ไม่พบผลการค้นหา
สนช.โชว์ผลงานทำคลอดกฎหมายรอบ 1 ปี 334 ฉบับ บังคับใช้ 259 ฉบับ จ่อดันกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง 2 ฉบับเข้าสนช. สัปดาห์ที่ 3 ของ ม.ค.61

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)คนที่ 1 ระบุถึงการพิจารณากฎหมายของ สนช.ในรอบปี 2560 ว่า สนช.มีกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาทั้งสิ้น 334 ฉบับ ผ่านวาระ 3 ไปแล้ว 271 ฉบับ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 263 ฉบับ มีผลบังคับใช้แล้ว 259 ฉบับ

ส่วนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้ผ่านการพิจารณาของ สนช.ไป 8 ฉบับ จากทั้งหมด 10 ฉบับ ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว 4 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กกต. พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ส่วน 3 ฉบับที่ผ่านวาระ 3 และอยู่ในระหว่างการทูลเกล้าฯ คือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน / และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

ขณะที่กฎหมายที่เหลือจะสามารถเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ในวาระที่ 2-3 ในสัปดาห์ที่ 3ของเดือนมกราคม 2561 คือ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. 

ส่วนร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพิ่งผ่านความเห็นชอบจาก สนช.ในวาระ 3 ไปแล้วนั้น ก็อยู่ในขั้นตอนของการตั้งกรรมาธิการร่วมหรือไม่ หากไม่มีการตั้งกรรมาธิการร่วมก็นำสามารถขึ้นทูลเกล้าฯได้ 

นายสุรชัย ระบุว่า ที่ผ่านมา สนช.ได้มีการรับเรื่องร้องเรียนในปี 2560 รวมทั้งสิ้น 349 เรื่อง และได้มีการแจ้งกลับไปยังหน่วยงาน 218 เรื่อง หรือคิดเป็น 60% และคงเหลือเรื่องที่ค้างอยู่ 131 เรื่องที่อยู่ในระหว่างการเตรวจสอบ ส่วนปัญหาที่ประชาชนร้องเรียนมานั้น มากที่สุดคือเรื่องการเมือง การใช้อำนาจของภาครัฐ การทุจริต ทั้งท้องถิ่นและส่วนกลาง และการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากหน่วยงานยุติธรรม ซึ่ง สนช.จะทำการตรวจสอบหากพบว่า หน่วยงานมีความผิดจริงก็จะส่งเรื่องให้องค์กรอิสระดำเนินการต่อไป

สำหรับความคืบหน้าการจัดทำกฎหมายเพื่อรองรับการปฏิรูปประเทศและยุทธสาสตร์ชาติ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ให้ดำเนินการใน 1 ปี ซึ่งจะครบกำหนดในเดือนเมษายน 2561 ขณะนี้มีกฎหมายหลายฉบับที่อยู่ในชั้นของวิป สนช.ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศ โดยมองว่า จะเป็นกลไกขับคลื่อนแผนปฏิรุปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ ขณะเดียวกันยังมองว่า แผนยุทธสาสตร์ชาติควรนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาเพื่อให้รับรอง เพราะเป็นเครื่องมือสำคัญในการรองรับการทำงานของฝ่ายปฏิบัติในอนาคต