ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - EU หนุนการแพทย์ฉุกเฉินด้วยเฮลิคอปเตอร์ในไทย - Short Clip
World Trend - แพทย์ชี้โรคอ้วนอาจรักษาได้ด้วยการ 'กระตุ้นสมอง' - Short Clip
World Trend - หุ่นยนต์ช่วยประกอบเก้าอี้ IKEA ภายใน 9 นาที - Short Clip
World Trend - WHO เผย คนไม่ออกกำลัง 1.4 ล้านคนเสี่ยงเป็นโรคร้าย - Short Clip
World Trend - บริษัทดัตช์ พัฒนาการใช้หุ่นยนต์ผ่าตัด - Short Clip
World Trend - Uber เปิดตัวบริการช่วยผู้ป่วยเดินทางพบแพทย์ - Short Clip
World Trend - ฝรั่งเศสสั่งแบนสมาร์ตโฟนในโรงเรียน - Short Clip
World Trend - ยานรัสเซียทุบสถิติเดินทางไปสถานีอวกาศใน 4 ชม. - Short Clip
World Trend - สุนทรพจน์บนเวทีออสการ์ไม่ได้แก้ปัญหาในฮอลลีวูด - Short Clip
World Trend - เตรียมเปิดรถไฟความเร็วสูงเชื่อมจีน-ฮ่องกง - Short Clip
World Trend - นักวิจัยแนะใช้โซเชียลมีเดียวันละ 30 นาที - Short Clip
World Trend - กูเกิลพัฒนารถไร้คนขับให้ลุยหิมะได้ - Short Clip
World Trend - โดมิโน่เตรียมใช้รถไร้คนขับส่งพิซซา - Short Clip
World Trend - 'รองเท้าผ้าใบ' เทรนด์สุขภาพมนุษย์เงินเดือน - Short Clip
World Trend - 'ฮอร์โมนเพศชายสูง' กระตุ้นการซื้อสินค้าหรูหรา - Short Clip
World Trend - สวีเดนสร้างหุ่นยนต์เปลี่ยนใบหน้าได้ - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้แอลกอฮอล์ส่งผลเสียต่อสุขภาพผิว - Short Clip
World Trend - อินเดียเตรียมเปิดไฮเปอร์ลูปปี 2021 - Short Clip
World Trend - กวินเน็ธ พัลโทรว์ ขยายแบรนด์ 'กูป' ลงเน็ตฟลิกซ์ - Short Clip
World Trend - ​​M&S ให้เช่าสายชาร์จ หวังดึงลูกค้าคนรุ่นใหม่ - Short Clip
World Trend - นักวิจัยสวีเดนสร้าง ‘วีอาร์’ ทางช้างเผือก - Short Clip
Jul 2, 2018 09:02

นักวิจัยจากสวีเดนสร้างสรรค์วีอาร์สามมิติเป็นภาพทางช้างเผือก โดยหวังว่าผลงานนี้จะช่วยให้นักดาราศาสตร์ค้นพบสิ่งใหม่ในอวกาศได้เพิ่มขึ้น

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยลุนด์ ทางตอนใต้ของประเทศสวีเดน ซึ่งประกอบด้วยนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ออสการ์ เอเกิร์ซ (Oscar Agertz) และอาจารย์จากคณะวิศวกรรม แมสเทียส วอลเลอร์การ์ด (Mattias Wallergård) ได้นำข้อมูลดวงดาวกว่าพันล้านดวงที่ได้จากดาวเทียมไกอา มาพัฒนาเป็นกาแล็กซี่แบบอินเตอร์แอคทีฟที่คนทั่วไปสามารถสัมผัสได้ผ่านแว่นวีอาร์สามมิติ โดยทีมเชื่อว่าเทคโนโลยีเสมือนจริงนี้จะช่วยขยายขอบเขตให้นักดาราศาสตร์สำรวจอวกาศได้มากขึ้น ซึ่งการใช้วิธีปัจจุบันอาจยังไม่เอื้อในการค้นพบใหม่ 

นักวิจัยในโครงการมองว่า ระบบนี้จะทำให้ศึกษาอวกาศได้ละเอียดขึ้น นอกจากนั้น ยังสามารถระบุโครงสร้างของข้อมูลดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่ซับซ้อนได้ และสามารถระบุรูปแบบของธารดาวฤกษ์ หรือ Stellar streams ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่มารวมตัวกันและเคลื่อนที่ไปพร้อมกันในลักษณะยาวคล้ายลำธาร โดยทีมงานคาดว่า จะสามารถนำระบบนี้มาใช้งานได้จริงภายในปีนี้

นอกจากจะนำวีอาร์มาใช้ในการศึกษาอวกาศ ยังมีอีกทีมวิจัยในมหาวิทยาลัยลุนด์ที่นำวีอาร์มาช่วยในการศึกษาเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด โดยโปรเจกต์นี้นำทีมโดยชามิต โซนจิ (Shamit Soneji) เมื่อผู้ใช้สวมแว่นวีอาร์และชี้ไปยังจอคอมพิวเตอร์ ก็จะเห็นสเต็มเซลล์ต่าง ๆ ในโลกเสมือนจริง 

โซนจิ เชื่อว่าแพทย์จะเรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์วีอาร์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยให้ทราบรายละเอียดว่าแต่ละยีนทำงานอย่างไรภายในเซลล์ หรือแม้แต่คนที่ไม่คุ้นเคยกับชีววิทยาทางการแพทย์ ก็สามารถศึกษาได้ไม่ยาก และยังสนุกสนาน ผ่านการใช้วีอาร์เพียง 30 นาที


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog