ไม่พบผลการค้นหา
ครม. มีมติรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนกันยายน และ 9 เดือนของปี 2566

รัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. (21 พฤศจิกายน 2566) มีมติรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทยประจำเดือนกันยายนและ 9 เดือนของปี 2566 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอ 

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ได้จัดทำรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทยเป็นประจำทุกเดือน เพื่อรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทยเป็นการรายงานภาวะการค้าของประเทศไทยที่สำคัญ เป็นข้อมูลประกอบในการติดตามภาวะเศรษฐกิจ และกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

  • สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนกันยายน 2566

การส่งออกของไทยในเดือนกันยายน 2566 มีมูลค่า 25,476.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (888,666 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 2.1 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 1.0 การส่งออกของไทยขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง โดยได้รับแรงหนุนจากการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้ไปจีน อาทิ ทุเรียน และมังคุด รวมทั้งการส่งออกข้าวที่ขยายตัวได้ดีในตลาดแอฟริกาใต้และอินโดนีเซีย สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมดาวรุ่งที่ขยายตัวต่อเนื่องยังคงเป็นสินค้าที่เติบโตตามเมกะเทรนด์

เช่น โซลาเซลล์ และโทรศัพท์มือถือ อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตโลกเดือนนี้ยังอยู่ในภาวะหดตัว การฟื้นตัวของตลาดหลักทรัพย์ยังเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง จากปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และการคงอัตราดอกเบี้ยสูงยาวนาน ชะลออุปสงค์ทั่วโลก ทั้งนี้ การส่งออกไทย 9 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 3.8 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยะ 1.2

  • มูลค่าการค้ารวม

มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนกันยายน 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 48,859.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 25,476.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 23,383.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 8.3 ดุลการค้า เกินดุล 2,092.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 9 เดือนของปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 431,971.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.9 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมุลค่า 213,069.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้ามีมูลค่า 218,902.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.0 ดุลการค้า ขาดดุล 5,832.7 ล้านเหรียญสหรัฐ 

มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนกันยายน 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 1,713,976 ล้านบาท หดตัวร้อละ 5.3 เทียบกับเดือนเดืยวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 888,666 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.1 เทียบกับเดือนกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 825,310 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 10.2 ดุลการค้า เกินดุล 63,355 ล้านบาท ภาพรวม 9 เดือนแรกของปี 2566 มีมูค่าการค้ารวม 14,826,543 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 4.7 เทียบกับช่วงกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 7,268,400 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 3.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 7,558,144 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 5.9 ดุลการค้า ขาดดุล 289,744 ล้านบาท

  • การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 12.0 โดยสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 17.7 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 5.4 ทั้งนี้ สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 166.2 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ เวียดนาม และฮ่องกง) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 51.4 (ขยายตัวในตลาดแอฟริกาใต้ อินโดยนีเซีย สหรัฐฯ มาเลเซีย และเบนิน) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 3.7 ผขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และเกาหลีใต้) น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 16.3 (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม ไต้หวัน และสิงคโปร์)

ไขมันจากน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 12.8 (ขยายตัวในตลาดอินเดีย เกาหลีใต้ เวียดนาม เนเธอร์แลนด์ และฟิลิปปินส์) สิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัวร้อยละ 27.1 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร) ผักกระป๋องและผักแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 17.3 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย) นมและผลิตภัณฑ์นม ขยายตัวร้อยละ 3.1 (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ ฮ่องกง เวียดนาม เมียนมา อียิปต์) ผักสด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 7.9 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ไต้หวัน สหรัฐฯ กัมพูชา และเมียนมา)

ไข่ไก่สด ขยายตัวร้อยละ 52.7 (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ ไต้หวัน มัลดีฟส์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 12.0 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ยางพารา หดตัวร้อยละ 30.3 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และเกาหลีใต้)

ไก่แปรรูป หดตัวร้อยละ 11.2 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ และไอร์แลนด์) อาหารสัตว์เลี้ยง หดตัวร้อยละ 7.9 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และเยอรมัน) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 3.9 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และกัมพูชา) ทั้งนี้ 9 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรร้อยละ 2.0

  • การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 0.3 แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 3.3 (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และซาอุดีอาระเบีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 27.3 (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง อิตาลี สหราชอาณาจักร เบลเยียม และญี่ปุ่น) เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยบละ 23.9 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และเม็กซิโก)

หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 46.4 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ ไต้หวัน อิตาลี และญี่ปุ่น) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวร้อยละ 28.8 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ และเม็กซิโก) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุกรณ์และส่วนประกอบ หดหตัวร้อยละ 24.3 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น) ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัวร้อยละ 5.5 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ออสเตรเลีย เวียดนาม และเนเธอร์แลนด์)

เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 27.7 (หดตัวในตลาดออสเตรเลีย สหรัฐฯ เวียดนาม ญี่ปุ่น และสหรัฐอาหรับเอมิเรส์) รถจักรยานยนต์ และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 34.6 (หดตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และเบลเยียม) ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม หดตัวร้อยละ 15.8 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ อินเดีย เวียดนาม และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ทั้งนี้ 9 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 3.7

  • ตลาดส่งออกสำคัญ

การส่งออกไปยังตลาดสำคัญขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะตลาดจีนที่ขยายตัวต่อเนื่องและการกลับมาขยายตัวในรอบหลายเดือนของตลาดอาเซียน (5) และเอเชียใต้ อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังหลายตลาดยังมีความไม่แน่นอน จากปัจจัยกดดันของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 4.2 โดยกลับมาหดตัวในตลาดสหรัฐฯ และญี่ปุ่นกลับมาหดตัวร้อยละ 10.0 และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ

และหดตัวต่อเนื่องในตลาด CLMV และสหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 18.1 และร้อยละ 9.3 ตามลำดับ ในขณะที่ขยายตัวในตลาดจีนและอาเซียน (5) ร้อยละ 14.4 และร้อยละ 4.1 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 10.5 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 7.8 แอฟริกา ร้อยละ 23.0 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 4.6 และรัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 33.9 ขระที่ทวีปออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และสหราชอาณาจักร หดตัวร้อยละ 11.8 ร้อยละ 5.9 และร้อยละ 15.0 ตามลำดับ (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 423.6 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 749.8

  • มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป

การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ

(1) การจับมือร่วมมือร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ในการผลักดันและแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า

(2) การนำคณะผู้แทนการค้าไทยไปยังซาอุดีอาระเบีย และอียิปต์ พร้อมด้วยผู้ประกอบการไทยกว่า 26 บริษัท เข้าร่วมงาน Saudi-Thai Business Matching 2023 ณ ซาอุดีอาระเบีย และงาน Thai-Egyptian B2B Matching Event 2023 ณ อียิปต์ เพื่อเจรจาการค้าและขยายตลาดส่งออกสินค้าในกลุ่มอาหารฮาลาล ผลไม้ สินค้าใช้ในบ้าน และชิ้นส่วนยานยนต์

(3) ยกระดับความร่วมมือกับผู้ประกอบการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศลงนาม MOU ร่วมกับบริษัท ลาซาด้า จำกัด ในการร่วมมือส่งเสริมการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนเพื่อเปิดโอกาสให้สินค้าของผู้ประกอบการไทยทุกระดับได้มีโอกาสขยายตลาดสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านร้าน TOPTHAI Storeบนแพลตฟอร์มลาซาด้า

(4) นำคณะผู้ส่งออกร่วมงานแสดงสินค้าจีน-อาเซียน ครั้งที่ 20 ณ นครหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีผู้ส่งออกเข้าร่วม 76 ราย 4 กลุ่มสินค้า คาดว่าจะสร้างยอดขายไม่ต่ำกว่า 150 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีการสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจสมัยใหม่ อาทิ เทคโลโลยีขั้นสูง ความมั่นคงด้านห่วงโซ่อุปทานการค้าดิจิทัล การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามแดน

แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า การส่งออกในไตรมาส 4 ของปี 2566 จะมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการทยอยฟื้นตัวของประเทศคู่ค้า ที่ต่างออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และอุปสรรคด้านห่วงโซ่อุปทานคลี่คลายลงจากปีก่อนหน้าที่ต้องเผชิญกับโควิด-19 ขณะที่กระแสความมั่นคงทางอาหาร และแรงส่งจากภาคบริการและท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปลายปีจะช่วยหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่ไทยมีศักยภาพ

สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมยังสามารถเติบโตได้ตามแทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัล และพลังงานสะอาด โดยกระทรวงพาณิชย์ทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าและเดินหน้าเจรจาความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งติดตามเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ ๆ จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-กลุ่มฮามาส ซึ่งอาจขยายวงกว้างจนส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการค้าของโลกในระยะถัดไป

ครม. มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่... (พ.ศ....) ออกตมความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย)

ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. (21 พฤศจิกายน 2566) มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่... (พ.ศ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้เงินได้ของบุคคลธรรมดาที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนใน “กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG Fund หรือ TESG)”

ในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับปีภาษีนั้น เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2575 และกำหนดให้ผู้มีเงินได้ไม่ต้องนำเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ

ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ TESG มารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะกรณีที่เงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าวคำนวณมาจากเงินได้พึงประเมิณที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่กล่าวมา ทั้งนี้ ต้องถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

1. ผู้มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ – บุคคลธรรมดาที่มีรายได้

2. เงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์ 

จากการซื้อหน่วยลงทุน TESG (1) นำเงินได้มาซื้อหน่วยลงทุนใน TESG (2) เป็นเงินได้ที่ได้มาตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2575 (3) ต้องถือหน่วยลงทุนใน TESG ไม่น้อยกว่า 8 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน (แต่ไม่รวมกรณีทุพพลภาพหรือตาย) จากการขายหน่วยลงทุน TESG (1) ขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ TESG (2) ถือหน่วยลงทุนใน TESG มาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน (แต่ไม่รวมกรณีทุพพลภาพหรือตาย)

3. สิทธิประโยชน์

จากการซื้อหน่วยลงทุน TESG ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนใน TESG มารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับปีภาษีนั้นๆ

จากการขายหน่วยลงทุน TESG ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ TESG มารวมคำนวณภาษีเงินได้ (เฉพาะกรณีที่คำนวณเงินหรือผลประโยชน์จากเงินที่ได้หักลดหย่อนกรณีซื้อหน่วยลงทุนใน TESG)

โดยการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ผู้ลงทุนในกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESF Fund หรือ TESG) คาดว่าจะก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐ โดยสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีแรกประมาณ 3,000 ล้านบาท และในปีถัดๆไปปีละประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยมีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

เพิ่มการลงทุนระยะยาวในตลาดทุนไทย อันจะทำให้เสถียรภาพของตลาดทุนไทยเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการลงทุนในกิจการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลเพิ่มขึ้น อันจะมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ รวมทั้งเป้าหมายความเป้นกลางทางคาร์บอน และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ 

เพื่อให้การดำเนินการตามร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป้นไปอย่างมีประสิทธิภาพเห็นควรที่ กค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว รวมถึงสถานารณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก

รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าว ตามนัยแห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ต่อไป

ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน

คารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ

คารม กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 5 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น จะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การจัดทำกฎหมายลำดับรองในเรื่องนี้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชนที่จะต้องมีการศึกษาและสำรวจข้อมูลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดภาระหรือส่งผลกระทบต่อผู้รับใบอนุญาตและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาเอกชน

รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการออกกฎหมายลำดับรอง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการพอสมควร ทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป

นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ของมาตรา 9 (2) แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ

กระทรวงมหาดไทยเสนอขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 1 ฉบับ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 (2) แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ ดังนั้น จะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566

แต่โดยที่การดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองฉบับดังกล่าวต้องใช้เวลาในการรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลจากผู้มีสิทธิและหน้าที่ หรือได้รับผลกระทบจากการใช้บังคับกฎหมายดังกล่าวอย่างรอบด้าน รวมทั้งต้องหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดช่วงเวลาอื่น (นอกจากเวลา 08.00 น. ถึง 20.00 น. ในวันจันทร์ถึงศุกร์ และเวลา 08.00 น. ถึง 18.00 น. ในวันหยุดราชการหรือช่วงเวลาดังกล่าวไม่เหมาะสม

เช่น ลูกหนี้มีอาชีพทำงานในเวลากลางคืนและนอนหลับในเวลากลางวัน โดยปิดโทรศัพท์หรือปิดเสียงโทรศัพท์ทำให้ไม่สามารถติดต่อได้) ที่ผู้ทวงถามหนี้สามารถติดต่อลูกหนี้ได้ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของสภาพการณ์ในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติสถานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 รวม 3 ฉบับ ออกไป 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ดังนั้น จะต้องดำเนินการออกกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ

ซึ่งจะต้องดำเนินการออกกฎหมายลำดับรองดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 มกราคม 2564 และ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โดยที่การออกกฎหมายลำดับรองรวม 3 ฉบับดังกล่าว ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ โดยในส่วนพระราชกฤษฎีกาฯ อยู่ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดทำเรื่องเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี

ส่วนร่างระเบียบฯ อีก 2 ฉบับอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งยังมีประเด็นเกี่ยวกับกระบวนการเกี่ยวกับกระบวนการกำหนดโจทย์วิจัย การให้ทุนวิจัยและพัฒนา การจัดสรร และการประเมินผลงานทางวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และการประเมิน จึงมีความจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาการออกกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 25