ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนรี(ครม.) วันที่ 14 ก.พ. 66 ได้อนุมัติการดำเนินโครงการจัดเตรียมความพร้อมในการให้บริการเดินอากาศ ณ สนามบินอู่ตะเภา ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด วงเงินลงทุน 1,256 ล้านบาท พร้อมกับอนุมัติการจัดหาแหล่งเงินลงทุนสำหรับโครงการจากเงินกู้ระยะยาววงเงิน 1,256 ล้านบาท โดยมีกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันวงเงินกู้ และให้กระทรวงคมนาคมรับข้อคิดเห็นของหน่วยงานเกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
สำหรับการดำเนินโครงการฯ จะเป็นการเตรียมความพร้อมในการให้บริการเดินอากาศ ณ สนามบินอู่ตะเภา ให้สามารถเปิดให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานภายในปี 2568 และให้สอดคล้องตามกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งเป็นโครงการรองรับการเติบโตของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และเป็นสนามบินหลักหลักแห่งที่ 3 ของ กรุงเทพฯ โดยกระทรวงคมนาคมได้คาดการณ์ปริมาณการจราจรทางอากาศอยู่ที่ 241,100 เที่ยวบิน ในปี 2591 โดย บวท. จะให้บริการ 4 ด้าน ประกอบด้วย การบริการจัดการจราจรทางอากาศ, บริการระบบสื่อสาร ระบบช่วยการเดินอากาศและระบบติดตามอากาศยาน, บริการข่าวสารการบิน และ บริการออกแบบวิธีปฏิบัติการบินด้วยเครื่องวัดประกอบการบิน
ไตรศุลี กล่าวว่า ขอบเขตการดำเนินโครงการจะประกอบไปด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านก่อสร้าง ประกอบด้วยหอควบคุมการจราจรทางอากาศและพ้นที่สนับสนุน ความสูงประมาณ 59 เมตร, อาคารสำหรับติดตั้งระบบ/อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการเดินอาหาร ประกอบด้วยอาคาร 3 กลุ่ม ได้แก่ อาคารระบบวิทยุสื่อสาร (Communication) อาคารระบบช่วยการเดินอากาศ(Navigation) และอาคาระบบติดตามอากาศยาน(Surveillance)
2)ด้านการจัดหาและติดตั้งระบบและอุปกรณ์ ประกอบด้วย ระบบบการสื่อสาร (Communication System) ระบบติดตามอากาศยาน(Surveillance System) ระบบจัดการจราจรทางอากาศ(Air Traffic Management System :ATMS) และระบบสนับสนุนอื่นๆ 3) ด้านบุคลากร ประกอบด้วยการสรรหาบุคลากรและพัฒนาบุคลากร ประกอบด้วยพนักงานประจำ 79 อัตรา เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศบริเวณสนามบิน, เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศเขตประชิดสนามบินกรุงเทพ และวิศวกร พนักงานชั่วคราว(Outsource) 30 อัตรา ซึ่งจะปฏิบัติงานในส่วนสนับสนุน เช่น ไฟฟ้า โยธา แม่บ้าน รักษาความปลอดภัย 4)การเตรียมความพร้อมเปิดให้บริการ เช่น การกำหนดขั้นตอนและแนวทางวิธีปฏิบัติ, การอบรมใช้อุกรณ์ และอบรวมทำความคุ้นเคยแนวทางวิธีปฏิบัติ และการดำเนินการด้านระบบการจัดการด้านนิรภัย
ทั้งนี้ บวท. ได้ประเมินผลตอบแทนทางการเงินของโครงการ จะมีอัตราผลตอบแทนทางการเงินอยู่ที่ร้อยละ 4.26 ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจร้อยละ 56.96 นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์จากโครงการ ได้แก่ การสร้างโอกาสในการจ้างงาน การท่องเที่ยว และเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การเพิ่มความปลอดภัยทางการบินในพื้นที่ เพิ่มความสามารถในการรองรับเที่ยวบินในบริเวณกรุงเทพฯ และลดการกระจุกตัวของเที่ยวบินและลดความล่าช้าให้กับเที่ยวบิน
ที่ประชุมครม. ยังมีมติอนุมัติให้สมาพันธรัฐสวิสเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สมาพันธรัฐสวิส ณ จังหวัดชลบุรี และแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สมาพันธรัฐสวิส ณ จังหวัดชลบุรี ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระงานด้านการให้บริการกงสุลของสถานเอกอัครราชทูตสหพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทยและอำนวยความสะดวกในการให้บริการด้านกงสุลแก่ชาวสวิสและครอบครัวที่พำนักใน จ. ชลบุรีและบริเวรณใกล้เคียง รวมทั้งจะเป็นกลไกพัฒนาความสัมพันธ์ระดับประชาชนและความร่วมมือระหว่างไทยและสวิสในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและนวัตกรรม ซึ่งสวิสมีความเชี่ยวชาญและมีศักยภาพที่อาจช่วยพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยงานท้องถิ่นได้
การพิจารณาเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์และการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์สมาพันธรัฐสวิส ณ จังหวัดชลบุรี เป็นไปตามหลักต่างตอบแทน โดยที่ประเทศไทยมีสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น เป็นสำนักงานทางการทูตในสมาพันธรัฐสวิสและมีการเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ในสวิส 3 แห่ง ณ เมืองบาเซิล นครซูริก และนครเจนีวา ดังนั้นสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สมาพันธรัฐสวิส ณ จังหวัดชลบุรี จะเป็นแห่งที่ 3 ในประเทศไทศไทย โดยมีสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สมาพันธรัฐสวิส ณ จังหวัดเชียงใหม่ และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สมาพันธรัฐสวิส ณ จังหวัดภูเก็ต เป็นแห่งที่ 1 และ 2 ตามลำดับ
“สถานกงสุลกิตติมศักดิ์สมาพันธรัฐสวิส ณ จังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่เลขที่ 489/9 หมู่ 12 ถนนหาดจอมเทียน ซอย 5 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีเขตกงสุลครอบคลุม 4 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด และสำหรับกงสุลกิตติมศักดิ์สมาพันธรัฐสวิส ณ จังหวัดชลบุรี ได้แต่งตั้งนางเอ็สเทอร์ เคาฟ์มันน์ (Mrs. Esther Kaufmann) ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์สมาพันธรัฐสวิส” ทิพานัน กล่าว