วันที่ 12 ธ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ และกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง, กิตติรัตน์ ณ ระนอง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แถลงข่าวการจัดการหนี้ทั้งระบบ ทั้งหนี้นอกระบบ และหนี้ในระบบโดยครอบคลุมการแก้หนี้ครัวเรือน 16 ล้านล้านบาท หรือมากกว่าร้อยละ 90 ของ GDP
เศรษฐา กล่าวว่าปัญหาหนี้สิน เป็นปัญหาที่เรื้อรังมายาวนาน โดยหนี้ในระบบมีปัญหาไม่น้อยกว่าหนี้นอกระบบ ส่งผลต่อการทำงานและการประกอบอาชีพ ดังนั้นการดูแลลูกหนี้ในระบบจึงถือเป็นวาระแห่งชาติเช่นเดียวกัน รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับแก้ปัญหาหนี้ทั้งระบบ ทั้งการกวาดล้างหนี้นอกระบบ และหนี้ในระบบให้ได้รับสินเชื่ออย่างเป็นธรรม
ทั้งนี้ รัฐบาลได้แบ่งลูกหนี้เป็น 4 กลุ่ม คือ
โดยมาตรการของลูกหนี้ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน รัฐบาลจึงกำหนดให้ธนาคารทั้งสองแห่งติดตามทวงถามหนี้ตามสมควร และให้การช่วยเหลือกับลูกหนี้กลุ่มนี้
คาดว่าจะช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยได้ราว 1.1 ล้านราย ขณะที่ลูกหนี้ SMEs สถาบันการเงินรัฐจะช่วยเหลือผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ พักชำระหนี้ 1 ปี ปรับลดดอกเบี้ย 1% ช่วยเหลือได้ครอบคลุมร้อยละ 99% ของจำนวนผู้เป็นหนี้เสียทั้งหมด คิดเป็น 1 แสนราย
โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มข้าราชการ ตำรวจ และทหาร จะได้รับการช่วยเหลือ 3 แนวทางคือ ลดดอกเบี้ยสินเชื่อไม่ให้สูงเกิน หรือโอนหนี้ทั้งหมดไปไว้ในที่เดียว เช่นสหกรณ์ เพื่อให้ตัดเงินเดือนนำมาชำระหนี้อย่างสะดวกสอดคล้องกับรายได้ของลูกหนี้ รวมถึงบังคับใช้หลักเกณฑ์การปรับเงินเดือนให้ลูกหนี้เหลือเงินเดือนเพียงพอต่อการชำระหนี้
สำหรับกลุ่มครู และบุคลากรทางการศึกษา เศรษฐา ระบุว่า ปัจจุบันมีครู 9 แสนรายที่มีภาระหนี้หนักจนกระทบต่อการทำงาน โดยกระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ครูมีเงินเหลือจ่าย อย่างน้อย 30% สำหรับการตัดหนี้ โดยขอให้กำชับให้ระเบียบดังกล่าวบังคับใช้อย่างทั่วถึง ให้กระทรวงอื่นมีหลักเกณฑ์นี้เช่นเดียวกัน
ส่วนบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล รัฐบาลแนะนำให้เข้าคลินิกแก้หนี้ผ่าน deptclinicbysam.com เพื่อนำเงินต้นคงค้างมาทำตารางผ่อนชำระให้ยาวถึง 10 ปี ลดดอกเบี้ยให้เหลือร้อยละ 3-5 ต่อปี
ได้แก่ เกษตรกร ลูกหนี้เช่าซื้อ และลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยจะได้รับการช่วยเหลือผ่านการพักชำระหนี้เป็นการชั่วคราว ลดดอกเบี้ยหรือลดเงินผ่อนชำระในแต่ละงวดให้ต่ำลง เพื่อให้สอดคล้องกับรายได้ของลูกหนี้ เช่น ลูกหนี้เกษตรกร ซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอน เนื่องจากรายได้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและปริมาณผลผลิต
เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้กลุ่มนี้ รัฐบาลได้มีโครงการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรแล้ว โดยพักทั้งหนี้เงินต้น และดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี ซึ่งโครงการนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมการพักหนี้กว่า 1.5 ล้านราย เป็นต้น
กลุ่มนี้จะโอนไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างสถาบันการเงินของรัฐ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ ซึ่งจะทำให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้เป็นไปอย่างคล่องตัวมากขึ้น คาดว่ามาตรการนี้จะสามารถช่วยเหลือลูกหนี้ในกลุ่มนี้ได้ประมาณ 3 ล้านราย
ด้าน กิตติรัตน์ กล่าวชี้แจงเพิ่มเติมถึงสัดส่วนหนี้บัตรเครดิตว่า ปัจจุบันมียอดรวม 5.4 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ที่อาจมีปัญหาประมาณ 6.7 หมื่นล้านบาท โดยจากจำนวนผู้ถือบัตรเครดิต 23.8 ล้านใบ และมีผู้ที่น่าห่วงอยู่ 1.1 ล้านใบ ทั้งนี้จากลูกหนี้ 4 กลุ่ม มีปัญหาอยู่ประมาณ 5 ล้านคน หรือประมาณ 12 ล้านบัญชี
อย่างไรก็ตาม เศรษฐา ย้ำว่า รัฐบาลได้กำหนดแนวทางช่วยเหลือลูกหนี้หลากหลายกลุ่ม มีทั้งมาตรการ ที่ ครม. เห็นชอบไปแล้ว เช่น การพักหนี้เกษตร มาตรการที่สามารถดำเนินการขยายผลได้ทันที เช่น เรื่องหนี้ครู หนี้ข้าราชการ หนี้บัตรเครดิต หนี้เช่าซื้อรถยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ ซึ่งเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทยเปิดลงทะเบียนหนี้นอกระบบ หวังว่าจะมีการติดตามเจ้าหนี้และลูกหนี้ให้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยต่อไป
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุในระยะเร่งด่วน เพื่อต่อลมหายใจให้ลูกหนี้ทุกกลุ่ม ส่วนระยะยาวควรมีการแก้ปัญหาในระดับโครงสร้าง โดยยกระดับการให้บริการสินเชื่อให้เหมาะสม และเป็นธรรม ซึ่งกระทรวงการคลังได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดทำแนวทางเพื่อยกระดับการให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อ ให้สะท้อนความเสี่ยงของลูกหนี้ได้มากขึ้น มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมาะสม และป้องกันปัญหาการก่อหนี้เกินศักยภาพ
เศรษฐา กล่าวต่อว่า ในท้ายที่สุดเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ให้สำเร็จ และมีผลยั่งยืนหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้ร่วมกันเสริมความรู้ ยืนยันว่ารัฐบาลห่วงใยลูกหนี้ทุกกลุ่มและมีแนวทางช่วยเหลือลูกหนี้ ทั้งมาตรการระยะสั้นและระยะยาว การดำเนินมาตรการให้สำเร็จได้
โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากลูกหนี้ เจ้าหนี้ และหน่วยงานต่างๆ หลายภาคส่วน ขอมอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ร่วมกันแก้หนี้ทั้งระบบให้จบภายในรัฐบาลนี้ ร่วมกันสำรวจและซ่อมแซมกลไกทางเศรษฐกิจ เพื่อทำให้เครื่องจักรทางเศรษฐกิจเราทำงาน เติบโต และขยายตัวต่อไปได้