ไม่พบผลการค้นหา
อุณหภูมิการเมืองกลับมาโฟกัสพุ่งตรงไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม อีกครั้ง เพราะด้วยสถานะความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ ยังไม่แน่นอน ยิ่งใกล้วันที่ 23 ส.ค. 2565 ซึ่งถูกมองว่าเป็นอีกเงื่อนเวลาหนึ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ อาจครบกำหนดเป็นนายกฯ ครบ 8 ปีเต็ม

เพราะ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 158 วรรคสี่ กำหนดไว้ว่า "นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง"

ขณะที่ 'ฝ่ายค้าน' ก็เดินเกมในสภาฯ กดดันด้วยการดันญัตติด่วนด้วยวาจาเพื่อขอให้สภาฯ เสนอความเห็นไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ กรณีดำรงตำแหน่งนายกฯ ครบ 8 ปี ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

ด้วยเหตุที่ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนับตั้งแต่ 24 ส.ค. 2557 ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 หากตีความตามนี้โดยยึดตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ที่ไม่ต้องการให้นายกฯ อยู่เกิน 8 ปี ถ้านับตามนี้จะทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จบสิ้นหมดสถานะนายกรัฐมนตรีในวันที่ 23 ส.ค. 2565 (ตามประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2557 โดยพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับสนองพระบรมราชโองการ)

แสงไฟแห่งอำนาจจึงพุ่งตรงมายัง พี่ใหญ่แห่ง 3 ป.อีกครั้ง

เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2565 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ตอบคำถามถึงความพร้อมเป็นนายกรัฐมนตรี ในกรณี พล.อ.ประยุทธ์ต้องพ้นจากตำแหน่งว่า "ผมจะไปพร้อม (เป็นนายกฯ) ได้ไง ผมยังไม่ได้คิด นายกฯอยู่ต่ออีก 8 ปี อยู่ต่ออีก 2 ปี ก็ว่าไป"

ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ปฏิเสธตอบกรณี พล.อ.ประวิตร ให้สัมภาษณ์ ว่านายกฯ จะอยู่อีก 2 ปีโดย พล.อ.ประยุทธ์ ส่ายหัว ก่อนระบุว่า "ไม่มีคำตอบ"

ประวิตร วันเกิด พลังประชารัฐ -547A-42E5-A55C-3E2B16DF31EA.jpegประวิตร พลังประชารัฐ วันเกิด -42AE-4E31-A5C4-59D9E89F238A.jpeg

ล่าสุด พล.อ.ประวิตร เปิดมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ให้ พล.อ.ประยุทธ์ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย รวมทั้งพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคพลังประชารัฐเข้าอวยพรวันเกิดเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2565 ในโอกาสครบรอบปีที่ 77 ของพี่ใหญ่แห่ง 3 ป.

โดย พล.อ.ประวิตร ย้ำกับ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐว่า "ขอให้พวกเรารักกัน"

ยิ่งใกล้วันที่ 24 ส.ค. 2565 ฝ่ายค้านก็จะยิ่งเดินเกมเพื่อส่งคำร้องยื่นต่อประธานแห่งสภาฯ เพื่อส่งคำร้องไปปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ กรณีเป็นนายกฯ ครบ 8 ปีแล้วหรือไม่

รังสีแห่งอำนาจทางการเมืองจึงกำลังพุ่งมายัง พล.อ.ประวิตร เป็นพิเศษ เพราะด้วยตำแหน่งสถานะผู้จัดการรัฐบาลตัวจริง เป็นมือประสานพรรคร่วมรัฐบาล

อีกทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ลงนามเมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2565 ในคำสั่งสำนักนายกฯ ที่ 237/2563 เรื่องมอบหมายให้รองนายกฯ รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีรัฐนตรีประจำสำนักนายกฯ ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง

ในกรณีที่ นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มอบหมายให้รองนายกฯ เป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้

1.พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

2.วิษณุ เครืองาม 

3.อนุทิน ชาญวีรกูล  

4.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 

5.ดอน ปรมัตถ์วินัย 

6.สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ 

คำสั่งสำนักนายกฯ ดังกล่าว ย้ำว่าในระหว่างรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ต้องรับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน  

นั่นเท่ากับว่า ไม่ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะมีสถานะไม่สามารถปฏิบัติราชการนายกรัฐมนตรีได้ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม อำนาจรักษาการราชการแทนนายกรัฐมนตรี จะมาถึงมือ พล.อ.ประวิตร ทันที เพราะเป็นรองนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่รักษาราชการแทนนายกฯ

กรณีถ้า พล.อ.ประยุทธ์ พ้นจากรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 ที่ระบุความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อครบกําหนดเวลาตามมาตรา 158 วรรคสี่ (กรณีดำรงตำแหน่งนายกฯ รวมกัน 8 ปี) ด้วย

ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 168 กำหนดให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตําแหน่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีพ้นจากตําแหน่งตามมาตรา 167 (1) (2) หรือ (3) ให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ เว้นแต่ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 167 (1) เพราะเหตุขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 

ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 41 และ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า

      มาตรา 41 ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคน ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ใดดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

      มาตรา48 วรรคหนึ่ง ให้ผู้รักษาราชการแทนตามความในพระราชบัญญัตินี้ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน

หาก พล.อ.ประวิตร เป็นรักษาการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีพล.อ.ประยุทธ์พ้นนนายกฯ เพราะอยู่ครบ 8 ปี  จะทำให้มีสถานะตำแหน่งรักษาการนายกฯ ทันที โดยยังคงมีอำนาจเต็มพอๆกับ นายกรัฐมนตรี

ประกาศิตอำนาจยุบสภาฯในมือรักษาการนายกรัฐมนตรี ก็คงทำได้เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีตัวจริง ในกรณีนายกฯ ต้องพ้นจากตำแหน่ง และ ครม.ต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่รักษาการจนกว่าจะมี ครม.ชุดใหม่

ประวิตร ประยุทธ์ อภิปรายไม่ไว้วางใจจ ประชุมสภา -9076-8F69A41D170D.jpeg

ไม่เพียงอำนาจบารมีทางการเมืองของ พล.อ.ประวิตรจะมีมากเท่านั้น แต่พลังอำนาจทรัพย์สินก็ถือว่าไม่น้อยทีเดียว

จากการตรวจสอบของ 'วอยซ์' ในอดีตผ่านเว็บไซต์สำนักงาน ป.ป.ช. ที่เคยเผยแพร่รายการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินย้อนหลังของ พล.อ.ประวิตร ที่แจ้งต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง(รมว.) กลาโหม ในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2551 พบว่ามี ทรัพย์สิน 56,856,005.95 บาท และไม่มีหนี้สิน 

ครั้งที่ 2 การแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ พล.อ.ประวิตร เมื่อครั้งพ้นจากตำแหน่ง "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม" เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2554 ในช่วงดำรงตำแหน่งอยู่เกือบ 3 ปี ได้แจ้งว่ามีทรัพย์สินทั้งสิ้น 69,669,416.60 บาท หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากปี ปี 2551 เป็นเงินจำนวน 12,813,410.65 บาท ทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นเงินฝากในสถาบันการเงินกว่า 36 ล้านบาท เงินลงทุนกว่า 11 ล้านบาท รวมทั้งโฉนดที่ดิน 12 ล้านบาท และโรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง 10 ล้านบาท

ครั้งที่ 3 พล.อ.ประวิตร แจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่ง ครบ 1 ปี เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2555 โดยมีทรัพย์สินเป็นเงินทั้งสิ้น 79,063,414.84 บาท หากเทียบในเวลา 1 ปีหลังพ้นตำแหน่ง พล.อ.ประวิตร มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น จำนวน 9,393,998.24 บาท

ถ้านำบัญชีทรัพย์สินครั้งที่ 3 กรณีพ้นตำแหน่งรัฐมนตรี 1 มาเทียบเมื่อปี 2551 จะถือว่า พล.อ.ประวิตร มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจำนวน 22,207,408.89 บาท

ครั้งที่ 4 พล.อ.ประวิตร ร่วมคณะรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขณะเป็นหัวหน้า คสช. โดย พล.อ.ประวิตร เคยแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน เมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2557 มีทรัพย์สินทั้งสิ้น 87,373,757.62 บาท ไม่มีหนี้สิน ทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นเงินฝากกว่า 53 ล้านบาท เงินลงทุนกว่า 7 ล้านบาท ที่ดิน 17 ล้านบาท โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง 10 ล้านบาท ยานพาหนะ 1 แสนบาท

รอบนี้พบว่ามีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากปี 2555 เป็นเงินทั้งสิ้น 8,310,342.78 บาท แต่ถ้าเทียบทรัพย์สินเมื่อปี 2551 ที่เป็นรัฐมนตรีครั้งแรกจนถึงปี 2557 พบว่า พล.อ.ประวิตร มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 30,517,751.67 บาท

ประวิตร  นายกรัฐมนตรี ประชุมรัฐสภา สภา อภิปรายไม่ไว้วางใจ สภา   d0227_0014.jpg

สำหรับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินกรณีเข้ารับตำแหน่งใหม่ ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 กำหนดไว้ในมาตรา 105 ในกรณีพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเดิมหรือตำแหน่งใหม่ภายใน 1 เดือน ผู้นั้นไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจากตำแหน่งและกรณีเข้าดำรงตำแหน่งใหม่ แต่ไม่ต้องห้ามที่ผู้นันจะยื่นเพื่อเป็นหลักฐาน ในกรณีนี้ทำให้ พล.อ.ประวิตร ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินกรณีเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีเมื่อปี 2562 เพราะเป็นการรับตำแหน่งใหม่ภายใน 1 เดือน

สอดรับกับ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ที่เคยชี้แจงว่า แม้จะได้รับอานิสงส์จากกฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่ มาตรา 105 วรรคสี่ (ซึ่งออกมาโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.) ที่ไม่บังคับให้รัฐมนตรียื่นบัญชีฯหากรับตำแหน่งเดิมภายในหนึ่งเดือน แต่ตนและ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ก็ไปยื่นบัญชีทรัพย์สินไว้กับ ป.ป.ช. เพื่อเป็นหลักฐาน

อำนาจและบารมี ของ พล.อ.ประวิตร จึงถูกทุกฝ่ายพุ่งตรงจับตาพิเศษ หากเกิดอุบัติเหตุทางการเมือง ไม่ว่า พล.อ.ประยุทธ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดก็ตาม

ประวิตร 3235123949430442193_n.jpg

ข่าวที่เกี่ยวข้อง