ไม่พบผลการค้นหา
The Toppick - วงการ 'STEM' ไม่มีพื้นที่สำหรับเพศหญิง - Short Clip
The Toppick - จีนพัฒนา 'หุ่นยนต์นก' ผนึกกำลังโดรน - Short Clip
The Toppick - ผลสำรวจชี้ ชาวเวียดนามนิยมเที่ยวไทยในวันหยุดยาว - Short Clip
The Toppick - ญี่ปุ่นร้อน ผู้ชายหันมาใช้ร่มกันแดดตามคำแนะนำรัฐบาล - Short Clip
The Toppick - ลาวเดินหน้าสร้างเขื่อนแห่งใหม่กั้นแม่น้ำโขง - Short Clip
The Toppick - มหาเธร์จะเป็นนายกฯมาเลเซีย 3 ปี นานกว่าที่อันวาร์คาด - Short Clip
The Toppick - 'ธุรกิจการบิน' ตัวปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เติบโตเร็วที่สุด - Short Clip
The Toppick - ญี่ปุ่น ทำหิมะเทียมรับร้อนโอลิมปิกปีหน้า - Short Clip
The Toppick - 'กูเกิล' ดัน 'คลาวด์คอมพิวติง' นำธุรกิจไทยสู่ดิจิทัล - Short Clip
The Toppick - กรุงเทพฯ ปลอดภัยอันดับที่ 47 จาก 60 เมืองทั่วโลก - Short Clip
The Toppick - เยอรมนี เตรียมออกกฎหมายแบนถุงพลาสติก - Short Clip
The Toppick - อาวุธไซเบอร์เปลี่ยนภูมิทัศน์การรบสมัยใหม่ - Short Clip
The Toppick - วิจัยชี้ ไม่มี 'ยีน' ที่กำหนดให้เป็น LGBTQ - Short Clip
The Toppick - เวียดนาม เตรียมเสนอเพิ่มวันหยุด 3 วัน - Short Clip
The Toppick - 'ล้างเนื้อสัตว์ก่อนปรุงอาหาร' ยิ่งเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อโรค - Short Clip
The Toppick - สิงคโปร์ ขยายเพดานอายุเกษียณเป็น 65 ปี - Short Clip
The Toppick - วิกฤตเศรษฐกิจอาร์เจนตินา เพิ่มความเสี่ยงติดโรคทางเพศ - Short Clip
The Toppick - สิงคโปร์ หนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เอื้อสูงวัยทำงานยุคดิจิทัลได้ - Short Clip
The Toppick - 'หลอดกระดาษ' แมคโดนัลด์รีไซเคิลไม่ได้ตามคาด - Short Clip
The Toppick - กูเกิล เล็งใช้วัสดุรีไซเคิลในฮาร์ดแวร์ทุกชิ้นในปี 2022 - Short Clip
The Toppick - นาซ่า ชวนนักเรียนตั้งชื่อยานสำรวจดาวอังคาร - Short Clip
Sep 2, 2019 01:46

นาซ่าเปิดประกวดชื่อยานโรเวอร์ที่จะใช้สำรวจดาวอังคารในปี 2021 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสหรัฐฯ สนใจวิทยาศาสตร์ สำหรับผู้ไม่ใช่พลเมืองสหรัฐฯ สามารถร่วมส่งคะแนนโหวตชื่อในรอบสุดท้าย

นาซ่ามีแผนจะส่งโรเวอร์ (Rover) หรือยานพาหนะสำรวจอวกาศไปยังดาวอังคารในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ทว่ายังขาดสิ่งสำคัญไปอย่างหนึ่ง นั่นก็คือชื่อของโรเวอร์ลำนี้ ทางนาซ่าจึงจัดการประกวดเปิดรับชื่อจากนักเรียนในระดับอนุบาลถึงมัธยมปลาย เพื่อเฟ้นหาชื่อที่เหมาะสม พร้อมเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ และสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนสนใจสะเต็ม หรือการศึกษาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ (Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education)

โครงการนี้มีชื่ออย่างตรงไปตรงมาว่า "ตั้งชื่อให้โรเวอร์" (Name the Rover) แบ่งการประกวดออกเป็น 3 ประเภท คือประเภทระดับชั้นอนุบาล-ป.4 (grades K-4) ระดับ ป.5-ม.2 (grades 5-8 ) และระดับม.3-ม.6 (grades 9-12) สำหรับสามชื่อที่ได้รับคะแนนมากที่สุดในแต่ละประเภท นักเรียนผู้เสนอชื่อจะได้รับรางวัลส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ อย่าง แท็บเล็ตแอมะซอนไฟร์เอชดี 8 (Amazon Fire HD 8 Tablet) หนังสืออีบุ๊กที่เกี่ยวข้องกับสะเต็ม และของเล่นส่งเสริมวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

ทั้งนี้ ทางนาซ่าระบุว่าชื่อที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเพียงหนึ่งเดียว ‘อาจจะ’ ถูกนำไปใช้เป็นชื่อของโรเวอร์สำรวจดาวอังคารลำนี้ พร้อมได้รับสิทธิพาสมาชิกครอบครัว 4 คนไปชมการส่งโรเวอร์ลำนี้ขึ้นสู่อวกาศ ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) ในเดือนกรกฎาคมปี 2020 อย่างไรก็ตาม ทางนาซ่ากำกับทิ้งท้ายว่านี่ไม่ใช่ข้อผูกมัดว่านาซ่าจำเป็นต้องนำชื่อที่ชนะการประกวดไปใช้

กฎของการประกวดระบุว่า: ชื่อที่เสนอจะต้องยาวไม่เกิน 50 ตัวอักษร โดยส่งได้คนละหนึ่งชื่อต้องเขียนเรียงความอธิบายว่าทำไมจึงเสนอชื่อนี้ความยาว 150 คำขึ้นไปต้องเป็นชื่อที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการใดๆ ในอดีตของนาซ่าหากใช้ชื่อบุคคล ต้องเป็นชื่อของบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว และห้ามใช้ชื่อของบริษัทหรือองค์กรต่างๆ

แคมเปญนี้เปิดรับชื่อตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2019 และประกาศชื่อที่ชนะเลิศในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2020 ก่อนจะส่งโรเวอร์ลำนี้ขึ้นสู่อวกาศในเดือนกรกฎาคม 2020 และคาดว่าจะลงจอดดาวอังคารในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ตามกำหนดการ

น่าเสียดายที่โครงการนี้เปิดให้นักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงม.6 ในสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมเท่านั้น สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พลเมืองสหรัฐฯ สามารถมีส่วนร่วมกับโครงการนี้ผ่านการเปิดโหวตสาธารณะในวันที่ 22 มกราคม 2020 ให้เลือกโหวตชื่อที่ผ่านถึงรอบ 9 ชื่อสุดท้าย โดยชื่อที่ได้ป๊อบปูลาร์โหวตสูงสุดจะได้คะแนนโบนัสเพิ่ม 5 คะแนน สำหรับการพิจารณาคัดเลือกให้เหลือ 3 ชื่อสุดท้าย เพื่อส่งไปให้ คณะกรรมการปฎิบัติการวิทยาศาสตร์ (Science Mission Directorate) เลือกชื่อที่ชนะเลิศและมีสิทธิเป็นชื่อของยานโรเวอร์ในภารกิจสำรวจดาวอังคารนี้


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog