ไม่พบผลการค้นหา
กฟน.เดินหน้าปักเสาไฟป้องกันชายฝั่งทะเล
ยุทธศาสตร์คมนาคม 10 ปี วงเงินอาจสูงกว่า 2 ลล.
Google Indoor Street view หนุนนักท่องเที่ยวช้อปเพิ่ม
Wake Up News - ครบ 1 ปี 'อุรุกวัย’ ขายกัญชาในร้านขายยา - Short Clip
สวนลุมไนท์บาร์ซาร์ รัชดาฯ เปิด 23 ธ.ค.นี้
รบ.ตั้ง 'ศูนย์รักษาความสงบ' ออกเสียงประชามติ
2 ล้านล้านตกไป : ประเทศไทยถูกตัดโอกาสเศรษฐกิจ
'เขื่อนลำแชะ' ปล่อยน้ำช่วยประปาโคราช 3 เดือน​
ร่างพรบ.ยาสูบ..หยุดคนไทยสูบยา ?
เวียดนาม ประเทศกำลังพัฒนาระบบจัดการน้ำ
GLAND สร้าง The Super Tower สูงที่สุดในอาเซียน
Day Break - นั่งฟรี 4 เดือน รถไฟฟ้าแบริ่ง-สมุทรปราการ - Short Clip
'สุรางค์' คว้าทองแรกให้ไทยในเอเชียนพาราเกมส์
แอร์เอเชียเล็งเปิดสายการบินในเมียนมาร์-เวียดนาม
แสนสิริ เปิดตัวเดอะไลน์ สุขุมวิท 71
ตร.เคลียร์พื้นที่สุขุมวิท 71 แล้ว
คูปองทีวีดิจิตอล กระตุ้นตลาดSet Top Box
ศิริราชรำลึก 1 เดือน 'ในหลวงร.9' เสด็จสวรรคต
พัฒนาข้าวทนน้ำท่วม
ดีเดย์เปิดเซ็นทรัล เวสต์เกต 28 ส.ค.นี้
ภัยแล้งกระทบ 'สวนฝรั่งปทุมฯ' หวั่นยืนต้นตาย
Mar 1, 2016 10:53

สวนฝรั่งแห่งหนึ่งใน จ.ปทุมธานี เกือบยืนต้นตาย เนื่องจากขาดน้ำมากว่า 2 เดือนแล้ว เนื่องจากแหล่งน้ำสายหลักแห้งขอด จึงขอความช่วยเหลือไปยังกรมชลประทานขุดลอกคลอง เพื่อเปิดทางน้ำไหลเข้ามาในพื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มขึ้น

ผืนดินแตกระแหง เพราะขาดน้ำหล่อเลี้ยง ทำให้ต้นฝรั่งพันธ์แป้นยอดแดงกว่า 400 ต้น บนเนื้อที่ 10 ไร่ ในตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ไม่สามารถออกผลผลิตได้เหมือนเดิม รายได้กว่าหมื่นบาทต่อเดือนจึงหายไป นี่เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 เดือน นับตั้งแต่ต้นปีนี้(2559) ที่สวนฝรั่งของนางปรานอม ศักดิ์จำปา ได้สัมผัสน้ำอีกครั้ง หลังแจ้งความเดือนร้อนผ่านสื่อมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก ผันน้ำส่วนหนึ่งเข้ามาในคลองแม่น้ำใน

เกษตรกรจึงต้องช่วยกันขุดร่องน้ำ เพื่อเปิดทางให้น้ำไหลไปยังพื้นที่เกษตรกรรมของตนเอง แต่ด้วยสภาพพื้นที่ และความไม่แน่นอนของแผนบริหารจัดการน้ำ ทำให้นางปรานอม และเกษตรกรคนอื่นๆ มองว่า นี่เป็นการช่วยเหลือที่ไม่ยั่งยืน  คลองแม่น้ำใน' กว้างประมาณ 30 เมตร ยาว 5 กิโลเมตร อยู่ระหว่างคลอง 13 และ 14 ติดพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ปทุมธานี , สระบุรี และนครนายก 

นับเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี ที่มีปริมาณน้ำลดลงมาก จนสามารถเดินข้ามไปอีกฝั่งได้ เนื่องจากปีที่แล้ว(2558) ฝนตกต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ทำให้ปริมาณน้ำสะสมในเขื่อนหลักน้อยถึงขั้นวิกฤต ดังนั้น การส่งน้ำมายังคลองสาขาต่างๆ จึงไม่ทั่วถึง 

ส่วนนี่คือภาพถ่ายจาก Google Street View เมื่อปี 2555 บริเวณสะพานข้ามคลองแม่น้ำใน ช่วงที่มีน้ำเกือบเต็มคลอง จะเห็นความแตกต่างกับปัจจุบันได้อย่างชัดเจน เกษตรกรในพื้นที่บางราย เสนอให้รัฐขุดลอกคลองให้ลึกขึ้น องค์การบริการส่วนตำบลศาลาครุ แจ้งความเดือนร้อนนี้ไปยังกรมชลประทานแล้ว เพื่อขอให้ดำเนินการขุดลอกคลอง เนื่องจากต้องใช้งบประมาณสูงมาก 

แม้เกษตรกรจะให้ความร่วมมืองดทำนาในปีการผลิตนี้แล้ว เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำใน แต่พืชสวนที่ปลูกมานาน ยังคงต้องการน้ำหล่อเลี้ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการยืนต้นตาย จึงถือเป็นภาวะวิกฤตภัยแล้งอีกพื้นที่หนึ่ง ที่ยังคงต้องการความช่วยเหลือ

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog