ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - WWF เผยสัตว์ป่าทั่วโลกลดลง 60% ในช่วง 50 ปี - Short Clip
World Trend - วิธีสร้างนิสัยดูแลสุขภาพฟันของลูก - Short Clip
World Trend - ผู้ถูกรังแกในที่ทำงานเสี่ยงหัวใจวายกว่าคนทั่วไป - Short Clip
World Trend - เด็กไทยเสี่ยงภัยออนไลน์เกินค่าเฉลี่ยโลก - Short Clip
World Trend - สหรัฐฯ สั่งบริการสตรีมมิงเพลง เพิ่มค่าลิขสิทธิ์ให้ศิลปิน - Short Clip
World Trend - ฮ่องกงฝึกบุคลากรรับมือผู้ป่วยความจำเสื่อม - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ติดกีฬามีความสุขกว่าติดมือถือ - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นห้ามคนเมาใช้โดรน - Short Clip
World Trend - FedEx เตรียมใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติส่งของ - Short Clip
World Trend - ผลสำรวจชี้ คนรุ่นใหม่มองชีวิตในแง่ร้าย - Short Clip
World Trend - ซาอุดีฯ เตรียมเปิดโรงหนังในรอบ 35 ปี - Short Clip
World Trend - 'อ้ายฉีอี้' เปิดตัวแอปฯ ใหม่ เจาะตลาดผู้สูงวัย - Short Clip
World Trend - ​'กวางนาระ' ทำร้ายนักท่องเที่ยวเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
World Trend - อาลีบาบาขึ้นแท่นแบรนด์มูลค่าสูงสุดในจีน - FULL EP.
World Trend - คลินิกบำบัดอาการติดโซเชียล คืนละ 50,000 บาท - Short Clip
World Trend - ชาวอเมริกันนิยมอยู่บ้านเพื่อประหยัดพลังงาน - Short Clip
World Trend - YouTube เก็บข้อมูลเด็กโดยไม่รับอนุญาต - Short Clip
World Trend - 'อาหารห่อกลับ' ปัจจัยเร่งโรคอ้วนในเด็กอังกฤษ - Short Clip
World Trend - ผู้บริโภคเกาหลีแบนสินค้าญี่ปุ่น - Short Clip
World Trend - ไอโฟน 2019 อาจอัปเกรดกล้องสแกนใบหน้า - Short Clip
World Trend - ‘iGen’ คนยุคติดสมาร์ตโฟนที่แสนเปราะบาง - Short Clip
Nov 14, 2018 16:30

อาจารย์ด้านจิตวิทยาในอเมริกาเปิดเผยว่า สมาร์ตโฟนและโซเชียลมีเดียทำให้คนรุ่นใหม่มีความสุขน้อยลง จนได้ชื่อว่าคนรุ่นนี้อยู่ในยุค ‘iGen’ ที่มีอารมณ์เปราะบาง

จีน ทเวนจ์ (Jean Twenge) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาลัยซานดิเอโก สหรัฐอเมริกา ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับคนยุคใหม่อย่าง ‘iGen’ และ ‘Generation Me’ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอเอฟพีถึง ‘iGen’ ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่เกิดหลังปี ค.ศ. 1995 ว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้าสูง เพราะใช้สมาร์ตโฟนและโซเชียลมีเดียมากเกินไป

ทเวนจ์อธิบายว่า กลุ่ม iGen เป็นเจเนอเรชันแรกที่ใช้ชีวิตวัยรุ่นท่ามกลางสมาร์ตโฟนอย่างเต็มรูปแบบ จึงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการท่องโลกออนไลน์และมีอาการติดจอ จนไม่ค่อยทำกิจกรรมอื่น หรือไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นต่อหน้า ซึ่งส่งผลให้โตช้ากว่าคนยุคก่อน เพราะคนกลุ่มนี้อยากรู้สึกปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา จึงไม่อยากทำอะไรที่เสี่ยง แต่ขณะเดียวกันก็กลัวตกกระแส

ระหว่างปี 2011 - 2012 ทเวนจ์พบว่ามีจำนวนวัยรุ่นที่รู้สึกเหงาหรือรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอาการของโรคซึมเศร้า โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น 60 เปอร์เซ็นต์ และมีจำนวนวัยรุ่นที่พยายามฆ่าตัวตายมากขึ้นสองเท่าในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่สมาร์ตโฟนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น 

โดยทเวนจ์แนะนำว่า ผู้ปกครองควรจำกัดเวลาเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 13 - 18 ปี ให้ใช้สื่อดิจิทัลได้วันละสองชั่วโมงหรือน้อยกว่านั้น และควรใช้โซเชียลมีเดียเพื่อติดต่อกับเพื่อน วางแผนกิจกรรมร่วมกัน และดูวิดีโอได้บ้างเล็กน้อย ซึ่งจะเป็นการใช้ประโยชน์จากโลกออนไลน์ได้ดีที่สุด และจะส่งผลดีต่อสุขภาพจิตได้มากขึ้น

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog