ไม่พบผลการค้นหา
กฟน. จัดพิธีประกาศผลและมอบรางวัล “มาตรฐานสถานศึกษาดีเด่น ด้านพลังงาน” Energy Mind Award 2017
Biz Feed - ไทยถูกโหวตประเทศน่าสร้างธุรกิจใหม่ที่สุดในโลก - Short Clip
Biz Feed - Biz Insight:เครื่องสำอางเกาหลีมุ่งตีตลาดมุสลิมในอาเซียน- Short Clip
Biz Feed - 'รถแท็กซี่' ครองแชมป์ถูกร้องเรียนมากที่สุด - Short Clip
Biz Feed - ปี 2017 ชาวฟิลิปปินส์ส่งเงินกลับประเทศมากที่สุด - Short Clip
Biz Feed - ธุรกิจสถานที่จัดงานแต่งตอบโจทย์บ่าวสาวยุคใหม่ - Short Clip
Biz Feed - PwC เปิดผลสำรวจอาชญากรรมทางเศรษฐกิจโลกปี'61 - Short Clip
Biz Feed - 2018 อาจไม่ใช่ปีของเฟซบุ๊ก - Short Clip
CLIP Biz Feed : 5 ธุรกิจสำหรับนักลงทุนยุคมิลเลนเนียล
CLIP Biz Feed : ห้างใกล้ตาย แต่อี-คอมเมิร์ซเปิดร้านขายปลีก
CLIP Biz Feed : ไทยเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซใหญ่อันดับ2ในอาเซียน
Biz Feed - ไทยรั้งท้าย-ถูกลดอันดับ 'ดัชนีนวัตกรรมโลก 2018' - Short Clip
Biz Feed - คนทำงานรุ่นใหม่เบื่อง่าย เปลี่ยนงานบ่อย - Short Clip
Biz Feed - นักท่องเที่ยวอินเดียหลั่งไหลเข้าไทย 1.4 ล้านคน - Short Clip
Biz Feed - เส้นทางเน็ตฟลิกซ์จากเช่าวิดีโอสู่สตรีมมิง - Short Clip
Biz Feed - บิทคอยน์ร่วงเพราะรัฐบาลในเอเชีย? - Short Clip
Biz Feed - ‘ดาวมิชลิน’ คว้าได้แล้วไปไหนต่อ ? - Short Clip
Biz Feed - สัมผัสประสบการณ์ดินเนอร์ลอยฟ้าครั้งแรกในไทย - Short Clip
ไทยตามหลังมาเลเซีย-เวียดนามในดัชนีนวัตกรรมโลก
Biz Feed - เชฟรอนอาจถอนกิจการในเมียนมาเพราะกรณีโรฮิงญา - Short Clip
Biz Feed - ดาวมิชลิน คว้าได้แล้วไปไหนต่อ? - Short Clip
Dec 8, 2017 03:16


หลังจากรอคอยมานานหลายปี ในที่สุดภัตตาคารในกรุงเทพฯก็ได้รับการประเมินและมอบดาวจากมิชลิน ไกด์ ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์มากมายถึงความเหมาะสม แต่เมื่อได้ดาวมาแล้ว สิ่งสำคัญต่อไปก็คือ ดาวมิชลินจะช่วยยกระดับวงการอาหารไทยและคุณภาพของภัตตาคารต่างๆได้อย่างไร

มิชลินไกด์ เป็นคู่มือแนะนำร้านอาหารที่ไดรับการยอมรับมากที่สุดในโลก ออกโดยบริษัทผู้ผลิตยางมิชลิน จุดกำเนิดมาจากการแนะนำร้านอาหารที่นักเดินทางควรไปแสวงหาเพื่อลิ้มรสชาติ คล้ายกับเชลล์ชวนชิมที่ชาวไทยรู้จักกันดี โดยมิชลินไกด์ หรือคู่มือแนะนำร้านอาหารของมิชลิน จะแบ่งการให้คะแนนร้านต่างๆเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1 ดาว คือร้านอาหารที่ดีเมื่อเทียบกับร้านอื่นๆในประเภทเดียวกัน 2 ดาว หมายถึงร้านอาหารที่โดดเด่น คุ้มค่ากับการต้องขับรถไปกิน และ 3 ดาว คือร้านที่ยอดเยี่ยมที่สุด ในระดับที่ต้องขวนขวายเดินทางไปเป็นพิเศษเพื่อลิ้มรส 

สำหรับประเทศไทย แม้จะเป็นจุดหมายปลายทางด้านอาหารที่โด่งดังของโลก และขึ้นชื่อเรื่องสตรีทฟูด ไปจนถึงร้านหรูหราที่มีหลากหลายระดับ แต่ปี 2017 เป็นปีแรกที่มิชลินส่งนักชิมมาให้คะแนน ประเมินคุณภาพร้านอาหารในกรุงเทพฯ และประกาศให้มี 3 ภัตตาคารได้ 2 ดาว 14 ภัตตาคารได้ 1 ดาว และอีก 28 ร้านอาหารริมทาง ถูกแนะนำในมิชลินไกด์ฉบับกรุงเทพฯ

Gaggan หนึ่งในภัตตาคารที่ได้รับ 2 ดาวมิชลิน เป็นภัตตาคารอินเดียฟิวชันที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เชฟกักกัน อานันด์ เจ้าของร้าน บอกว่าเขาไม่แปลกใจที่ได้รับรางวัลนี้ แต่ยอมรับว่ากดดัน เพราะมิชลินมีมาตรฐานสูง อย่างไรก็ตาม เชฟกักกันมองว่านี่คือโอกาสของร้านอาหารเอเชียที่จะพิสูจน์ตัวเองว่าร้านระดับ 2-3 ดาวมิชลิน ไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารตะวันตกเท่านั้น แต่ชาติที่ "กินแกง" ก็ทำร้านที่ได้ดาวมิชลินได้เช่นกัน

สำหรับผู้ที่ข้องใจว่าร้านที่จะได้มิชลิน ต้องมีความโดดเด่นในด้านใด ทำไมบางร้านที่คนมองว่าอร่อยสุดยอดกลับไม่ได้ และร้านที่ได้ก็ถูกวิจารณ์ว่าไม่อร่อยโดดเด่นอะไรมากนัก ไมเคิล เอลลิส ผู้อำนวยการฝ่ายจัดทำมิชลินไกด์ของมิชลิน อธิบายว่าความยากของการให้ดาวร้านในกรุงเทพฯ คือการที่เมืองนี้มีร้านอาหารดีๆเยอะมาก แต่สุดท้ายนักชิมของมิชลินก็ใช้เกณฑ์มาตรฐานที่ใช้กับทั่วโลก เลือกเฟ้นมาจนได้ร้านในลิสต์ที่ถูกประกาศออกมา โดยการตัดสินใช้ 5 ปัจจัย ได้แก่คุณภาพวัตถุดิบ เทคนิคการปรุงอาหาร ความกลมกลืนสอดประสานของรสชาติ ความสม่ำเสมอของคุณภาพ และความคุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่าย โดยคะแนนจะเป็นการตัดสินใจร่วมของทีมนักชิมหลายคน และทุกคนต้องเห็นตรงกันทั้งหมดว่าจะให้หรือถอนดาวร้านใด โดยทุกครั้ง ร้านจะไม่มีวันรู้ว่าบุคคลเหล่านี้เป็นทีมของมิชลิน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการชี้วัดคุณภาพร้านอย่างเที่ยงตรง

การให้ดาวมิชลินทำทุกปี ร้านที่ได้ดาวไปแล้วสามารถถูกยึดดาวคืน หรือเพิ่มดาวก็ได้ ตามแต่คุณภาพที่เปลี่ยนแปลงไป และนายเอลลิสยืนยันว่าร้านอาหารที่มั่นใจว่าสามารถคว้าดาวมิชลินมาได้ สามารถแจ้งมาทางมิชลินเพื่อให้ทีมงานไปชิม แม้จะไม่สามารถไปชิมทุกร้านได้ แต่ทีมงานก็จะพยายามแสวงหาร้านใหม่ๆเพื่อเพิ่มร้านแนะนำลงในไกด์อย่างต่อเนื่อง นี่จึงถือเป็นแรงผลักดันสำคัญสำหรับวงการอาหารในไทยในการพัฒนาคุณภาพและเทคนิคการทำอาหาร เพื่อให้ได้รับการยอมรับตามมาตรฐานโลกมากขึ้น

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog