ไม่พบผลการค้นหา
The Toppick - 'แก่ก่อนรวย' เศรษฐกิจไทยพัฒนาไม่ทันสังคมสูงวัย - Short Clip
The Toppick - ศาลฝรั่งเศสสั่ง เกมดิจิทัลเล่นแล้ว ต้องขายต่อมือสองได้ - Short Clip
The Toppick - ยูทูบยกเลิกประกาศ ริบตรารับรองยูทูบเบอร์หลังถูกประท้วง - Short Clip
The Toppick - สื่อเตือนพบรอยร้าวช่วงรอยต่อปีกเครื่องบินโบอิ้ง 737 - Short Clip
The Toppick - เยอรมนี เตรียมออกกฎหมายแบนถุงพลาสติก - Short Clip
The Toppick - โลกร้อนอาจทำให้คนกัมพูชาอดตาย - Short Clip
The Toppick - ศิลปินตุรกีติดรองเท้า 440 คู่บนกำแพงรำลึกถึงผู้หญิงที่ 'ถูกฆ่า' - Short Clip
The Toppick - 'ธุรกิจการบิน' ตัวปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เติบโตเร็วที่สุด - Short Clip
The Toppick - มหาเธร์จะเป็นนายกฯมาเลเซีย 3 ปี นานกว่าที่อันวาร์คาด - Short Clip
The Toppick - จีนแต่งงานน้อยสุดในรอบ 11 ปีเพราะพิษเศรษฐกิจ - Short Clip
The Toppick - หลายชาติถกข้อเสนอเก็บภาษีบาป 'เนื้อวัว' - Short Clip
World Trend - กลุ่มมหาเศรษฐีญี่ปุ่นร่ำรวยขึ้นภายใต้ 'อาเบะโนมิกส์' - Short Clip
The Toppick - เอกวาดอร์ประท้วงใหญ่ รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน - Short Clip
The Toppick - มองประท้วงฮ่องกงผ่านสายตาของแรงงานฟิลิปปินส์ - Short Clip
The Toppick - โลกเหลือเพียง 16 ชาติ ที่นับไต้หวันเป็นประเทศ - Short Clip
The Toppick - 'เงินบาทแข็ง' กระทบการท่องเที่ยวไทย - Short Clip
The Toppick - อินโดฯระบุพิกัดเมืองหลวงใหม่ กระจายความเจริญ-หนีเมืองจมน้ำ - Short Clip
The Toppick - งดเว้นภาษีเงินได้คนหนุ่มสาว-มาตรการหยุดสมองไหล? - Short Clip
The Toppick - เกิดเหตุกราดยิงในสหรัฐฯ เป็นครั้งที่ 251 แล้วในปีนี้ - Short Clip
World Trend - ​ปักกิ่งเปิดใช้ 5G บนรถไฟใต้ดิน - Short Clip
The Toppick - ศาลสูงอียูตัดสิน 'กูเกิล' ไม่ต้องให้ 'สิทธิที่จะถูกลืม' ในพื้นที่นอกยุโรป - Short Clip
Sep 26, 2019 05:46

ศาลสูงของอียูตัดสินเข้าข้างกูเกิลว่า กูเกิลไม่ต้องให้สิทธิที่จะถูกลืมนอกพื้นที่ทวีปยุโรป จึงต้องลบลิงก์เว็บไซต์สำหรับผู้ใช้ที่ค้นหาข้อมูลในยุโรป แต่ไม่ต้องลบลิงก์การเข้าถึงข้อมูลทั่วโลก

ศาลสูงของอียูตัดสินเข้าข้างกูเกิลว่า กูเกิลไม่ต้องให้สิทธิที่จะถูกลืมนอกพื้นที่ทวีปยุโรป ซึ่งหมายความว่า กูเกิลจำเป็นต้องลบลิงก์ที่ถูกร้องเรียนออกจากผลการค้นหา สำหรับผู้ใช้ภายในยุโรปเท่านั้น ดังนั้น หากค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวจากพื้นที่อื่นของโลก ลิงก์เหล่านี้ก็จะยังปรากฏให้เห็น

คดีความนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2015 เมื่อหน่วยงานกำกับดูแลความเป็นส่วนตัวของฝรั่งเศสยื่นคำสั่งให้กูเกิลลบลิงก์ที่มีเนื้อหาที่ทำลายชื่อเสียงหรือมีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับบุคคลหนึ่งออกจากผลการค้นหาของกูเกิลทั่วโลก หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับเป็นเงิน 100,000 ยูโร (ราว 3.36 ล้านบาท) 

ต่อมาในปี 2016 กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์บล็อกลิงก์เฉพาะพื้นที่หรือ geoblocking เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ในยุโรปเข้าถึงลิงก์ที่ถูกร้องเรียนนี้ได้ แต่คนที่ค้นหาข้อมูลจากพื้นที่อื่นของโลกก็ยังไม่ถูกเซ็นเซอร์ผลการค้นหา ถือเป็นการท้าทายคำสั่งของหน่วยงานกำกับดูแลความเป็นส่วนตัวของฝรั่งเศส

ในท้ายที่สุด ศาลยุติธรรมยุโรปตัดสินว่า ปัจจุบัน ไม่มีพันธกรณีใดตามกฎหมายของอียู ที่ผู้ให้บริการเสิร์ชเอ็นจินที่ได้รับคำร้องให้ถอดลิงก์เกี่ยวกับข้อมูลในยุโรป แล้วจะต้องถอดลิงก์ในเสิร์ชเอ็นจินทุกเวอร์ชัน

สิทธิที่จะถูกลืม หรือ สิทธิในการถูกลบ เป็นสิทธิที่พลเมืองในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปมีอำนาจในการร้องขอให้มีการลบข้อมูลที่ละเอียดอ่อน หรือสร้างความเสียหาย เช่น ประวัติอาชญากรรมหรือประวัติการมีความสัมพันธ์นอกสมรส 

พลเมืองอียูสามารถยื่นคำร้องให้ผู้ให้บริการค้นหาข้อมูลอย่างกูเกิลลบลิงก์ไปสู่เพจที่มีข้อมูลส่วนตัวได้ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา กูเกิลเปิดเผยว่า ที่ผ่านมา ได้รับคำร้องมากกว่า 845,000 กรณี เพื่อลบลิงก์กว่า 3.3 ล้านลิงก์ที่อยู่เว็บไซต์ โดยมีร้อยละ 45 ที่ถูกลบ

จนปี 2018 หน่วยงานป้องกันข้อมูลทั่วไป หรือ GDPR ได้กำหนดระเบียบเพิ่มว่า หน่วยงานรัฐสามารถยื่นคำร้องไปยังองค์กรต่างๆ ด้วยวาจาหรือทางลายลักษณ์อักษร โดยองค์กรนั้นมีเวลา 1 เดือนในการพิจารณาและตัดสินใจว่าจะปฏิบัติตามหรือไม่

ในกรณีนี้ กูเกิลโต้แย้งว่า หากอนุญาตให้หน่วยงานรัฐสามารถยื่นคำร้องให้ลบลิงค์การเข้าถึงข้อมูลในทุกเวอร์ชันทั่วโลก ก็อาจเป็นการเปิดทางให้รัฐบาลอำนาจนิยมพยายามให้วิธีนี้ปกปิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน กูเกิลยืนยันว่า นับตั้งแต่ปี 2014 กูเกิลพยายามปฏิบัติตามหลักการสิทธิที่จะถูกลืมในยุโรป แต่ก็พยายามชั่งน้ำหนักระหว่างสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนกับสิทธิความเป็นส่วนตัว


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog