ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - เทสลาปิดโชว์รูมลดต้นทุน เดินหน้าขายออนไลน์ - Short Clip
World Trend - เตรียม​จัดการแข่งรถหญิงล้วนในปี 2019 - Short Clip
World Trend - ‘ตู้บริจาคอัตโนมัติ’ เพื่อผู้ยากไร้ในต่างแดน - Short Clip
World Trend - นิวซีแลนด์เล็งปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2050 - Short Clip
World Trend - รถพลังงานไฟฟ้าจะถูกกว่ารถใช้น้ำมันใน 7 ปี - Short Clip
World Trend - บริษัทดัตช์เล็งผลิตพลังงานสะอาดให้ทั้งยุโรป - Short Clip
World Trend - หัวเว่ย ยอดขายพุ่ง 15 เปอร์เซ็นต์ในครึ่งปีแรก - Short Clip
World Trend - ศก.เวียดนามอาจเป็นเบอร์ 1 เอเชียใน 10 ปี - Short Clip
World Trend - มูลค่า 'บิตคอยน์' ตกลงต่ำสุดในรอบเดือน - Short Clip
World Trend - คาด 30 ปีข้างหน้า อากาศโลกจะเปลี่ยนแปลงรุนแรง - Short Clip
World Trend - แคลิฟอร์เนียเตรียมใช้พลังงานสะอาด 100% ในปี 2045 - Short Clip
World Trend - สหราชอาณาจักรเตรียมติดตั้งเน็ตความเร็วสูงทุกครัวเรือนในปี 2033- Short Clip
World Trend - สตาร์บัคส์พัฒนากาแฟรับมือโลกร้อน - Short Clip
World Trend - ดื่มน้ำผลไม้มากเกินเสี่ยงตายไวเท่าน้ำอัดลม - Short Clip
World Trend - นิวยอร์กผ่านกม.ให้ตึกสูงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก - Short Clip
World Trend - เน็ตฟลิกซ์ขึ้นราคาทำลูกค้ารายได้น้อยเลิกดู - Short Clip
World Trend - ซีรีส์เชอร์โนบิลปลุกกระแสท่องเที่ยวสถานที่จริง - Short Clip
World Trend - อูเบอร์เพิ่มบริการขายของในรถ - Short Clip
World Trend - วอลโว่เพิ่มความปลอดภัยให้คนขี่จักรยาน - Short Clip
World Trend - แอปเปิลเปิดตัวไอโฟนใหม่รองรับ 2 ซิม - Short Clip
World Trend - สหรัฐฯ รวมลงทุนผลิตเนื้อในแล็บของอิสราเอล - Short Clip
May 4, 2018 10:16

หลังจากที่ก่อนหน้านี้อิสราเอลได้ประสบความสำเร็จในการผลิตเนื้อจากห้องแล็ป โดยไม่ต้องฆ่าสัตว์ ล่าสุดบริษัทผลิตอาหารยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ อย่าง ไทสัน ฟูดส์ ได้เข้ามาร่วมลงทุนในโปรเจกต์นี้แล้ว เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อ และตอบสนองความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีมากขึ้นของประชากรโลกด้วย 

ไทสัน ฟู้ดส์ บริษัทผลิตอาหารและเนื้อสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมลงทุนกับบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของอิสราเอล เพื่อพัฒนาวิธีการผลิตเนื้อสัตว์ที่สามารถทำได้จากห้องแล็ป โดยไม่ต้องฆ่าสัตว์ 

โดยเทคโนโลยีเนื้อสัตว์แห่งอนาคตนี้จะเน้นการผลิตเซลล์ไขมันและกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งต่างกำลังแข่งขันกันพัฒนา เพื่อตอบสนองความต้องการการบริโภคเนื้อสัตว์ที่เพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยการใช้พื้นที่ทำปศุสัตว์ และสามารถผลิตไขมันและสารโพลีอะโรเมติกไฮโดรคาร์บอน ที่ทำให้คนรู้สึกอยากรับประทานเนื้อ ซึ่งไขมันที่ผลิตจากห้องปฏิบัติการนั้น สามารถนำไปใส่ในผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ ได้ เพื่อให้ดูน่ารับประทานยิ่งขึ้น โดยเทคโนโลยีนี้ได้รับการอนุมัติจาก Yissum ซึ่งเป็นบริษัทประเภท Transfer Technology ของมหาวิทยาลัยฮีบรูแห่งเยรูซาเลม 

นอกจากไขมันที่ได้และการนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารอื่นได้แล้ว ศาสตราจารย์ยาคอฟ นาห์มิส ผู้ก่อตั้งและหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ประจำแล็ปนี้ยังระบุอีกว่า การเพาะเลี้ยงสัตว์แบบปกติมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 630,000 บาทต่อกิโลกรัม แต่ขณะนี้ต้นทุนจากการผลิตเนื้อในห้องแล็ปสามารถทำให้ลดลงได้เหลือเพียง 100 ดอลลาร์ หรือราว 3,100 บาท และจะทำให้เหลือเพียง 5 ดอลลาร์ หรือราว 158 บาท ภายในปี 2019

นอกจากนั้น การผลิตเนื้อจากแล็ปยังมีผลดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยการศึกษาของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม ได้ประเมินว่าเนื้อที่เพาะเลี้ยงภายในแล็ปจะช่วยลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึง 96 เปอร์เซ็นต์ และลดความต้องการที่ดินในการทำปศุสัตว์ลง/ โดยนาห์มิส หวังว่าในเวลาอีก 10 ปี เกษตรกรจะใช้เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ในลักษณะเครื่องทำเนื้อ เหมือนกับที่พวกเขามีเครื่องทำขนมปัง

ทั้งนี้ไทสัน ฟูดส์ ยังได้ร่วมลงทุนกับบริษัทผู้ผลิตโปรตีนจากพืช ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาเช่นกัน เพราะเล็งเห็นว่าในอนาคตความต้องการเหล่านี้จะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะความต้องการเนื้อสัตว์ที่คาดว่าจะเพิ่มเป็น 2 เท่าในช่วงปี 2000 ถึง 2050 เนื่องจากประชากรโลกอาจจะมีจำนวนเกินกว่า 9 พันล้านคน และการผลิตเนื้อสัตว์จากแล็ปอาจเป็นวิธีเดียวที่จะตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้โดยที่ไม่ต้องทำลายสิ่งแวดล้อม

ด้วยนโยบายเพิ่มจำนวนประชากรของหลายประเทศ คาดว่าจะทำให้ประชากรโลกเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการอาหารเพิ่มขึ้นตามมา ซึ่งสวนทางกับที่ดินในการทำการเกษตรที่ลดลง ดังนั้น หากเทคโนโลยีผลิตอาหารทดแทนเหล่านี้มีบทบาทมากขึ้น ก็จะช่วยให้เราสามารถซื้ออาหารได้ในราคาที่ถูกลง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคืออาหารนั้นต้องมีคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน และต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog