ไม่พบผลการค้นหา
รำลึก 49 ปี 14 ต.ค. 2516 ตัวแทนพรรคการเมือง-ภาคประชาชนเข้าร่วมคับคั่ง 'หมอชลน่าน' เชื่อปีหน้า 50 ปี การรำลึก 14 ตุลา จะเกิดขึ้นทุกที่ 'พริษฐ์' ปาฐกถา 49 ปี 14 ตุลา ชูธง 4 ภารกิจหลักเปลี่ยนประเทศสู่ประชาธิปไตยแท้จริง ย้ำต้องทลายระบอบอุมปภัมถ์ ร่าง รธน.ให้เป็นประชาธิปไตย

วันที่ 14 ต.ค. 2565 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว มูลนิธิ 14 ตุลา จัดงานรำลึก 49 ปี 14 ต.ค. 2516ประจำปี 2565 ทั้งนี้บรรยากาศในช่วงเช้ามีประชาชนร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 14 รูป ต่อด้วยพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม  โดยตัวแทนพรรคเพื่อไทย นำโดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล และคณะก้าวหน้า โดย พรรณิการ์ วานิช ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ โดย สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ตัวแทนของพรรคประชาชาติ นำโดย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ และสมชัย ศรีสุทธิยากร รวมถึงศิธา ทิวารี เลขาธิการพรรคไทยสร้างไทยเป็นตัวแทนของพรรคไทยสร้างไทย เข้าร่วมรำลึก

นอกจากนี้ อนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมอบพวงมาลาด้วย รวมทั้งมีหลายหน่วยงานและองค์ร่วมรำลึก อาทิ รัฐสภา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยรังสิต, มูลนิธิ 14 ตุลา, มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย

โดย อนุชา กล่าวว่า ประชาธิปไตยเป็นอุดมการณ์อันสำคัญ ระบอบการประคองที่ประชาชนมีส่วนร่วม มีสิทธิเสรีภาพ เสมอภาพ และภารดรภาพ และการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เคารพการเห็นค่าในการพยายามให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยของปวงชน 

จากวันนั้น ถึงวันนี้ครบรอบ 49 ปี 14 ตุลาฯ ถือเป็นโอกาสอันดีที่เราทั้งหลายได้ระลึก เหตุการณ์ดังกล่าว ทำอย่างไรให้ใช้สิทธิเสรีภาพ เพื่อเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประชาธิปไตย และประเทศชาติให้ยั่งยืน และขอรำลึกถึงวีรชน 2516 และสืบสานอุดมการณ์อันแน่วแน่ของประชาธิปไตย

มาตรา112 14ตุลาคม -C296-410C-86E1-CBB4B939DE59.jpegสมยศ ม็อบ 14ตุลาคม  63-A25CB97D9B2B.jpegมายด์ ภัสราวลี   14ตุลาคม -F172-4B1F-863B-054D8D62408B.jpegอนุชา 14ตุลาคม  A2ECC4F46F3B.jpegอนุสรณ์สถาน 14ตุลาคม  0-764C262C4A1A.jpegสุชัชวีร์ ชลน่าน DE335A33866.jpegสมยศ มาตรา112  14ตุลาคม ม็อบ  -E79DF2610FB1.jpeg 14ตุลาคม -2C7A-4906-8A53-AE53D0F76636.jpegอมรัตน์ พรรณิการ์ ก้าวไกล  14ตุลาคม  A-AEFA01177EF9.jpegชลน่าน ลิณธิภรณ์ 14ตุลาคม  D5E-7BDDDCE6AEA8.jpegประยุทธ์ เพื่อไทย 14ตุลาคม  2-B08B-D9A9DF3BFD3A.jpegประชาธิปัตย์ 14ตุลาคม  7-4265DF3DD83E.jpegชลน่าน อนุชา จาตุรนต์  14ตุลาคม  75-3F9708064DBE.jpegพรรณิการ์  14ตุลาคม -79849BA70965.jpegสุชัชวีร์ 14ตุลาคม  -622C-48A7-8861-BD1A9017D2EF.jpeg

ด้าน นพ.ชลน่าน ได้ยกคำพูดของ ภูมิธรรม เวชยชัย ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ ที่กล่าวว่า 14 ตุลาฯ วันประชาธิปไตย วันแห่งชัยชนะของพี่น้องประชาชน ขอคาราวะ การต่อสู้ของพวกท่าน ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ซึ่งมีประชาชนทั้งประเทศ เข้ามาร่วมต่อสู้ ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจไม่รู้ลืม เพราะการต่อสู้ 14 ตุลาฯ ในวันนั้น เป็นไปเพื่อใฝ่หาประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอย่างแท้จริง 

นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า ขอน้อมรำลึกถึงประติมากรรมอันล้ำค่า อนุสรณ์ ซึ่งเรารู้อยู่แกใจว่ายังไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง แต่การต่อสู้ 49 ปี เชื่อมั่นว่า ทุกอณูของหัวใจพี่น้องคนไทย ได้ถูกฝังแน่น คนรอบ 50 ปี ในปีหน้า วันแห่งประชาธิปไตย การรำลึกถึงอนุสรณ์สถาน จะมีขึ้นในทุกที่ เพื่อมารำลึกถึงสมบัติชาติของทุกคน เป็นการต่อสู้ที่ไร้ความรุนแรง เพื่อสิทธิเสรีภาพ 

พริษฐ์ ไอติม C8-0354A8CE41D1.jpegพริษฐ์ ไอติม -A75F-4CD7-AC29-894D43EB3064.jpegสามนิ้ว รัฐธรรมนูญ  14ตุลาคม -1B70-4E2F-8DF0-3772E1972B8B.jpegรัฐธรรมนูญ อนุสรณ์สถาน  14ตุลาคม  A3-DA51B6390E17.jpeg

'พริษฐ์ ก้าวไกล' ชี้คนรุ่นใหม่ยังเติบโตในยุคไม่เป็นประชาธิปไตยเหมือน 14 ต.ค.16

จากนั้น พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบายพรรคก้าวไกล ร่วมแสดงปาฐกถางาน '14 ตุลา 2516 ปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์สังคมไทยแค่ไหน' โดย พริษฐ์เริ่มต้นปาฐกถาว่า โจทย์ของพูดถึงเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วกว่า 49 ปี และตนเองไม่ได้เป็นประจักษ์พยานในเหตุการณ์ 

แต่ด้วยความที่ 14 ตุลา เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองที่ถูกตีความอย่างหลากหลายโดยคนแต่ละกลุ่ม ตนจึงตั้งใจที่จะพยายามสรุป และอธิบายเหตุการณ์ผ่านมุมมองของคนแต่ละยุค ทั้งมุมมองที่มองว่า 14 ตุลาเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ และมุมมองที่อาจมองว่าเหตุการณ์ 14 ตุลาเป็นชัยชนะที่ลวงตาและไม่สามารถนำไปสู่ประชาธิปไตยได้อย่างยั่งยืน

พริษฐ์ กล่าวต่อว่า 14 ตุลา อาจจะเป็นเหตุการณ์ที่สามารถกำจัดระบบทรราชอย่าง 'ถนอม-ประภาส-ณรงค์' ออกไปจากระบบการเมืองไทยได้ก็จริง แต่ 3 ปีหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา กลับเกิดเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง 6 ตุลา 2519 โดยเหตุการณ์นี้เป็นเสมือนการล้างไพ่ประชาธิปไตยไทย ให้ถอยกลับไปอยู่จุดเดิม หรือแย่กว่าเดิม"

พริษฐ์ อธิบายต่อไปอีกว่า คนรุ่นใหม่ในเหตุการณ์ 14 ตุลา กับคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน เติบโตมาในโลกที่มีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกัน

พริษฐ์ กล่าวว่า สิ่งที่คนรุ่นใหม่ในแต่ละยุคต้องพบเจอเหมือนกัน คือการเติบโตมาในยุคที่การเมืองไม่เป็นประชาธิปไตย เช่น คนรุ่นใหม่ในยุค 14 ตุลาเป็นยุคที่เติบโตมากับระบบเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศมาอย่างยาวนานและมีผู้นำที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จตามมาตรา 17

ขณะที่คนรุ่นใหม่ยุคปัจจุบันเติบโตมาในยุคที่พวกเขาไม่ได้สัมผัสกับประชาธิปไตยอย่างเต็มใบและต้องอาศัยอยู่ภายใต้ 'ระบอบประยุทธ์' ซึ่งเป็นเสมือนเผด็จการอำพรางที่ชุบตัวจากการเลือกตั้ง แต่ยังคงมีกลไกควบคุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จผ่านกลไกสืบทอดอำนาจ ส.ว. 250 คนศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระรวมถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

แต่ตัวอย่างหนึ่งที่มีความแตกต่าง คือในมิติเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลต่อความยาก-ง่ายในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร คนรุ่นใหม่ยุค 14 ตุลามีทางเลือกในการติดตามข่าวสารอย่างจำกัดเพราะเทคโนโลยีขนาดนั้นมีเพียงวิทยุหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์เท่านั้น ซึ่งก็ไม่ได้มีอุปกรณ์เหล่านี้ครบทุกบ้าน โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ถูกควบคุมและกำกับโดยรัฐในทางกลับกันคนรุ่นใหม่ยุคปัจจุบันกลับมีช่องทางในการติดตามข่าวสารมากมายนับไม่ถ้วน เพราะการเติบโตของอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย รัฐไม่อาจควบคุมและจำกัดข้อมูลเนื้อหาได้ดังเช่นในอดีต

ยก 4 ภารกิจเปลี่ยนประเทศสู่ ปชต.

พริษฐ์ เสริมต่อว่า ความแตกต่างระหว่างรุ่นเป็นเรื่องปกติ แต่จากโจทย์ปัจจุบันที่เป็นช่วงเวลาที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของประชาธิปไตยไทยและที่มีการปะทะกันระหว่างระบบที่ล้าหลังและสังคมที่ก้าวหน้ามากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป้าหมายและความตั้งใจของคนยุค 14 ตุลา มีภารกิจหลายส่วน ที่สอดคล้องกับความฝันของคนรุ่นใหม่ยุคปัจจุบัน แต่ยังไม่สำเร็จถึงฝั่งและยังต้องอาศัยพลังและเจตจำนงของคนทั้ง 2 รุ่น ในการร่วมกันขับเคลื่อนต่อไป

เป้าหมายที่หนึ่งคือ 'การร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย' แม้เหตุการณ์ 14 ตุลาได้นำมาสู่รัฐธรรมนูญปี 2517 แต่กระบวนการจัดทำยังคงไม่ได้มีส่วนร่วมของตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และเป็นฉบับที่มีอายุเพียง 2 ปี ก่อนถูกฉีกโดยคณะรัฐประหาร ปัจจุบันประเทศไทยยังคงอยู่ภายใต้ธรรมนูญปี 2560 ซึ่งถูกเขียนโดยคณะรัฐประหาร มีวัตถุประสงค์ในการสืบทอดอำนาจ และมีเนื้อหาที่ขัดกับหลักสากล จึงต้องให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับโดยประชาชน ผ่าน สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง

เป้าหมายที่สองคือ 'การขับเคลื่อนประชาธิปไตยในเชิงวัฒนธรรม' ที่ไปไกลกว่าการกำจัดผู้นำเผด็จการ แม้ 14 ตุลาจะเป็นหมุดหมายสำคัญทางการเมืองไทยที่ภาคประชาชนรวมกันแสดงตัวเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล แต่ก็เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่ทำให้เห็นว่าการตื่นตัวของประชาชนไม่สามารถนำไปสู่ชัยชนะที่ยังยืนของประชาธิปไตยเสมอไป 

ตราบใดที่เรายังไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่แข็งแรงให้เกิดขึ้นในระดับความคิด และกำจัดวัฒนธรรมแบบอำนาจนิยมในทุกอณูของสังคม ตั้งแต่ระบบราชการ ยันระบบการศึกษา เพื่อสร้างโครงสร้างและวัฒนธรรม ที่อยู่บนฐานของการไว้วางใจประชาชน

เป้าหมายที่สามคือ 'การปฏิรูปกองทัพให้เป็นของประชาชน' ในการเคลื่อนไหวเมื่อ 49 ปีที่แล้ว ประชาชนมีความต้องการนำเผด็จการทหารออกจากการเมืองแต่หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ประเทศยังไม่ได้หลุดพ้นจากระบบการเมืองที่กองทัพเข้ามาแทรกแซงจนถึงยุคปัจจุบัน การปฏิรูปกองทัพให้อยู่ภายใต้รัฐบาลพลจึงเป็นวาระเร่งด่วน 

การทำให้กองทัพแยกขาดจากการเมืองโดยการกำหนดไม่ให้นายพลเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีจนกว่าจะเกษียณไปแล้วหลายปี การลดบทบาทและอำนาจของสภากลาโหม การทำให้กองทัพโปร่งใสลถูกตรวจสอบได้โดยประชาชน และการสร้างกองทัพที่เท่าทันกับโลก โดยไม่มีสิทธิพิเศษเหนือพลเรือน

เป้าหมายที่สี่ คือ "การทลายระบอบอุปถัมภ์ทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ' ที่เคยเป็นปัญหาใหญ่ในช่วงก่อน 14 ตุลา ที่ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้กำมือของเครือข่ายสามทหาร และยังคงเป็นปัญหามาถึงยุคนี้ที่เต็มไปด้วยการบริหารราชการแบบรวมศูนย์ และการขยายตัวของกลุ่มทุนผูกขาด การวางโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่มุ่งให้เกิดการแข่งขันโดยปราศจากระบบอุปถัมภ์ และการวางโครงสร้างทางการเมืองที่มุ่งกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น จึงเป็นภารกิจที่ยังไม่เสร็จและต้องสานต่อในยุคปัจจุบัน

พริษฐ์ ยังได้สรุปว่า ภารกิจทั้ง 4 ภารกิจนี้เป็นภารกิจสำคัญที่คนสองรุ่นมีร่วมกัน และเป็นภารกิจที่ต้องอาศัยพลังของทุกรุ่นในการขับเคลื่อนให้สำเร็จ

"แต่นอกจากการสานต่อภารกิจที่มีร่วมกัน เรายังจำเป็นต้องทำให้ประเทศไทยคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกของคนทุกรุ่น เพื่อเป็นสังคมที่ปลอดภัยสำหรับทุกชุดความคิดที่แตกต่างกัน และโอบรับทุกความฝันที่หลากหลาย ซึ่งจะเป็นหนทางเดียวในการปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์สังคมไทยได้อย่างแท้จริง" พริษฐ์ กล่าว