ไม่พบผลการค้นหา
กฟน.ส่งมอบศาลาใจกลางสวนลุมแก่ กทม.
กฟน. แถลงความสำเร็จนำไฟฟ้าลงใต้ดินเพิ่มเติม 4 เส้นทาง ใจกลางกรุงฯ
กฟน.ทุ่มงบกว่า 1.2 พันล้าน จ่ายไฟฟ้าสถานีกลางบางซื่อ
กฟน.เผยเบื้องหลังความสำเร็จระบบไฟฟ้างานกาชาด
Tonight Thailand - กฟน.เดินหน้าเจาะอุโมงค์ไฟฟ้าใหญ่สุดในไทย - Short Clip
กฟน.เดินหน้าปักเสาไฟป้องกันชายฝั่งทะเล
กฟน.เดินหน้านำสายไฟฟ้าลงดิน ถ.นานาเหนือ
กฟน.โชว์นวัตกรรมล้ำ ขับเคลื่อนมหานคร
กฟน. จัดชี้แจงลดผลกระทบก่อสร้างโครงการไฟฟ้าใต้ดินถนนพระราม 3 ช่วงที่ 1
กฟน.-ซีพี นำร่องเปิดสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า
กฟน.แจงโครงการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินย่านพระราม 3
"กฟน.-บีซีพีจี" จับมือลุยธุรกิจพลังงานทดแทน
กฟน.ครบรอบ 60 ปี จัดมหกรรมวิ่ง 'ก้าวสู่วิถีอนาคต'
​กฟน.ตั้งเป้าปี 61 จัดระเบียบสายสื่อสาร 45 กม.
กฟน. แจงตัดสายสื่อสาร เป็นหน้าที่บริษัทสื่อสาร
กฟน.ครบรอบ 60 ปี พร้อมขับเคลื่อน Smart Metro
"กฟน.-กองทัพเรือ" ปลูกป่าชายเลนป้องกันคลื่นกัดเซาะ
กฟน.เดินหน้าพัฒนาระบบไฟฟ้า สู่วิถีชีวิตเมืองมหานคร
Wake Up News - กฟน.จับมือ MG เตรียมพร้อมติดตั้งเครื่องอัดประจุรถไฟฟ้า - Short Clip
กฟน.ครบรอบ 60 ปี จัดมหกรรมวิ่งการกุศล
กฟน.นำท่อพิเศษแก้สายสื่อสา���รกรุงรังครั้งแรกในไทย
Oct 2, 2018 12:35

จากกรณีปัญหาสายสื่อสารรกรุงรัง ที่เกิดขึ้นจากการลักลอบพาดสายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน จนทำให้เกิดปัญหาด้านทัศนียภาพ รวมถึงอุบัติเหตุต่างๆ เช่น รถเกี่ยวสายสื่อสารเหนี่ยวรั้งเสาไฟฟ้าล้ม และปัญหาเพลิงไหม้สายสื่อสาร ส่งผลกระทบต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้าและความปลอดภัยของประชาชน

ล่าสุด การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) นำโดย นายชัยยงค์ พัวพงศกร ผู้ว่าการ กฟน. คิดค้นวิธีแก้ไขปัญหา ใช้ท่อพิเศษเทคโนโลยีใหม่ ที่เรียกว่า "ไมโครดักท์" (Microduct) ติดตั้งบนเสาไฟฟ้าเพียงท่อเดียว เพื่อนำสายสื่อสารร้อยในท่อเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยนำร่องในพื้นที่ถนนราชวิถี ฝั่งเหนือ ซอยคู่ หรือตั้งแต่แยกถนนขาว - แยกการเรือน ระยะทาง 730 เมตร โดยดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง ตุลาคมที่จะถึงนี้  

เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น จะช่วยแก้ปัญหาข้างต้น รองรับสายสื่อสารได้จำนวนมากและควบคุมดูแลได้แบบเบ็ดเสร็จ โดยท่อดังกล่าว ทำจากพลาสติกชนิดพิเศษที่มีความเหนียวแข็งแรงพิเศษ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 เซนติเมตร สามารถรองรับสายสื่อสารใยแก้วนำแสงได้สูงสุดจำนวน 672 คอร์ เพียงพอกับสายสื่อสารในปัจจุบันที่มีอยู่ จำนวน 168 คอร์

ด้านประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นำร่อง ต่างเห็นด้วยกับโครงการนี้ เพราะทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมถึงลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากสายสื่อสารที่พันกันจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้น หากเกิดอุบัติเหตุก็ไม่รู้จะเรียกร้องกับหน่วยงานใดได้ เนื่องจากไม่รู้ว่าใครคือเจ้าของที่แท้จริง 

กราฟฟิกนอกจากนี้ มีแผนดำเนินการอีก 7 เส้นทาง คือ ถนนสาทร , ถนนพระราม 4 , ถนนสารสิน , ถนนชิดลม , ถนนหลังสวน , ถนนเจริญราษฎร์ และ ถนนอังรีดูนังต์ รวมระยะทางทั้งสิ้น 14.3 กิโลเมตร งบประมาณ 6 แสนบาทต่อ 1 กิโลเมตร 

ทั้งนี้ กฟน. จะประสานผู้ประกอบโทรคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แก้ไขปัญหาสายสื่อสารด้วยเทคโนโลยีไมโครดักท์ พร้อมทั้งการสร้างระบบไฟฟ้าที่มั่นคง ทัศนียภาพที่สวยงาม เพื่อเดินหน้าสร้างมหานครแห่งอาเซียน สมาร์ทเมโทรต่อไป 


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog