ไม่พบผลการค้นหา
กทม.เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีผู้บริหารคือ ผู้ว่าราชการ และมีสภาของตัวเอง ‘สภากรุงเทพมหานคร’ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภา (ส.ก.) ที่ประชาชนในพื้นที่เลือกตั้งเข้าไปทั้งคู่ เรียกง่ายๆ ว่าเป็น ฝ่ายบริหาร-ฝ่ายนิติบัญญัติ
งบ กทม.

งบประมาณของ กทม.มาจากหลายทาง การใช้จ่ายเงินในแต่ละปี กทม.จะต้องทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ เพื่อนำเสนอให้สภากรุงเทพฯ อนุมัติ จากนั้นจึงประกาศไว้ในเว็ปไซต์ราชกิจจานุเบกษา

‘วอยซ์’ รวบรวมข้อมูลงบประมาณรายจ่ายแต่ละปีที่ประกาศในราชกิจจาฯ ย้อนหลังไปในช่วง 2 ผู้ว่าฯ หรือ 12 ปี ซึ่งพบว่าในบางปีจะมีข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมระหว่างปีด้วย โดยบางส่วนเป็นงบเพิ่มเติม บางส่วนนำมาจากเงินสะสมของ กทม.เอง ตัวเลขยอดรวมของงบประมาณรายจ่ายแต่ละปีจึงอาจไม่ตรงกับสื่อหลายสำนักที่นับเฉพาะข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีเท่านั้น 

ดูรายละเอียดกันหน่อย

งบ กทม.

ในหมวดของเงินที่วิ่งเข้ากระเป๋ากรุงเทพฯ ตัวอย่างที่ยกมาคือ ปีงบประมาณ 2563 ซึ่งตัวเลขต่างๆ ครบถ้วนมากกว่าปี 2564

รายได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก

  • ส่วนที่จัดเก็บเอง เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีสองตัวนี้จะเป็นรายได้หลักของ กทม. แต่เนื่องจากมีโควิดระบาด ในปี 2563-2564 รัฐจึงประกาศลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% ทำให้รายได้ท้องถิ่นทั่วประเทศลดฮวบ นอกจากนี้ยังมีภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย ค่าธรรมเนียบใบอนุญาตและค่าปรับ ทรัพย์สิน สาธารณูปโภคและการพาณิชย์ และเบ็ดเตล็ดอื่นๆ
  • ส่วนที่รัฐจัดสรรให้ หรือหน่วยงานอื่นเป็นคนเก็บภาษีแล้วเอามาแบ่งกทม.ตามกฎหมายกำหนดนั้น ได้แก่ ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ ภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายท้องถิ่น ภาษีมูลค่าเพิ่มตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนฯ ทั้งสามส่วนนี้เป็นรายได้ที่เป็นกอบเป็นกำของกทม. นอกจากนี้ยังมี ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสุรา ภาษีสรรพสามิต ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
  • ส่วนที่เป็น ‘งบอุดหนุน’ งบประมารณประจำปี ส่วนนี้หากเราดูรายละเอียดในงบประมาณจะพบว่า ส่วนใหญ่เงินจะไปใช้ในการจัดการศึกษาภาคบังคับ เพราะกทม.ก็มีโรงเรียนในสังกัดจำนวนมาก, ค่าใช้จ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยคนพิการ ค่าอาหารกลางวัน ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐส่วนกลางที่ท้องถิ่นจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ นอกจากนี้ยังมีส่วนหนึ่งที่เป็นงบอุดหนุนเฉพาะกิจที่มักเป็นงบผูกพันในโครงการก่อสร้างใหญ่ๆ เช่น สะพานข้ามแม่น้ำ อุโมงค์ระบายน้ำ ประตูระบายน้ำ 
งบ กทม.

รายได้โดยรวมของ กทม.รวมแล้ว หลายหมื่นล้านบางปีทะลุแสนล้าน และอย่างที่กล่าวไปว่า รายได้ของ กทม.มาจาก 3 ส่วนหลัก เงินที่ใช้จ่ายกับภารกิจในกทม.จะเป็นรายได้ที่ กทม.จัดเก็บเอง-เงินที่รัฐจัดสรรให้จากภาษีส่วนอื่นๆ  ขณะที่งบอุดหนุนนั้นไปใช้กับโครงสร้างพื้นฐานและนโยบายสวัสดิการของรัฐบาลที่ท้องถิ่นรับผิดชอบ หากเราดูรายรับเทียบกับรายจ่ายของ กทม.จะพบว่า กทม.มักมีรายได้สูงกว่ารายจ่าย และนั่นจะกลายไปเป็น “เงินสะสม” ของ กทม. ที่ปัจจุบันมีอยู่หลายหมื่นล้านบาท

งบ กทม.

จะเห็นว่า สัดส่วนรายจ่ายของงบลงทุนแต่ละปีจะอยู่ที่ 12-17% ขณะที่เวลาตั้งเป้าหมาย กทม.มักจะตั้งไว้ที่ 25-30% แปลความได้ว่า การลงทุนสิ่งใหม่ๆ ใน กทม.ยังไม่เป็นไปตามเป้า งบประมาณส่วนใหญ่ที่ใช้จ่าย เป็นงบประจำต่างๆ

ส่วนงบกันไว้เบิกเหลื่อมปีก็มีสัดส่วนราว 10% ส่วนใหญ่จะเป็นงบลงทุน สำนักการคลังของ กทม. เคยเขียนวิเคราะห์ไว้ว่า นั่นแสดงให้เห็นถึงความยุ่งยากและซับซ้อนของกระบวนการเบิกจ่ายงบลงทุน

ที่น่าสังเกตอีกประการคือ งบเหลือที่เบิกจ่ายไม่ทัน เรียกว่า ‘งบประมาณพับไป’ ในปี 2563 นั้นมีจำนวนสูงมากด้วย 

งบ กทม.

เงินเยอะแค่ไหน ผลลัพธ์ก็เป็นอย่างที่เราเห็นๆ และนี่คือสัดส่วนโดยประมาณในการนำงบไปใช้จ่าย จะเห็นว่า รายจ่ายประจำในการบริหารงานทั่วไปนั้นสูงถึง 1 ใน 3


ที่มา :

http://203.155.220.117:8080/BMAWWW/html_chapter/detail.php?id=321

http://203.155.220.117:8080/BMAWWW/upload/module_cms/title_cms/file_64a0988dcab125ff18f900832287f6dc.pdf

http://203.155.220.117:8080/BMAWWW/upload/module_cms/title_cms/file_f16907cc153c54c6da866c1089cd899c.pdf

http://203.155.220.117:8080/BMAWWW/upload/module_cms/title_cms/file_914a4a1b08e14d98d2e84c5517431fb6.pdf

https://www.fpo.go.th/main/Statistic-Database.aspx

http://203.155.220.117:8080/BMAWWW/html_chapter/detail.php?id=321

https://www.bltbangkok.com/bangkok-update/27102/

https://bbstore.bb.go.th/cms/1603781053_3954.pdf