Feed - คนดูโฆษณาน้อยลง ซูเปอร์โบลยิ่งสำคัญ - Short Clip
Clip Biz Feed : ปฏิรูปมาเลเซียแอร์ไลน์ฟื้นฟูภาพลักษณ์ได้? 
Apr 25, 2017 05:18

นับตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา ที่เครื่องบินลำหนึ่งสูญหาย ส่วนอีกลำก็ถูกยิงตก มาเลเซียแอร์ไลน์ก็ประสบวิกฤตความเชื่อมั่นตลอดมา ล่าสุด มาเลเซียได้ปฏิรูปสายการบินแห่งชาติครั้งใหญ่ โดยหวังว่าจะช่วยฟื้นฟูภาพลักษณ์กลับมาเป็นสายการบินพรีเมียมที่มีความปลอดภัยสูง

การเป็นผู้บริหารของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์อาจเรียกได้ว่าเป็นตำแหน่งที่ลำบากที่สุดในโลกอุตสาหกรรมการบิน เพราะหลังจากเที่ยวบิน MH370 สูญหายไปอย่างปริศนา และเที่ยวบิน MH17 ก็ถูกยิงตกในยูเครน ก็มีคนมานั่งเก้าอี้ผู้บริหารถึง 3 คนในเวลาไม่ถึง 3 ปีเท่านั้น แต่นายปีเตอร์ เบลลิว ผู้บริหารคนปัจจุบันก็ยังคงเชื่อมั่นว่า มาเลเซียแอร์ไลน์ยังไม่หมดอนาคตอย่างที่หลายคนคาดการณ์ไว้

ที่ผ่านมา มาเลเซียแอร์ไลน์พยายามปฏิรูปสายการบินครั้งใหญ่ ด้วยการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อลดการขาดทุน มีการปลดพนักงานประมาณ 6,000 ตำแหน่ง รวมถึงยกเลิกเส้นทางบินระยะยาวเกือบทั้งหมด และกลับมาให้ความสำคัญกับเที่ยวบินภายในเอเชียเอง เพราะนายเบลลิวมองว่า อเมริกาและยุโรปอาจไม่สร้างรายได้ให้กับมาเลเซียได้มากเท่ากับเที่ยวบินในเอเชียเอง

ดังนั้น มาเลเซียแอร์ไลน์จึงลงทุนซื้อเครื่องบิน A380 ซูเปอร์จัมโบเจ็ท ที่สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 715 คน มี ส่วนที่เป็นชั้นธุรกิจ มีห้องละหมาด และห้องอาบน้ำละหมาด เพื่อรองรับผู้แสวงบุญที่จะไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่กรุงมักกะของซาอุดีอาระเบียช่วงเดือนกันยายนนี้ ซึ่งนายเบลลิวคาดว่าจะเป็นช่วงที่มาเลเซียแอร์ไลน์จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง และสามารถช่วงชิงสัดส่วนตลาดมาได้ประมาณร้อยละ 5 - 6 แล้วจึงค่อยๆเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะช่วงพิธีฮัจญ์เป็นช่วงสำคัญของทุกสายการบิน

นอกจากนี้ นายเบลลิวยังยืนยันว่า จะไม่เปลี่ยนชื่อสายการบินอย่างที่หลายคนแนะนำ แต่จะทำให้ชื่อนี้กลับมาเป็นสายการบินพรีเมียมให้ได้ เพราะการเปลี่ยนชื่อถือเป็นการลบล้างชื่อเสียงที่ดีที่มาเลเซียแอร์ไลน์สั่งสมมานานก่อนจะเกิดเหตุไม่คาดฝันเมื่อปี 2014 โดยจะมีการนำเทคโนโลยีติดตามเครื่องบินด้วยดาวเทียมมาใช้เป็นสายการบินแรกของโลก ซึ่งระบบนี้จะทำให้สามารถติดตามเครื่องบินที่ใช้งานอยู่ทุกที่ในโลกแบบเรียลไทม์ ทั้งในมหาสมุทร ขั้วโลก หรือพื้นที่ห่างไกล 

อย่างไรก็ตาม นายจอร์แดน โกลสัน ผู้สื่อข่าวด้านเทคโนโลยีและยานยนต์ของ Wired ก็แย้งว่า เทคโนโลยีใหม่นี้ราคาสูงและไม่มีความจำเป็นมากนัก เพราะระบบการติดตามเครื่องบินที่ใช้ปัจจุบันดีอยู่แล้ว นอกจากนี้ การใช้ระบบดาวเทียมจะทำให้ต้องใช้แบนด์วิธที่ใหญ่มาก ข้อมูลก็จะเยอะมากเกินจำเป็น ยิ่งไปกว่านั้น เหตุร้ายที่เกิดขึ้นกับเครื่องบินทั้ง 2 ลำของมาเลเซีย แอร์ไลน์ก็ไม่สามารถป้องกันได้ด้วยระบบติดตามแบบเรียลไทม์ ดังนั้น เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยนี้ก็อาจไม่ได้ช่วยให้คนรู้สึกปลอดภัยขึ้นกว่าเดิมมากนัก เพียงแต่ช่วยในด้านความรู้สึกและความเชื่อมั่น ซึ่งจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของสายการบิน

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog