ไม่พบผลการค้นหา
ทำไมต้อง 'ปฏิรูปศาล'
ถอดบทเรียน ''นาซ่า'' ถอนโครงการสำรวจสภาพอากาศ
เปิดวิสัยทัศน์ 'ดับไฟใต้' ของเลขาธิการอาเซียน
วิทยาศาสตร์ไทยอีก 10 ปี ข้างหน้า ?
เปิดแผนบริหารจัดการน้ำ กยน. - รัฐบาล "เอาอยู่"?
ประเมินการเมืองไทยหลังน้ำลด
นับถอยหลังศาลโลกพิพากษา ตอนที่ 2
“ครก. 112 VS สยามประชาภิวัฒน์” ว่าด้วยการแก้ - ไม่แก้ ม. 112
ผลสะเทือนจากคดี "อากง"
นับถอยหลังศาลโลกพิพากษา
เปิดทัศนะผู้นำครู ผู้นำท้องถิ่น 'การศึกษา' คือกุญแจดับไฟใต้
โปรดฟังอีกครั้ง ! “ไม่ยอมรับรัฐประหาร”
วิเคราะห์ปรากฎการณ์ "นิติราษฏร์" ผ่านมุมมองนักสิทธิมนุษยชน - สื่อ
ควันหลง “อภัยโทษ - พลิกวิกฤติมหาอุทกภัย” สู่โอกาสทางประชาธิปไตย
เสียงสะท้อนครอบครัวเหยื่อชุมนุม "เท่ากัน" ไม่ได้หมายถึง "เท่าเทียม" ?
หนุน-ต้านเยียวยาเหยื่อชุมนุม คำตอบอยู่ที่"เจตจำนงทางการเมืองของรัฐบาล"
สันติวิธีจริงหรือ
"วิกฤติน้ำ" VS " วิกฤติคน"
ไทยก้าวสู่ฟรีทีวีดิจิตอล 50 ช่อง
ทำความเข้าใจวิถีมุสลิม - สำรวจตลาดค้าขายวันศุกร์ที่ยะลา
“คดีสมิติเวช”...ภาพสะท้อนวิกฤติวงการสาธารณสุขไทย!
Feb 11, 2012 10:21

รายการ  Intelligence ประจำวันที่ 11 ก.พ. 2555 

 

คดีใหญ่ในวงการสาธารณสุขไทย คือ คดีที่ศาลฎีกาพิพากษาให้ โรงพยาบาลสมิติเวช วิสัญญีแพทย์ และสูตินรีแพทย์ ต้องชดใช้ค่าเสียหายประมาณ 8 ล้านบาท ให้กับครอบครัวผู้เสียหายรายหนึ่งที่ภรรยา และบุตร เสียชีวิตระหว่างการคลอดบุตร คดีนี้ต่อสู้กันในชั้นศาลนานถึง 16 ปี เพราะต่อสู้กันถึง 3 ศาล ปฎิกิริยาที่ออกมาจากฝ่ายแพทย์ค่อนข้างรุนแรง มีโรงพยาบาลบางแห่งหนึ่ง  ออกประกาศไม่ให้ใช้วิธีการรักษาวิธีเดียวกับที่ผู้เสียหายรายนี้เสียชีวิต  ขณะเดียวกันเครือข่ายแพทย์ก็มีการเคลื่อนไหวจัดสัมนา เพื่อรวบรวมรายชื่อเสนอขอแก้ไข พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ให้เอาบริการสาธารณสุขออกจากคดีผู้บริโภค   ไม่ให้ถือว่าบริการสาธารณสุขเป็นสินค้าและบริการที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายผู้บริโภค

 

ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา  ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์  ซึ่งต่อสู้คดีกับโรงพยาบาลที่ทำให้บุตรของเธอต้องพิการมากว่า21 ปี เห็นว่า  คดีสมิติเวชเป็นคดีเดียวในรอบ 2 ปีที่ผู้เสียหายเป็นฝ่ายชนะ  และมีการนำเสนอข่าวผ่านสื่อ แต่ที่ผ่านมาผู้เสียหายจำนวนมาก ต้องต่อสู้คดีเพียงลำพัง  ขณะที่ฝ่ายแพทยสภาก็ออกมาตรการบีบเพื่อไม่ให้ผู้เสียหายฟ้องร้อง  ในฐานะที่ต่อสู้เรื่องนี้มายาวนาน เธอใช้เวลากว่า 10 ปีในการผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการบริกาสาธารณสุข  สาระสำคัญ คือมีการตั้งกองทุน สำหรับเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์   โดยไม่ต้องมีการฟ้องร้องแพทย์ หรือโรงพยาบาล และมีการออกแบบระบบใหม่สำหรับแพทย์และผู้ป่วยแต่ขณะนี้ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังค้างอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร   เธอมองว่า  หากผลักดันกฎหมายใหม่สำเร็จ จะเป็นการแก้ปัญหาระบบบริการทางแพทย์ของไทย ลดปัญหาการเผชิญหน้าอง แพทย์ กับ คนไข้

 

ผศ.ดร. ลือชัย ศรีเงินยวง อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เห็นว่า  คดีสมิติเวช เป็นกรณีตัวอย่างสะท้อนวิกฤติสังคม  คู่เผชิญหน้าไม่ควรเป็น แพทย์ กับ ผู้ป่วย  ในทัศนะของผู้ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้เสียหาย อธิบายว่า ความเสียหายจากการรับบริการทางแพทย์  เกิดขึ้นได้จากทั้ง ความผิดพลาดทางการแพทย์ และความผิดพลาดของบุคคล  แต่เป็นเรื่องของ"ระบบ " ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ควรจบลงด้วยการ ฟ้องร้อง  เพราะการขึ้นศาลเพื่อพิสูจน์ถูกผิดไม่ใช่คำตอบ  แต่เป็นการทำลายระบบสุขภาพทั้งระบบ ทำลายความ

 

สัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย   ทางออกคือ จะต้องแก้ไขตัวระบบ โดยอาจารย์ลือชัย มองว่า ร่างกฎหมายคุ้มครองความเสียหายทางการแพทย์มีการออกแบบทั้ง กองทุนเพื่อการเยียวยา  และการออกแบบระบบ  เพื่อแก้ปัญหาที่สั่งสมมานานของวงการแพทย์ไทยด้วย   จึงควรผลักดันให้มีผล

 

บังคับใช้   และแสดงความเป็นห่วงการที่ไทยประกาศเป็น  Medical  Hub  ในขณะที่ยังแก้ปัญหาการคุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ไม่ได้จะทำให้วิกฤตินี้หนักหน่วงยิ่งขึ้น

 

Produced by VoiceTV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog