สำนักข่าว Nikkei Asian Review พาดหัวว่า Thailand's youth demo evolves to largest protest since 2014 coup หรือ "การประท้วงของเยาวชนไทยขยายตัว กลายเป็นการประท้วงใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่รัฐประหารปี 2557" พร้อมระบุว่า ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าความต้องการของประชาชนให้เกิดการปฏิรูปนั้นกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากจำนวนผู้ประท้วงที่ออกมารวมตัวกันมากกว่า 20,000 คนในการชุมนุมอย่างสงบที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ขณะที่ผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติที่เชี่ยวชาญด้านการเมืองประเมินว่าจำนวนของผู้ชุมนุมอาจมากกว่า 25,000 คน
"นักเคลื่อนไหวถูกเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบติดตามตัวในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา คาดว่าขณะนี้มีผู้ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตามสอดส่อง 31 คน และยังมีความต้องการที่จะจับกุมเพิ่ม"
สำนักข่าว The New York Times พาดหัวว่า Protests Grow in Thailand, Where Speaking Out Can Be Perilous หรือ "การประท้วงในไทยเพิ่มมากขึ้น ขณะที่การแสดงความเห็นอาจเป็นภัย" โดยระบุว่า ผู้ประท้วงเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในประเทศที่มีการกดขี่มาอย่างยาวนาน โดยผู้ประท้วงมีการต่อต้านการห้ามวิพากษ์วิจารณ์สถาบัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยยังอยู่ภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน ซึ่งนั่นอาจจะทำให้ใครก็ตามที่มาร่วมการชุมนุมสามารถถูกจับกุมได้ ถนนราชดำเนินก็ยังเต็มไปด้วยผู้ประท้วงที่ออกมารวมตัวกันมากที่สุดหลังการรัฐประหาร แสดงถึงการที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวที่เป็นเพียง 'นักเรียน' ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นเป็นวงกว้างUPDATED Largest political gathering in Thailand demand democratic reforms.https://t.co/pBYuDNbJhE
— Nikkei Asian Review (@NAR) August 16, 2020
โบว์ ณัฏฐา มหัทธนา นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย กล่าวกับผู้สื่อข่าว The New York Times ว่า "เราเคยมีความแบ่งแยกทางการเมืองมากมาย แต่ตอนนี้ไม่ว่าแต่ละคนจะมีพื้นหลังทางการเมืองอย่างไร เรามารวมตัวกันตั้งคำถามต่อความถูกต้องและความชอบธรรมของรัฐบาลนี้ ลองมองไปรอบๆ ก็จะรู้ว่ามีผู้คนหลากหลายกลุ่มมากที่มารวมตัวกันที่นี่"
At least 10,000 protesters, many first-time participants in political rallies, gathered in Bangkok on Sunday, demanding change in a country where military tanks have tended to shape politics more than the ballot box has https://t.co/xNssbXn1Q5
— The New York Times (@nytimes) August 16, 2020
ด้านสำนักข่าว BBC พาดหัวว่า Thai protests: Thousands gather in Bangkok to demand reforms หรือ "ผู้คนหลายพันคนรวมตัวกันใน กทม.เรียกร้องการปฏิรูป" พร้อมบรรยายว่า มีการจัดการประท้วงอย่างต่อเนื่องเกือบทุกวันในประเทศไทยในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยมีนักเรียนเป็นแกนนำ ซึ่งหลายคนถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ทางแกนนำย้ำก่อนหน้านี้ว่า พวกเขาหวังให้การชุมนุมในวันที่ 16 ส.ค.นั้นเป็นการแสดงออกถึงพลังของการสนับสนุนที่ยิ่งใหญ่เพื่อการขับเคลื่อนโดยกลุ่มนักเรียนนักศึกษา
หนึ่งในนักเคลื่อนไหวกล่าวกับผู้สื่อข่าว BBC ว่า พวกเขาต้องการให้เกิดการเลือกตั้งใหม่ และต้องการรัฐสภาที่มาจากประชาชน รวมถึงสถาบันที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
"ผู้ประท้วงต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันท์โอชา ผู้ซึ่งชนะการเลือกตั้งที่มีข้อกังขาอย่างมากในปีที่ผ่านมา ลาออกจากตำแหน่ง"
Thai protests: Thousands gather in Bangkok to demand reforms https://t.co/Ury3py9TK6
— BBC Asia (@BBCNewsAsia) August 16, 2020
ด้าน EURO News ถ่ายทอดบรรยากาศการชุมนุมประท้วงรัฐบาลไทยผ่านคลิปวิดีโอ โดยพาดหัวข้อข่าวว่า Thousands gather for pro-democracy protest in Thailand หรือ "ผู้คนหลายพันคนรวมตัวในการชุมนุมประท้วงเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย"