ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - ทั่วโลกต้องเร่งรับมือ 'ภาวะโลกร้อน' ก่อนจะสายเกินแก้ - Short Clip
World Trend - UN ชี้ เหลือเวลาป้องกันหายนะจากโลกร้อนอีก 12 ปี - Short Clip
World Trend - นิวซีแลนด์เล็งปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2050 - Short Clip
World Trend - บริษัทดัตช์เล็งผลิตพลังงานสะอาดให้ทั้งยุโรป - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ลดโลกร้อนช่วยลดไข้เลือดออก - Short Clip
World Trend - นิวยอร์กผ่านกม.ให้ตึกสูงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก - Short Clip
World Trend - 'จำกัดการกินเบอร์เกอร์' ช่วยโลกได้! - Short Clip
World Trend - อัตราการเพิ่มประชากรจีนจะถดถอยในปี 2030 - Short Clip
World Trend - แก๊สเรือนกระจกทั่วโลกจะสูงเกินกำหนดในปี 2030 - Short Clip
World Trend - ในอีก 2 ปี 83% ของงานองค์กรจะอยู่ใน 'คลาวด์' - Short Clip
World Trend - 'เซี่ยงไฮ้นำร่องแยกขยะ ก่อนทำทั่วประเทศ - FULL EP.
World Trend - UN แนะ 25 นโยบายลดมลพิษอากาศในเอเชีย - Short Clip
World Trend - บริษัทดังชี้ AI จะสร้างงานให้คน - Short Clip
World Trend - UN เตือนทั่วโลกอาจขาดแคลนนักบิน-เร่งฝึกให้ทันปี 2036 - Short Clip
World Trend - จีนคิดค้นระบบจดจำใบหน้าสุนัข - FULL EP.
World Trend - สตาร์บัคส์พัฒนากาแฟรับมือโลกร้อน - Short Clip
World Trend - เนเธอร์แลนด์ลงทุนเพิ่มให้คนใช้จักรยานมากขึ้น - Short Clip
World Trend - ภาวะโลกร้อนส่งผลต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก - Short Clip
World Trend - สวีเดนจะบรรลุเป้าพลังงานสะอาดในปีนี้ - Short Clip
World Trend - อุณหภูมิออฟฟิศที่เหมาะสมสำหรับทุกคนอาจไม่มีจริง - Short Clip
World Trend - คาด 30 ปีข้างหน้า อากาศโลกจะเปลี่ยนแปลงรุนแรง - Short Clip
Jul 15, 2019 05:57

ปัจจุบันปัญหาโลกร้อนเป็นปัญหาที่หลายคนตระหนักกันมากขึ้น เพราะกระทบกับเราจริง ๆ เช่นอากาศร้อนจัด น้ำแข็งขั้วโลกละลาย หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติอื่น ๆ พูดถึงประเด็นที่เป็นผลการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์ ที่ระบุว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า สภาพอากาศของโลกเราจะเปลี่ยนแปลงรุนแรงมากแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

ผลการศึกษาชิ้นนี้มาจาก สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก หรือ ETH ซูริก สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งได้เผยผลการศึกษาล่าสุดในวารสารวิชาการ PLOS ONE คาดการณ์ระดับอุณหภูมิและสภาพภูมิอากาศในอีก 30 ปีข้างหน้า หรือปี 2050 ของเมืองใหญ่ 520 แห่งทั่วโลก โดยศึกษาถึงกรณีที่ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้

การศึกษาดังกล่าวพบความเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพอากาศในปัจจุบัน เช่นที่ระบุว่าในปี 2050 ฤดูหนาวที่นิวยอร์กจะมีสภาพอากาศร้อนเหมือนชายหาดเวอร์จิเนียตอนนี้ ฤดูหนาวที่ลอนดอนจะแห้งแล้งเหมือนเมืองบาร์เซโลนา ของสเปน เมืองซีแอตเทิลทางตอนเหนือของสหรัฐฯ จะร้อนเหมือนซานฟรานซิสโก ทางตอนใต้ และวอชิงตันดีซี ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือเช่นกัน ก็จะเหมือนแนชวิลล์ ทางตอนใต้ ในตอนนี้

การระบุถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มาจากการสร้างแผนที่ข้อมูลทั่วโลก และจับคู่สภาพภูมิอากาศในอนาคตกับปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น เมืองมินนีแอโพลิสในปี 2050 จะมีอุณหภูมิเหมือนกับเมืองแคนซัสซิตี โดยเดือนที่อบอุ่นที่สุดจะพุ่งขึ้นไปที่เฉลี่ย 90 องศาฟาเรนไฮต์ จากเดิม 80 องศาฟาเรนไฮต์ หรือเทียบเท่ากับ 32 องศาเซลเซียส จากเดิม 26 องศาเซลเซียส

นอกจากนั้นในยุโรป อุณหภูมิก็จะสูงขึ้นเช่นกัน เช่นในช่วงฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งทวีปจะเพิ่มสูงขึ้นราว 3.5 องศาเซลเซียส ในขณะที่ฤดูหนาวก็จะมีสภาพอากาศที่อบอุ่นขึ้นราว 4.7 องศาเซลเซียส อาทิ กรุงลอนดอน จะมีอุณหภูมิในเดือนที่อากาศร้อนที่สุดสูงขึ้นกว่า 5.9 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจเกิดวิกฤติภัยแล้งและอุณหภูมิสูงเกินไป เหมือนที่เคยเกิดขึ้นที่บาร์เซโลนา ของสเปน เมื่อปี 2008 มาแล้ว จนผู้คนเดือดร้อนมากมาย

ที่สำคัญเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของเมืองใหญ่ทั่วโลก จะต้องพบกับสภาพภูมิอากาศที่ผันแปรไปจากเดิมอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มเมือง 1 ใน 5 ของเมืองที่สำรวจ จะมีความเสี่ยงที่จะมีสภาพภูมิอากาศแบบแปลกประหลาด ชนิดที่ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อนในโลก คือจะเกิดอุทกภัยและภัยแล้งอย่างรุนแรงขึ้นพร้อมกันได้ เช่น กรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย เกาะสิงคโปร์ นครย่างกุ้งของเมียนมา และกรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย อนาคตจะมีปัญหาหนักในเรื่องปริมาณน้ำฝนที่ไม่แน่นอน โดยจะทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่บ่อยครั้ง พร้อมกับเกิดภัยแล้งจัดถี่ขึ้นไปในขณะเดียวกัน

นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ที่ผลกระทบที่ตามมาอีกหลายอย่างเช่นกัน ถ้าหากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียสทุกปี สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ มีโอกาสที่ประชากรโลกจะประสบกับภาวะคลื่นความร้อนรุนแรงอย่างน้อย 1 ครั้ง ภายในระยะเวลา 5 ปี ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์คือมีโอกาสพบถึง 37 เปอร์เซ็นต์ จากเดิม 14 เปอร์เซ็นต์ // ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้น 0.46 เมตร ภายในปี 2100 อีกทั้งโอกาสที่สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์จะสูญพันธุ์มีเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะปะการังมีโอกาสถูกทำลายสูงถึง 99 เปอร์เซ็นต์

ด้าน มิคาเอล มันน์ ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สเตต ได้ระบุว่า วิธีการปล่อยแก๊สคาร์บอนที่ใช้ในการศึกษา คือ การรักษาเสถียรภาพ 1.5 ถึง 2.0 องศาเซลเซียสที่คาดการณ์ไว้ในปี 2050 แต่ในความเป็นจริงคาร์บอนที่ปล่อยออกมานั้นสูงกว่ามาก และภูมิภาคตะวันออกกลางจะได้รับผลกระทบหนักทั้งความร้อนและแห้งแล้ง ที่สำคัญจะไปกระทบต่อการผลิตอาหารและความสามารถในการจัดหาน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของเมืองอยู่แล้วด้วย

ปัจจุบัน ที่ประชุมด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติมีมติที่จะพยายามควบคุมให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส โดยจะต้องลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกต่าง ๆ ราว 45 เปอร์เซ็นต์ ให้ได้ภายในปี 2030 พร้อมทั้งตั้งเป้า Net Zero และหันมาใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโลกภายในปี 2050 อย่างไรก็ตาม เจตจำนงที่ถูกพูดถึงกันมานานดูจะยังไม่เป็นผล และยังไม่เห็นข่องทางที่จะประสบผลในอนาคตอันใกล้

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่บอกไว้ แต่รายงานวิจัยคาดการณ์ว่าเมืองหลวงของไทยจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 3 องศาเซลเซียส ในปี 2050 ดังนั้น เราจึงควรตระหนักเรื่องนี้กันให้มากขึ้น และพยายามลดการปล่อยคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศให้ได้มากที่สุด เริ่มจากตัวเราเองก่อน


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog