ไม่พบผลการค้นหา
Biz Feed - คนทำงานรุ่นใหม่เบื่อง่าย เปลี่ยนงานบ่อย - Short Clip
ผลสำรวจชี้ ไทยติดอันดับ 6 เบียร์ถูกที่สุดในโลก
ยูนิเซฟขานรับ พ.ร.บ.คุมโฆษณานมผงไทย
World Trend - ชนชั้นกลางจีนไม่มีลูกคนที่ 2 เพราะค่าใช้จ่ายสูง - Short Clip
แอร์เอเชียสร้างหลักสูตรช่างซ่อมเครื่องบิน
นักท่องเที่ยวต่างชาติต้องโชว์เงิน 2 หมื่นก่อนเข้าไทย
World Trend - เทนเซ็นต์เตรียมแจ้งเตือนเด็กซื้อเกมเยอะ - Short Clip
Biz Insight :  แอมะซอนไม่ยอมแพ้ตลาดจีน แม้ยอดขายไม่เพิ่ม 
สินเชื่อคนแก่.....สำหรับชีวิตหลังเกษียณ
Biz Feed - เงินสะพัดธุรกิจสัตว์เลี้ยงเกือบ 3 หมื่นล้านบาท - Short Clip
Biz Feed - 'ดีแทคพลิกไทย'สนับสนุน10โครงการเพื่อสังคมระดมทุน - Short Clip
 Biz Insight   นักท่องเที่ยวชี้ ตม.ไทยเรียกโชว์เงินเลือกปฏิบัติ
Talking Thailand - “ประยุทธ์” หลับตาลงได้อย่างไร..เมื่อมีคนตกงานรายวันเพราะพิษเศรษฐกิจ - Short Clip
ตั้งเป้าดันราคายางที่ 66 บาทต่อ กก.
CLIP BizFeed : จ้างงานผู้สูงอายุ รับสังคมสูงวัยอย่างยั่งยืน
เด็กไทยจ่ายเงินซื้อขนมมากสุดในเอเชียแปซิฟิก
World Trend - เกาหลีใต้เริ่มแบนถุงพลาสติกในซูเปอร์มาร์เก็ต - Short Clip
Biz Feed - ปิดอ่าวมาหยา 3 เดือน ฉุดรายได้ท่องเที่ยวกระบี่ร้อยละ 6 - FULL EP.
ธุรกิจห้องพักชั่วคราวในสนามบินเริ่มตั้งหลักแม้รายได้น้อย
Talking Thailand - 'เพื่อไทย' เคยเสนอแจกเงิน 5,000 ช่วยคนตกงาน...รัฐบาลก็แจกจริง - Short Clip
เฟดขึ้นดอกเบี้ยกระทบทั่วโลกอย่างไร?
Jun 16, 2017 02:39

การขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ในรอบ 6 เดือนของธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อทั้งโลก โดยไทยเองเพิ่งจะเผชิญกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าที่สุดในรอบ 23 เดือน แต่ก่อนอื่นมาดูกันว่าผลกระทบที่เกิดในสหรัฐฯมีอะไรบ้าง

สิ่งที่ผู้บริโภคชาวอเมริกันต้องเจอ เมื่อเฟดขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังต่ำกว่าเป้า ก็คือการใช้เงินผ่านบัตรเครดิตจะมีต้นทุนมากขึ้น เช่นเดียวกับผู้ที่กู้เงินโดยใช้ระบบดอกเบี้ยลอยตัว ที่ต้องรับภาระดอกเบี้ยหนักขึ้น ส่วนผู้ที่จะไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากนัก ก็คือผู้กู้ซื้อรถ และผู้ที่หวังจะได้ดอกเบี้ยเงินฝากมากขึ้นจากการขึ้นดอกเบี้ย ก็คงเป็นความหวังลมๆแล้งๆ เพราะแม้ดอกเบี้ยจะขึ้น แต่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากโดยเฉลี่ยก็ยังต่ำมากอยู่ดี
 
ผลกระทบที่ใหญ่ที่สุดจากการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ไม่ได้เกิดกับคนอเมริกัน แต่เกิดกับประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงไทย เนื่องจากเมื่ออัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯสูงขึ้น นักลงทุนทั่วโลกก็จะนำเงินลงทุนกลับไปยังสหรัฐฯ ซึ่งมีโอกาสและทางเลือกในการลงทุนมากกว่า หลังจากที่ผ่านมา การลดอัตราดอกเบี้ยจนเกือบเป็นศูนย์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ทำให้เงินทุนจำนวนมากหลั่งไหลมายังประเทศกำลังพัฒนาที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจค่อนข้างมั่นคง ในฐานะตัวเลือกที่ดีรองลงมาจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และมีโอกาสได้กำไรจากดอกเบี้ยมากกว่าโดยไม่มีความเสี่ยงสูงเกินไป ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับควานิยมในหมู่นักลงทุน ทำให้ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แม้ว่าเงินทุนที่ไหลออกไป ซึ่งจะทำให้เงินบาทอ่อนลง และดอลลาร์แข���งขึ้นในยระยะยาว จะมีผลกระทบในทางบวกต่อไทย เนื่องจากไทยพึ่งพิงการส่งออกและการท่องเที่ยว จึงต้องการให้เงินบาทอ่อนลงมากกว่าแข็งค่าขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน เงินบาทที่อ่อนก็จะทำให้บริษัทที่กู้เงินในสกุลดอลลาร์ มีภาระหนี้เพิ่มขึ้นได้

ความผันผวนของค่าเงินที่อิงกับดอลลาร์สหรัฐเช่นนี้ เป็นภาวะที่ยากจะควบคุมได้นี้ แต่ก็เป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะต้องเข้ามาดูแล ผ่านเครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา นอกจากการเข้าไปพยุงค่าเงินบาทผ่านการเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐแล้ว

อีกมาตรการที่แบงก์ชาตินำมาใช้คือ การลดปริมาณการออกพันธบัตร ธปท. อายุต่ำกว่า 1ปี ซึ่งทำต่อเนื่อง 3 เดือนแล้ว ตั้งแต่เดือนเมษายน เพื่อลดการไหลเข้าของเงินลงทุนระยะสั้น หรือเงินร้อน ที่กดดันให้บาทแข็งในทางหนึ่ง รวมถึงการสร้างกลไกระยะยาว ผ่านการเปิดให้แลกเปลี่ยนเงินสกุลท้องถิ่นโดยตรง เช่น หยวน-บาท ริงกิต-บาท เพื่อลดความผันผวนของดอลลาร์สหรัฐ และการปลดล็อกกฎระเบียบขยายช่องทางให้คนไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความสมดุลของเงินทุนไหลเข้า-ไหลออกประเทศ เป็นต้น
 
ในอีกด้านหนึ่ง คือการส่งสัญญาณเน้นย้ำให้ผู้ประกอบการที่มีกิจกรรมการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน หลังจากพบว่า ผู้ส่งออก-นำเข้าไทยกว่าร้อยละ 60 ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งที่จะสามารถป้องกันการสูญเสียรายได้จากความผันผวนของค่าเงินได้ 

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog