ไม่พบผลการค้นหา
นักสิ่งแวดล้อมชี้กฎหมายยุค คสช. ไร้การมีส่วนร่วม เอื้อทุนผูกขาดผลประโยชน์

ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเสวนาวิชาการ เรื่อง ก้าวสู่ปีที่ห้า "สภาแต่งตั้งประชาชนได้อะไร" เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ตัวแทนมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวถึงช่องโหว่การออกกฎหมายกรณีสิ่งแวดล้อม ยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ว่าการมีส่วนร่วมในปัจจุบันได้ขาดหายไป โดยยกตัวอย่างเช่น ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ออกมาบอกว่าไม่มีรายงานโรงงานปล่อยฝุ่น ขณะที่ของขวัญของคสช. คือ การไม่ต้องต่ออายุใบ รง.4 ทุก 5 ปี ซึ่งภาคประชาชนได้ยื่นหนังสือถึง สนช. แต่ได้รับคำชี้แจงว่าคำสั่งนี้ได้รับมาจากรัฐบาล


เสวนาสภาแต่งตั้ง


ขณะที่การออกกฎหมายยิ่งสะท้อนว่าเป็นการเอื้อกลุ่มทุน โดยลดการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม แม้ว่าจะมีการทักท้วงจากนักวิชาการหรือภาคประชาชน ซึ่งสิ่งน่าเป็นห่วงคือถ้ามีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ อาจส่งผลกระทบที่แผ่ขยายความเสี่ยงในพื้นที่ได้

นอกจากนี้การออกกฎหมาย โดยมีช่องว่างในการอำนวยการประกอบธุรกิจ ให้กลุ่มทุนมีสิทธิ์ประโยชน์ รวมถึงการยกเว้นภาษีรายได้ 

ขณะที่ พ.ร.บ.โรงงาน พบว่าคณะกรรมการที่ถูกแต่งตั้งขึ้น 8 คน ล้วนเป็นนักธุรกิจรายใหญ่ โดยมีบทบาทในการผูกขาดในการออกกฎหมาย สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การเอื้อให้ตั้งโรงงานโดยมีนิยามไม่ต้องรับฟังความเห็นคนในพื้นที่