ไม่พบผลการค้นหา
Biz Feed - ไทยรั้งอันดับ 15 'แหล่งฟอกเงิน-เลี่ยงภาษี' - Short Clip
 Biz Insight :  ชนชั้นกลางจีนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จน้อยลง
 Biz Insight : หัวหน้ามักทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกผิดที่ลาพักร้อน 
Biz Feed - ไทยรั้งท้าย-ถูกลดอันดับ 'ดัชนีนวัตกรรมโลก 2018' - Short Clip
Biz Feed - เวียดนามร่วมมือ 'คอร์แนล' ตั้งมหาวิทยาลัยในฮานอย - Short Clip
Biz Feed - 2018 อาจไม่ใช่ปีของเฟซบุ๊ก - Short Clip
Biz Feed - ไทยถูกโหวตประเทศน่าสร้างธุรกิจใหม่ที่สุดในโลก - Short Clip
ไทยพร้อมหรือไม่ในยุคหุ่นยนต์ครองเมือง?
Biz Feed - mai FORUM 2018 : มหกรรมรวมพลังคน mai ครั้งที่ 5​ - Short Clip
Biz Feed - เอเชียยังลงทุนในเมียนมาแม้มีวิกฤตโรฮิงญา - Short Clip
Biz insight  : ธุรกิจส่งสินค้าในจีนโตต่อเนื่อง แต่มีปัญหาขยะล้น.
Biz Feed - ซัมซุงเปิดตัว Galaxy S9 นำทัพสมาร์ทโฟน 2018 - Full EP.
Biz Feed - เส้นทางเน็ตฟลิกซ์จากเช่าวิดีโอสู่สตรีมมิง - Short Clip
Biz Feed - ไทยยกระดับภาษาอังกฤษ จาก 'ต่ำมาก' เป็น 'ต่ำ' - SHORT CLIP
Biz Feed - แรงงานอาเซียนเสริม ศก.ไทย แต่หนีไม่พ้นถูกละเมิด - Short Clip
CLIP Biz Feed : 'พิโก' เครื่องผลิตคราฟท์เบียร์ประจำบ้าน
Biz Insight - คนนิยมซื้อของขวัญวันคริสต์มาสที่ห้างมากกว่าออนไลน์ - Short Clip
Biz Feed - คนไทยจ่ายค่าน้ำมันผ่าน QR Code ได้แล้ววันนี้ - FULL EP.
Biz Insight : คนนิยมซื้อของขวัญวันคริสต์มาสที่ห้างมากกว่าออนไลน์ - Short Clip
ชาวจีนเที่ยวเชิงแพทย์เพิ่ม-ช่วย รพ.เอกชนไทยเติบโต
Biz Insight - จับตาเศรษฐกิจ-การเมือง 4 เสืออาเซียนปี 2018 - Short Clip
Jan 11, 2018 03:23

ปี 2018 เป็นปีที่หลายประเทศในอาเซียนจะเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง รวมถึงไทยที่อาจมีเลือกตั้งปลายปีนี้ ซึ่งความผันผวนทางการเมืองจะส่งผลถึงนโยบายและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ รวมถึงภูมิภาคอาเซียนโดยรวม

สำนักข่าวสเตรทส์ไทม์สของสิงคโปร์ เผยแพร่บทความวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจและการเมืองของ 4 ประเทศที่น่าจับตามองในอาเซียน ประจำปี 2018 ซึ่งเป็นการรวบรวมความเห็นจากนักวิเคราะห์ของสถาบัน Iseas-Yusof Ishak ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา โดย 4 ประเทศนี้ได้แก่ไทย อินโดนีเซีย เมียนมา และฟิลิปปินส์

1.ฟิลิปปินส์

สำหรับฟิลิปปินส์ แม้ว่าจะยังไม่มีการเลือกตั้งในช่วงนี้ แต่เป็นชาติอาเซียนที่น่าจับตามอง เพราะผ่านไป 1 ปีครึ่งแล้วสำหรับการปกครองประเทศโดยรัฐบาลนายโรดริโก ดูแตร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ แม้ว่าดูแตร์เตจะต้องเผชิญกับความท้าทายด้านความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นการปราบปรามยาเสพติดอันนองเลือด หรือการต่อต้านการก่อการร้าย โดยเฉพาะในมินดาเนาและเมืองมาราวีที่เคยถูกกลุ่มเครือข่าย IS ยึดครอง 

แต่ในอีกด้าน ดูแตร์เตบริหารประเทศในช่วงที่เศรษฐกิจฟิลิปปินส์เติบโตอย่างต่อเนื่องที่สุด จีดีพีโตร้อยละ 6.3 ต่อปีโดยเฉลี่ยมาตั้งแต่ปี 2010-2016 และปี 2017 จีดีพีคาดว่าจะโตถึงเกือบร้อยละ 7 ทำให้ฟิลิปปินส์กลายเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วเป็นอันดับ 10 ของโลก ขณะที่ธนาคารโลกประเมินว่าเศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะเติบโตเกินร้อยละ 6 ไปจนถึงปี 2019 เป็นอย่างน้อย การบ้านใหญ่ของดูแตร์เตจึงเป็นการรักษาสภาพการเติบโตนี้ไว้ ควบคู่กับการปฏิรูประบบการบริหารประเทศครั้งใหญ่จากการรวมศูนย์ให้มีลักษณะกระจายอำนาจแบบสหพันธรัฐมากขึ้นตามที่ได้สัญญาไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง

2.อินโดนีเซีย

ในวันที่ 27 มิถุนายนนี้ อินโดนีเซียจะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นใน 17 จังหวัด โดยเป็นการเลือกผู้ว่าการ นายกเทศมนตรี และนายอำเภอรวม 171 ตำแหน่งภายใน 1 วัน ซึ่งถือเป็นการวัดคะแนนนิยมก่อนถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาในเดือนเมษายนปี 2019 ซึ่งนายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ต้องสู้กับคู่แข่งเก่าอดีตนายพล ประโบโว สุเบียนโต 

สมรภูมิที่ดุเดือดที่สุดคือ 3 จังหวัดในชวา ซึ่งมีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งกว่า 100 ล้านคน หรือร้อยละ 56 ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งหากพรรคของนายวิโดโดได้เสียงส่วนใหญ่ไป ก็จะทำให้การสานต่อนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน โครงการรถไฟความเร็วปานกลางเชื่อมเมืองใหญ่ต่างๆ คืบหน้าไปได้อย่างไม่มีปัญหา  

3. เมียนมา

เมียนมาก็ยังคงไม่มีการเลือกตั้งในปีนี้ แต่เป็นที่จับตามองจาก 2 สาเหตุใหญ่ๆ นั่นคือปัญหาโรฮิงญาและความไม่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนโรฮิงญาเป็นปัญหาใหญ่ที่ถูกมองว่าขัดขวางเมียนมาจากการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง นอกจากนี้ แม้ว่ารัฐบาลอองซาน ซูจี จากพรรค NLD จะบริหารประเทศมาเกือบ 2 ปีแล้ว แต่กลับไม่มีผลงานทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม และไม่มีพรรคการเมืองใดมีแนวนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการวางอนาคตทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ 

แต่ในอีกด้าน เมียนมาก็เริ่มกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะสตาร์ทอัพและธุรกิจ SMEs ที่สามารถแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากบริษัทใหญ่ๆได้พอสมควร โดยเป็นผลมาจากการแพร่กระจายของอินเทอร์เน็ตและองค์ความรู้ด้านไอทีในกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ของประเทศ

4. ไทย

ไทยกำลังจะมีการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนนี้ หากทุกอย่างเป็นไปตามโรดแมปของคสช. แต่รศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่าไม่ว่าจะได้เลือกตั้งในปลายปีนี้หรือไม่ ช่วงเวลาทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง ถือว่าไทยอยู่ในอนาคตที่ไม่แน่นอน เนื่องจากเพิ่งมีการเปลี่ยนรัชสมัย จึงไม่มีใครทราบได้ว่าหากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง สถานการณ์จะเป็นอย่างไร และรูปแบบการเมืองไทยในอนาคตจะออกมาอย่างไร การจับกลุ่มของตัวแสดงหลักๆในการเมืองไทยก็ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างชัดเจนพอ นักการเมืองก็อยากจะกลับเข้ามามีบทบาทในสนามการเมือง และภาคประชาสังคมก็อยากเคลื่อนไหวแล้วเช่นกัน ทำให้เป็นไปได้สูงกว่าไทยจะกำลังเข้าสู่ช่วงเวลาที่ปั่นป่วนวุ่นวายในปี 2018 อย่างแน่นอน

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog