ไม่พบผลการค้นหา
ประเทศไทยผ่านการเลือกตั้ง สส.ทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. 2566 จนถึงวันนี้เป็นเวลานี้ เกือบ 3 เดือนแล้ว ที่คนไทยยังไม่ได้นายกรัฐมนตรี คนที่ 30 หลังจากผ่านการเลือกตั้ง และถ้านับจากวันที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาฯ เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566 ก็เป็นเวลา 4 เดือนกว่าที่ พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ในสถานะรักษาการนายกรัฐมนตรี

เกิดอะไรขึ้นกับสภาพการเมืองไทย นับแต่เสร็จสิ้นการเลือกตั้ง เมื่อผลการเลือกตั้ง สส.ทั่วไปออกมา มี 18 พรรคการเมืองได้ ส.ส.ในสภาฯ

พรรคก้าวไกล ได้ สส.มากที่สุด 151 คน (เขต 112 คน บัญชีรายชื่อ 39 คน)

พรรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.รองลงมา 141 คน (เขต 112 คน บัญชีรายชื่อ 29 คน)

พรรคภูมิใจไทย สส. 71 คน (เขต 68 คน บัญชีรายชื่อ 3 คน)

พรรคพลังประชารัฐ สส. 40 คน (เขต 39 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน)

พรรครวมไทยสร้างชาติ สส. 36 คน (เขต23 บัญชีรายชื่อ 13 คน)

พรรคประชาธิปัตย์ สส. 25 คน (เขต 22 คน บัญชีรายชื่อ 3 คน)

พรรคชาติไทยพัฒนา สส. 10 คน (เขต 9 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน)

พรรคประชาชาติ สส. 9 คน (เขต 7 คน บัญชีรายชื่อ 2 คน)

พรรคไทยสร้างไทย สส. 6 คน (เขต 5 คน บัญชีรายชื่อ 1คน)

พรรคชาติพัฒนากล้า สส. 2 คน (เขต 1 คน บัญชีรายชื่อ 2 คน)

พรรคเพื่อไทรวมพลัง สส. 2 คน (เขต 2 คน)

พรรคเสรีรวมไทย สส. 1 คน (บัญชีรายชื่อ)

พรรคเป็นธรรม  สส. 1 คน (บัญชีรายชื่อ)

พรรคประชาธิปไตยใหม่ สส. 1 คน (บัญชีรายชื่อ)

พรรคครูไทยเพื่อประชาชน  สส. 1 คน (บัญชีรายชื่อ)

พรรคพลังสังคมใหม่ สส. 1 คน (บัญชีรายชื่อ)

พรรรคใหม่  สส. 1 คน (บัญชีรายชื่อ)

พิธา ชลน่าน ก้าวไกล สุดารัตน์ เพื่อไทย วันมูหะมัดนอร์ เสรีพิศุทธ์ IMG_3437.jpeg

หลังเลือกตั้ง พรรคก้าวไกล แสดงบทบาทแกนนำจัดตั้งรัฐบาลทันทีโดยประสาน อีก 7 พรรคการเมืองซีกฝ่ายประชาธิปไตยเดิมและพรรคการเมืองใหม่จัดตั้งรัฐบาล โดยตลอดหลังการเลือกต้ัง สส.เมื่อ 14 พ.ค. 2566 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองที่ยังไม่สามารถมีนายกรัฐมนตรี คนใหม่ได้

17 พ.ค. 2566 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลพร้อมแกนนำพรรคก้าวไกล นัดแกนนำ 7 พรรคประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคประชาชาติ พรรคไทยสร้างไทย พรรคเพื่อไทรวมพลัง พรรคเสรีรวมไทย พรรคเป็นธรรม พรรคพลังสังคมใหม่ ที่ร้านอาหารเช มิลิน (Chez Milline) ย่านถนนสุโขทัย จับมือเดินหน้าตั้งรัฐบาลเป็นครั้งแรก

18 พ.ค. 2566  พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลนำโดยพรรคก้าวไกล ทั้ง 8 พรรค จำนวน สส. 312 เสียงเปิดแถลงข่าวจับมือที่โรงแรมดิ โอกุระ เพรสทีจ ย่านเพลินจิต จับมือแถลงจัดตั้งรัฐบาลของประชาชน

พิธา ชลน่าน ก้าวไกล เพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาล  เอ็มโอยู สุดารัตน์ IMG_3886.jpegพิธา ชลน่าน เอ็มโอยู IMG_3879.jpegพิธา ชลน่าน ก้าวไกล เพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาล  IMG_3873.jpeg

22 พ.ค. 2566 พรรคก้าวไกล นำ พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล แถลงข่าวใหญ่ที่โรงแรมคอนราด กรุงเทพ ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ ให้หัวหน้าพรรคร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ในการจัดตั้งรัฐบาล ในวันที่ครบรอบรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557

โดยสาระสำคัญ เอ็มโอยู 8 พรรคคือ ภารกิจของพรรคร่วมรัฐบาล ต้องไม่กระทบกับรูปแบบของรัฐและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการดำรงอยู่ในสถานะ อันเป็นที่สักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ขององค์พระมหากษัตริย์ ต้องฟื้นฟูประชาธิปไตย รวมถึงการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประชาชนให้เร็วที่สุด โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ต้องยืนยันและผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม เพื่อรับประกันสิทธิสมรสสำหรับคู่รักทุกเพศ โดยจะไม่บังคับประชาชนที่เห็นว่าขัดแย้งกับหลักการของศาสนาที่ตนเองนับถือ เป็นต้น

4 ก.ค. 2566 สภาผู้แทนราษฎรเปิดประชุมนัดแรกโดยเห็นชอบให้ วันมูหะมัดนอร์ มะทา สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ เป็นประธานสภาฯ ปดิพัทธ์ สันติภาดา สส.พิษณุโลก  พรรคก้าวไกล เป็นรองประธานสภาฯ คนที่ 1 พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน สส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย เป็นรองประธานสภาฯ คนที่ 2 

วันมูหะมัดนอร์ มะทา วันนอร์ ปดิพัทธ์ พิเชษฐ์ ประธานสภา รัฐสภา IMG_7496.jpegวันนอร์ วันมูหะมัดนอร์ ปดิพัทธ์ พิเชษฐ์ ประธานสภา สภา ประชุมสภา รัฐสภา IMG_7892.jpeg

12 ก.ค. 2566 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)มีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพ สส.ของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล จะสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 ( 3 )ประกอบมาตรา 101 ( 6 ) หรือไม่ จากเหตุมีชื่อถือครองหุ้นสื่อบริษัทไอทีวีจำกัดมหาชนจำนวน 42,000 หุ้น รวมทั้งมีคำขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสั่งให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ไว้จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย 

ช่วงบ่ายวันเดียว อานนท์ นำภา นัดหมายมวลชนชุมนุมที่บริเวณสกายวอล์ค หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครทันทีในช่วงเย็น เพื่อคัดค้าน กกต.ที่ส่งเรื่อง พิธา ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพ สส.

พิธา ก้าวไกล นายก ที่ประชุมรัฐสภา IMG_8198.jpegพิธา ชัยธวัย ประชุมรัฐสภา โหวตนายก IMG_8503.jpegพิธา ประชุมรัฐสภา ชลน่าน 8537.jpegพิธา ประชุมรัฐสภา 8533.jpegรักชนก กา้วไกล ประชุมรัฐสภา 8525.jpeg

13 ก.ค. 2566 มติที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา เห็นชอบให้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง และงดออกเสียง 199 เสียง โดย พิธาได้รับเสียงเห็นชอบไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา คือ 375 เสียง จึงถือว่าที่ประชุมไม่เห็นชอบให้ พิธา เป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญ

19 ก.ค. 2566 ศาลรัฐธรรมนูญ ส่งหนังสือมาถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร แจ้งมติศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่ กกต.ขอให้วินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของ สส.ของ พิธา สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (5) ประกอบมาตรา 44 (2) หรือไม่นั้น ศาลได้รับคำร้องไว้พิจารณา พร้อมทั้งมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ สส.นับแต่วันที่ 19 ก.ค. 2566 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 80 วรรคสอง

- มติที่ประชุมรัฐสภาเสียงข้างมากเห็นว่าการเสนอชื่อ พิธา คือญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 41 และไม่สามารถเสนอชื่อ พิธา ซ้ำได้ ด้วยคะแนน 395 ต่อ 317 เสียง งดออกเสียง 8 เสียง และไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง ถือว่าที่ประชุมเห็นว่าไม่สามารถเสนอชื่อ พิธา เป็นนายกรัฐมนตรีได้อีกในสมัยประชุมรัฐสภานี้

- พิธา กล่าวอำลาประธานและเพื่อนสมาชิกกลางที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ว่า "ขอใช้โอกาสนี้อำลาท่านประธานจนกว่าจะพบกันใหม่ ขอฝากเพื่อนๆสมาชิกใช้รัฐสภาดูแลพี่น้องประชาชน ผมว่าประเทศไทยไม่เหมือนเดิมตั้งแต่ 14 พ.ค. 66 ถ้าเกิดประชาชนชนะมาได้ครึ่งทาง เหลืออีกครึ่งทาง ถึงแม้ผมจะไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ขอให้เพื่อนสมาชิกดูแลประชาชนต่อไป"

พิธา ประชุมรัฐสภา 8523.jpegนายกรัฐมนตรี รัฐสภา IMG_8557.jpeg

20 ก.ค. 2566 เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย ซึ่งถูกจับตาจะเป็นผู้ถูกเสนอชื่อให้เป็นนายกฯ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนยืนยันถึงประเด็นกฎหมายอาญามาตรา 112 ว่าจะไม่มีการแก้ไขหรือยกเลิก ภายใต้สถานการณ์ที่จะต้องหาเสียงสนับสนุนจาก สส.และสว.ในการโหวตเห็นชอบนายกรัฐมนตรี

21 ก.ค. 2566 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคประชุมหารือที่พรรคเพื่อไทย โดย พรรคก้าวไกลส่งมอบภารกิจแกนนำจัดตั้งรัฐบาลให้ 'พรรคเพื่อไทย' ที่มี สส.มากสุดเป็นอันดับ 2 จัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคร่วม โดยวาง 3 แนวทาง หาเสียง จาก สว.มาสนับสนุนแคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทยให้ได้ครบ 375 เสียง กรณีหาเสียงได้ไม่ถึงเป็นสิทธิของพรรคเพื่อไทยที่หาเสียง สส.เพิ่มจากพรรคการเมืองอื่น และแนวทางอื่นๆ นอกจากเหนือนี้ให้สิทธิพรรคเพื่อไทยพิจารณา

ชลน่าน ชัยธวัช เพื่อไทย ก้าวไกล 8715.jpegชัยธวัช ชลน่าน เพื่อไทย ชลน่าน ชัยธวัช 8พรรค เพื่อไทย ก้าวไกล _8733.jpeg

22-23 ก.ค. 2566 พรรคเพื่อไทยออกหนังสือเชิญพรรคภูมิใจไทย พรรคชาติพัฒากล้า พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคพลังประชารัฐมาหาทางออกจากวิกฤตที่รัฐสภาไม่สามารถเห็นชอบแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีได้ โดยบรรดาพรรคการเมืองที่เชิญมายื่นเงื่อนไขไม่เห็นด้วยที่พรรคก้าวไกลจะผลักดันนโยบายแก้ไข ป.อาญา มาตรา 112 และไม่สามารถร่วมรัฐบาลได้ถ้ายังมีพรรคก้าวไกล ร่วมรัฐบาล

ขณะเดียวกัน สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ประกาศผ่านสื่อโซเชียลจัดชุมนุมทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ที่แยกแยกอโศก พร้อมทำกิจกรรมแปรอักษรเป็นรูปตัวหนังสือไทย ค.

กลุ่มทะลุวังนำโดย ตะวัน-ทานตะวัน ตัวตุลานนท์บุ้ง-เนติพร เสน่ห์สังคม สายน้ำ-นภสินธุ์ ตรีรยาภิวัฒน์ เดินทางมาที่พรรคเพื่อไทยเพื่อทำกิจกรรม เพื่อเรียกร้องจุดยืนไม่เอาเผด็จการ พร้อมกับนำบอร์ดลงคะแนนโหวต ระบุข้อความว่า เห็นด้วยหรือไม่ถ้าเพื่อไทยจับมือกับเผด็จการเพื่อให้ประชาชนร่วมกันโหวต และพยายามบุกเข้าภายในที่ทำการพรรค จนมีการสาดแป้งใส่แกนนำพรรคพลังประชารัฐที่มาหารือกับพรรคเพื่อไทย

อนุทิน ชลน่าน เพื่อไทย ภูมิใจไทย กาแฟ ภูมิธรรม พิพัฒน์ _8811.jpegอนุทิน ภูมิใจไทย ชลน่าน  เพื่อไทย IMG_8821.jpeg

26 ก.ค. 2566 วันเกิดครบรอบ 74 ปี ของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในช่วงเช้า แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุ ดร.ทักษิณ จะเดินทางกลับมาที่ประเทศไทยในวันที่ 10 ส.ค. 2566 หลังจากต้องเดินทางออกนอกประเทศไทยและใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศนาน 15 ปี 

แพทองธาร ระบุว่า "26 ก.ค. ของทุกปี เป็นวันสำคัญของลูกเสมอ แต่ปีนี้ลูกยังไม่อยากเชื่อตัวเอง ในสิ่งที่ลูกกำลังจะพิมพ์ พ่อ (ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี) จะกลับมาแล้ว วันที่ 10 ส.ค.นี้ ที่สนามบินดอนเมือง"

"คุณพ่อเป็นคนประเมินสถานการณ์ทางการเมือง ท่านคงอาจจะรอไม่ไหวแล้ว อยากกลับตั้งแต่เดือน ก.ค.ที่ผ่านมา แต่ยังไม่เสร็จสิ้นอะไรอยากจะกลับมาแล้ว คงจะนิ่งแล้ว" แพทองธาร กล่าว 

เศรษฐา แพทองธาร 7170.jpeg

2 ส.ค. 2566 พรรคเพื่อไทยแถลงข่าวแยกทางกับพรรคก้าวไกลในการร่วมจัดตั้งรัฐบาล โดยพรรคเพื่อไทยยืนยันจะไม่สนับสนุนการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และการจัดตั้งรัฐบาลใหม่จะไม่มีพรรคก้าวไกลอยู่ในพรรคร่วม พร้อมทั้งเสนอชื่อ เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมรัฐสภา พร้อมทั้งยืนยันว่า จะผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยเริ่มจากมติ ครม.ในการประชุมครั้งแรก ให้มีการทำประชามติ และจัดตั้ง สสร. ให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริงในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ รัฐบาลจะคืนอำนาจให้ประชาชนได้เลือกตั้งใหม่ภายใต้กรอบกติกาของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยจะแถลงข่าวถึงการจัดตั้งพรรคร่วมรัฐบาลใหม่ในวันที่ 3 ส.ค. 2566 

วันเดียวกันนั้น แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม พร้อมกลุ่มทะลุวังได้จัดกิจกรรมคาร์ม็อบแห่ขันหมากขที่หน้าที่ทำการพรรคเพื่อไทย ส่วนกลุ่มทะลุวังได้นำหุ่นจำลองมาเผาที่หน้าพรรคเพื่อไทยและสาดน้ำสีแดงใส่บริเวณหน้าที่ทำการพรรคเพื่อไทย พร้อมทั้งตะโกนโจมตีพรรคเพื่อไทยว่า “เพื่อไทยทรศยศประชาชน” 

ชลน่าน ประเสริฐ ภูมิธรรม _9550.jpegพิธา ม็อบ G_9568.jpegม็อบ เพื่อไทย .jpegม็อบ เพื่อไทย G_9558.jpeg
  • ในช่วงต้นเดือน ส.ค. 2566 ได้เกิดเหตุการณ์ 'เลื่อน' ทางการเมืองหลายวาระร้อน

3 ส.ค. 2566  

- ศาลรัฐธรรมนูญเลื่อนตีความข้อบังคับประชุมรัฐสภา ข้อที่ 41 กรณีรัฐสภาจะลงมติเห็นชอบ 'พิธา' เป็นนายกฯ ซ้ำได้หรือไม่ โดยนัดพิจารณา 16 ส.ค.2566 ท่ามกลางการจับตาว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งให้ชะลอการลงมตินายกรัฐมนตรีไว้ก่อนหรือไม่

- ประธานรัฐสภา เลื่อนประชุมลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 4 ส.ค. 2566 ออกไปก่อน เพื่อรอความชัดเจนจากศาลรัฐธรรมนุญในวันที่ 16 ส.ค.นี้ก่อน  

- พรรคเพื่อไทยเลื่อนแถลงจัดตั้งพรรคร่วมรัฐบาล ที่รัฐสภาออกไปก่อน เนื่องจากวันลงมติเห็นชอบนายกรัฐมนตรีได้ถูกเลื่อนออกไป

- ในวันเดียวกันยังมีมีกระแสข่าวลือสะพัด ดร.ทักษิณ ชินวัตร อาจเลื่อนกำหนดการเดินทางกลับไทยออกไปก่อน จากเดิมที่วางไว้ในวันที่ 10 ส.ค. 2566 จะเดินทางด้วยเครื่องบินส่วนตัวมาลงที่สนามบินดอนเมือง

-ที่โรงแรมเดอะเดวิส บางกอก ซอยสุขุมวิท 24 ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ อดีตหัวหน้าพรรครักประเทศไทยแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนนำหลักฐานการซื้อขายที่ดินของบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ที่เคยมี เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย เคยเป็นอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยกล่าวหา เศรษฐว่า บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) มีการซื้อขายที่ดินย่านถนนสารสิน ราคากว่า 1,570 ล้านบาท เมื่อปี 2562 ซึ่งเป็นที่ดินตารางวาละ 1 ล้านบาท มีการหลบเลี่ยงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทำให้รัฐขาดรายได้ไปกว่า 521 ล้านบาท ถือเป็นการทำนิติกรรมอำพราง 

วันนอร์ วันมูหะมัดนอร์ ประธานรัฐสภา 40823_0002_0.jpgชลน่าน ประชุมรัฐสภา _9716.jpegประชุมรรัฐสภา ก้าวไกล MG_9712.jpeg

4 ส.ค. 66 'วันมูหะมัดนอร์ มะทา' ประธานรัฐสภา นัดสมาชิกรัฐสภาร่วมพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเลิก มาตรา 272 ตัดอำนาจ สว.ลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ที่พรรคก้าวไกลเป็นผู้เสนอ ขณะเดียวกัน สส.พรรคก้าวไกลได้เสนอเสนอญัตติทบทวนมติรัฐสภา ที่เคยมีมติเสียงข้างมากห้ามเสนอชื่อนายกฯ ซ้ำ โดยประธานรัฐสภาได้ใช้อำนาจประธานสั่งปิดการประชุมและเลื่อนการประชุมรัฐสภาในครั้งนี้ออกไปก่อน ทำให้การพิจารณาระะเบียบวาระร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญปิดสวิตซ์ สว.ยังคาอยู่ในวาระและถูกเลื่อนออกไป

5 ส.ค. 2566 ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ทวีตข้อความว่า ขอเลื่อนวันเดินทางกลับไทยจากวันที่ 10 ไปอีกไม่เกิน 2 สัปดาห์ โดยให้เหตุผลว่าหมอเรียกให้ไปตรวจร่างกาย โดยวันเวลากลับไทยจะแจ้งอีกครั้ง

รัฐสภา เลื่อนโหวต นายก ก้าวไกล พิธา เพื่อไทย IMG_9761.jpeg

ข่าวที่เกี่ยวข้อง