ไม่พบผลการค้นหา
"กฟน.-กองทัพเรือ" ปลูกป่าชายเลนป้องกันคลื่นกัดเซาะ
กฟน.เดินหน้านำสายไฟฟ้าลงดิน ถ.นานาเหนือ
กฟน. แถลงความสำเร็จนำไฟฟ้าลงใต้ดินเพิ่มเติม 4 เส้นทาง ใจกลางกรุงฯ
Tonight Thailand - กฟน.เดินหน้าเจาะอุโมงค์ไฟฟ้าใหญ่สุดในไทย - Short Clip
กฟน.แจงโครงการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินย่านพระราม 3
Day Break - การไฟฟ้านครหลวง นำเสาไฟฟ้ามาทำแนวป้องกันคลื่น - Short Clip
Wake Up News - กฟน.รับมอบฝักโกงกาง ปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติฯ - Short Clip
กฟน.นำท่อพิเศษแก้สายสื่อสารรกรุงรังครั้งแรกในไทย
​กฟน.ตั้งเป้าปี 61 จัดระเบียบสายสื่อสาร 45 กม.
กฟน. จัดชี้แจงลดผลกระทบก่อสร้างโครงการไฟฟ้าใต้ดินถนนพระราม 3 ช่วงที่ 1
Wake Up News - กฟน.เดินหน้าสายไฟฟ้าใต้ดิน ถ.รัชดา-พระราม 9 - Short Clip
กฟน.ครบรอบ 60 ปี พร้อมขับเคลื่อน Smart Metro
กฟน.มอบรางวัลอาคารประหยัดพลังงาน ปีที่ 5
กฟน.สนับสนุนพัฒนาคุณภาพชีวิต-ฝึกงานคนพิการ
กฟน.-จุฬาฯ สร้างเมืองนวัตกรรมแห่งสยาม
กฟน. สาธิตใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
กฟน.ขยายพื้นที่เปิด 'ตลาดประชารัฐ'
Tonight Thailand - กฟน.ชวนเที่ยวงานกาชาด ร่วมทำบุญลุ้นโชคลอยคว้า - Short Clip
Wake Up News - ท้าขึ้น 'รถกระเช้า กฟน.' วัดใจวันเด็กปี 62 - Short Clip
Wake Up News - กฟน.ร่วมโชว์นวัตกรรมไฟฟ้า งาน IEEE PES GTD ASIA 2019 - Short Clip
กฟน.เดินหน้าปักเสาไฟป้องกันชายฝั่งทะเล
Mar 22, 2018 12:07

การไฟฟ้านครหลวง นำเสาไฟฟ้าที่ไม่ใช้งานแล้ว ไปสร้างแนวคันกันคลื่น ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการกัดเซาะชายฝั่งทะเลแล้ว ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย 

เสาไฟฟ้าที่ถูกรื้อถนนและไม่ได้ใช้งานแล้ว ที่มีอายุการใช้งาน 30 ปี มีโครงสร้างลวดเหล็กภายใน ที่รองรับแรงดัดได้ถึง 4.5 ตันเมตร งอโค้งได้ 7-8 เซนติเมตร และรับแรงปะทะของคลื่นทะเลได้เป็นอย่างดี ถูกนำมาปักเป็นกลุ่ม เพื่อเป็นแนวกันคลื่นบริเวณทะเลเขตบางขุนเทียน 

ภารกิจนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง การไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. กับกรุงเทพมหานคร ที่เดินหน้าโครงการสร้างแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลกรุงเทพฯ ระยะทาง 4.7 กิโลเมตร

แนวกั้นเหล่านี้ ถือเป็นด่านแรกในการลดความแรงของคลื่นให้มีขนาดเล็กลง ก่อนผ่านไปสู่แนวเสาไม้ไผ่ที่อยู่ใกล้ฝั่งต่อไป ทั้ง 2 แนวกันคลื่นนี้ เป็นหัวใจสำคัญของการชะลอปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งได้เป็นอย่างดี

ไม่เพียงแต่บริเวณนี้เท่านั้น ตั้งแต่ปี 2548 ชายฝั่งบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า จ.สมุทรปราการ  กฟน.ร่วมมือกับกองทัพเรือ นำเสาไฟฟ้าที่ชำรุด มาสวมยางรถยนต์เก่า ทำแนวป้องกันระยะทางกว่า 1,100 เมตร ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี

และถือเป็นความสำเร็จไปอีกขั้น เพราะนอกจากจะลดความแรงของกระแสน้ำแล้ว ยังพบปริมาณตะกอนสะสมหลังเขื่อนเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดต้นกล้าและลูกไม้หนาแน่นขึ้น ถือเป็นการช่วยฟื้นฟูธรรมชาติ เป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำและนกหลายชนิด  

หลังจากนี้ กฟน. จะเดินหน้าโครงการต่อ ด้วยการส่งมอบเสาไฟฟ้าที่รื้อถอนจากถนนพหลโยธิน พญาไท และสุขุมวิท 1,344 ต้น ไปติดตั้งตามแนวชายฝั่งในลักษณะกลุ่มทรงสามเหลี่ยมแบบเฉียง ขนาด 1.5*1.5 เมตร ตลอดระยะทาง 4,700 เมตร หรือเท่ากับขอบเขตชายฝั่งกรุงเทพมหานคร

และภายใน 5 ปี นับจากนี้  ยังมีเป้าหมายส่งมอบเสาไฟฟ้าไปใช้ป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน อีก 10,000 ต้น และใช้บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า อีก 5,000 ต้น ต่อไป  

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog