ดร.นิโคลัส ริฟรอน จากสถาบันเมอร์ลิน มหาวิทยาลัยมาสทริกซ์ในเนเธอร์แลนด์ และคณะ ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนสังเคราะห์ที่ได้จากสเต็มเซลล์ของหนูในห้องทดลอง โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาและทำความเข้าใจปัญหาเรื่องความล้มเหลวในการตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรก
คณะทำงานได้ใช้สเต็มเซลล์จากหนูมาผสมกันแทนไข่และสเปิร์มเพื่อเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในระยะเริ่มแรก และหลังจากนั้นตัวอ่อนสังเคราะห์จะถูกย้ายไปไว้ในมดลูกของหนูตัวเมียเพื่อศึกษาพัฒนาการต่อไป
ทีมนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ความล้มเหลวในการตั้งครรภ์ระยะเริ่มแรกมักเกิดขึ้นจากผู้ตั้งครรภ์ไม่รู้ตัวว่าตนเองตั้งครรภ์ ขณะที่ตัวอ่อนจากไข่ที่ได้รับการผสมแล้วนั้นก็ไม่ฝังตัวกับมดลูก อย่างไรก็ตาม การศึกษาพัฒนาการของตัวอ่อนในระยะเริ่มแรกนั้นยังคงมีข้อถกเถียงกันในเรื่องจริยธรรมและเทคนิคที่ใช้ว่าเหมาะสมหรือไม่
ดร.ริฟรอนกล่าวว่า "พวกเราสามารถสร้างตัวอ่อนสังเคราะห์เป็นจำนวนมากได้และนำตัวอ่อนเหล่านั้นมาศึกษาในรายละเอียดต่างๆ ที่จะช่วยทำความเข้าใจว่า ทำไมตัวอ่อนบางตัวถึงประสบความล้มเหลวในการฝังตัว และยังช่วยคัดกรองการใช้ยาเพื่อให้ตัวอ่อนมีความสมบูรณ์มากขึ้น"
เขากล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำหารโคลนนิ่งสัตว์หรือมนุษย์ และไม่มีโครงการที่จะนำผลทดสอบดังกล่าวไปใช้กับสเต็มเซลล์ของมนุษย์
ที่มา BBC
ข่าวที่เกี่ยวข้อง