ไม่พบผลการค้นหา
พล.อ.ประยุทธ์ ชี้ 'รัฐประหาร' เพราะความรุนแรงบานปลาย ปัดเตรียมการ 3 ปี ด้านพล.อ.ประวิตร แจงคำพูดหลังเหตุเรือล่มที่ภูเก็ต "พูดเล่นกับนักข่าว" ไม่ได้ตำหนิชาวจีน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้แจงด้วยท่าทีขึงขังหลังจากที่ถูกนายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย จ.เชียงราย ซึ่งเป็นฝ่ายค้าน พาดพิงทั้งเรื่องการทำงานและงบประมาณของทหาร รวมถึงยังเป็นการชี้แจงกรณีที่เมื่อวาน นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ อภิปรายในสภาว่า พล.อ.ประยุทธ์ พูดในวันรัฐประหาร 22 พค.2562 เตรียมคิดวางแผนรัฐประหาร มา 3 ปี

“ผมฟังมา 2 วันแล้วนะ ที่บอกผมเตรียมการมา 3 ปี กลับไปย้อนฟังใหม่นะ ถามลูกน้องผมก็ได้ ผมพูดถึงว่า เป็น ผบ.ทบ. มา 3 ปีที่ผ่านมา ผมเผชิญสถานการณ์อะไรมาบ้าง สถานการณ์ความขัดแย้ง ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ไม่รู้พวกไหนเหมือนกัน แล้ว ก่อนผมเกษียณฯ 6 เดือน เกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย

“คุณไม่ต้องยิ้มเลย ไอ้พวกนั่งอยู่ทางเนี้ย ยิ้มแบบไม่รู้สึกรู้สาอะไรทั้งสิ้น คนตาย คนเจ็บไปแล้วเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นผมจึงต้องตัดสินใจ แล้วไม่ได้ตัดสินใจ ก่อนหน้าด้วย อะไรด้วย วันนั้นเท่านั้นเอง“

"ที่ผ่านมามีคนบางพรรค บางพวกบอกว่าผมก็ไม่ต้องอยู่ ให้อยู่กันแบบนี้ แล้วทหารไม่ออกมาทำงานก็จะอยู่กันแบบนี้แหละครับ ผมบอกว่างบประมาณทำไม่ได้ก็ไม่ต้องทำงานหรือเปล่า บอกมาซิ อย่ามาทำหน้า เยาะเย้ย กันแบบนี้ผมไม่ชอบ ขอบคุณครับ" 

ประวิตรแจงใช้คำพูด - งบกองทัพ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงหลังจากที่ถูกพาดพิงเช่นกัน ทั้งเรื่องการใช้คำพูดจากเหตุการณ์เรือล่มที่จังหวัดภูเก็ตจนมีชาวจีนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก บ้านเกิดขึ้นจากฝีมือชาวจีนเองว่า

"เรื่องเรือ เรื่องอาหารเป็นเครื่องบิน เป็นเรื่องที่พูดเล่นกับนักข่าวเท่านั้น ไม่ได้ให้สัมภาษณ์ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเอาไปขยายหรือตีความ ซึ่งไม่ได้จงใจหรือตั้งใจที่จะไปตำหนิ ตามที่เป็นข่าว จึงอยากขอให้เข้าใจตรงกันด้วย ส่วนเรือที่โลกนั้นเป็นเรือของชาวจีนที่จัดทำและส่งนักท่องเที่ยวอีสานของคนจีนโดยเฉพาะของเขาซึ่งก็ได้พูดแต่ก็ไม่ได้คิดว่ามันจะเป็นเรื่องราวใหญ่โตและได้ชี้แจงกับชาวจีนไปแล้วว่าไม่ได้หมายถึงความหมายที่ถูกตีความกัน และการท่องเที่ยวส่วนตัวก็ไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยว

ส่วนงบประมาณการจัดซื้อของกองทัพที่ถูกอภิปรายมาทั้งหมดนั้นมันเป็นความจริงแต่ว่าการใช้จ่ายของกระทรวงกลาโหมนั้นแบ่งออกเป็น 4 ส่วนด้วยกันส่วนที่ 1 คือยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทย กองทัพบกกองทัพเรือ กองทัพอากาศ ซึ่งมีแผนงานด้านการซื้อยุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหม อย่างชัดเจนและยุทโธปกรณ์ที่ใช้อยู่ขณะนี้ใช้มาเป็นระยะเวลา 20 ถึง 30 ปีแล้ว ถึงเวลาที่จะต้องที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนาในการใช้งบประมาณ แต่ก็มีการพิจารณาตามความเหมาะสม ซึ่งทั้งหมดนั้น ทำงานร่วมกัน