ไม่พบผลการค้นหา
กฟน.ยกระดับงานก่อสร้างสายไฟฟ้าใต้ดินนานาเหนือ
กฟน.แจงโครงการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินย่านพระราม 3
"กฟน.-กองทัพเรือ" ปลูกป่าชายเลนป้องกันคลื่นกัดเซาะ
กฟน.เสริมความรู้ด้านไฟฟ้าแก่ภาคอุตสาหกรรม
กฟน.เปิดตัวแอปฯ MEA EV รองรับยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต
"กฟน.-บีซีพีจี" จับมือลุยธุรกิจพลังงานทดแทน
กฟน. แถลงความสำเร็จนำไฟฟ้าลงใต้ดินเพิ่มเติม 4 เส้นทาง ใจกลางกรุงฯ
Wake Up News - กฟน.เดินหน้าสายไฟฟ้าใต้ดิน ถ.รัชดา-พระราม 9 - Short Clip
กฟน.เผยเบื้องหลังความสำเร็จระบบไฟฟ้างานกาชาด
กฟน.ครบรอบ 60 ปี จัดมหกรรมวิ่งการกุศล
กฟน.ครบรอบ 60 ปี พร้อมขับเคลื่อน Smart Metro
กฟน.เดินหน้าพัฒนาระบบไฟฟ้า สู่วิถีชีวิตเมืองมหานคร
กฟน.-ซีพี นำร่องเปิดสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า
กฟน.เดินหน้าปักเสาไฟป้องกันชายฝั่งทะเล
Wake Up News - กฟน.รับมอบฝักโกงกาง ปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติฯ - Short Clip
Tonight Thailand - กฟน.ชวนเที่ยวงานกาชาด ร่วมทำบุญลุ้นโชคลอยคว้า - Short Clip
​กฟน.ตั้งเป้าปี 61 จัดระเบียบสายสื่อสาร 45 กม.
กฟน.-จุฬาฯ สร้างเมืองนวัตกรรมแห่งสยาม
Tonight Thailand - กฟน.เดินหน้าเจาะอุโมงค์ไฟฟ้าใหญ่สุดในไทย - Short Clip
กฟน.นำท่อพิเศษแก้สายสื่อสารรกรุงรังครั้งแรกในไทย
กฟน.เดินหน้านำสายไฟฟ้าลงดิน ถ.นานาเหนือ
Jul 23, 2018 10:00

การไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. เดินหน้าโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา เพิ่มเสถียรภาพ และความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าให้มีความเพียงพอ มั่นคง ตลอดจนการเตรียมพร้อมรองรับความต้องการไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต เสริมสร้างทัศนียภาพของกรุงเทพมหานครให้มีความสวยงาม และเพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน

นาย เทพศักดิ์ ฐิตะรักษา ผู้ช่วยผู้ว่าการ กฟน. กล่าวว่า โครงการนี้ กฟน.ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ในครั้งนี้ได้ดำเนินการในพื้นที่ถนนนานาเหนือ ตั้งแต่แยกนานาถึงสะพานข้ามคลองแสนแสบ ความยาว 750 เมตร ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2561 รวมงบประมาณกว่า 30 ล้านบาท โดย กฟน. ได้มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร โรงแรม ร้านอาหารต่างๆ รวมถึงลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ว่าจะมีการนำเสาไฟฟ้าออก

สำหรับ ถนนนานาเหนือ ถือเป็นพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว มีความหนาแน่นด้านการจราจร และร้านค้าที่เปิดให้บริการในช่วงกลางคืน มีความซับซ้อนทางกายภาพ ซึ่งทำให้ต้องดำเนินการอย่างรัดกุม โดยมีแผนดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคมนี้เป็นต้นไป รวมระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งจะทำในช่วงเวลากลางคืน 22 นาฬิกา ถึง 4 นาฬิกา ของทุกวัน เพื่อให้เป็นอุปสรรคต่อการจราจรในช่วงกลางวัน

ทั้งนี้ กฟน.มีแผนนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินทั้งสิ้น 214.6 กิโลเมตร ภายในปี 2564 ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จ 45.6 กิโลเมตร โดยเฉพาะในพื้นที่ย่านเศรษฐกิจต่างๆ  สำหรับพื้นที่ต่อไป กฟน. จะดำเนินการก่อสร้างในพื้นที่ถนนพระราม 3 ตั้งแต่สะพานพระราม 9 ถึง บริเวณสะพานกรุงเทพ รวมระยะทาง 4.6 กิโลเมตร และพื้นที่ใจกลางเมือง อย่างถนนวิทยุ อีก 2.1 กิโลเมตร

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog