ไม่พบผลการค้นหา
กต.ปฏิเสธไทยติดอันดับประเทศอันตรายสุดในโลก
Biz Feed - เวียดนามร่วมมือ 'คอร์แนล' ตั้งมหาวิทยาลัยในฮานอย - Short Clip
Biz Feed - จีนประกาศปฏิรูปภาคการผลิตในการประชุมเศรษฐกิจโลก - FULL EP.
อาเซียนไม่พร้อมเปิดพรมแดนท่องเที่ยว
CLIP Biz Feed : ไทยเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซใหญ่อันดับ2ในอาเซียน
Biz Feed - ไทยถูกโหวตประเทศน่าสร้างธุรกิจใหม่ที่สุดในโลก - Short Clip
 Biz Insight :  ชนชั้นกลางจีนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จน้อยลง
Biz Feed - ปี 2017 ชาวฟิลิปปินส์ส่งเงินกลับประเทศมากที่สุด - Short Clip
Biz Feed - นักท่องเที่ยวอินเดียหลั่งไหลเข้าไทย 1.4 ล้านคน - Short Clip
CLIP Biz Feed : นโยบายกีดกันการค้าทรัมป์กระทบไทยแค่ไหน?  
ไทยตามหลังมาเลเซีย-เวียดนามในดัชนีนวัตกรรมโลก
ไต้หวันตั้งเป้าขยายความร่วมมือในเอเชีย รวมถึงไทย
CLIP Biz Feed : 5 ธุรกิจสำหรับนักลงทุนยุคมิลเลนเนียล
Biz insight  : ธุรกิจส่งสินค้าในจีนโตต่อเนื่อง แต่มีปัญหาขยะล้น.
เทสลาบุกตลาดรถไฟฟ้าจีน
สินค้าไทยบุก UAE
CLIP Biz Feed : มูจิ ขยายสาขาในต่างแดนเกินหน้าสาขาญี่ปุ่น
Biz Insight : ท่องเที่ยวไทยจะช่วยเศรษฐกิจได้ถึงเมื่อไหร่? 
ทรัมป์เป็นภัยต่อศก.เกาหลีใต้กว่าคิมจองอึน
Biz Feed - ไทยรั้งท้าย-ถูกลดอันดับ 'ดัชนีนวัตกรรมโลก 2018' - Short Clip
ครบ 50 ปีอาเซียนยังมีอนาคตหรือไม่?
May 11, 2017 03:26

เวที World Economic Forum จัดงาน The World Economic Forum on ASEAN 2017 เพื่อร่วมพูดถึงอนาคตของอาเซียนในโอกาสครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งองค์กร โดยพบว่าอาเซียนมีศักยภาพสูงในการเติบโต แต่กลับยังไม่สามารถทำตัวเลขจีดีพีได้สูงตามเป้า 

ธีมหลักของเวที World Economic Forum ในปีนี้ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา คือ "เยาวชน เทคโนโลยี และการเติบโต" แน่นอนว่าประเด็นหลักในการพูดคุยก็คือการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน ในฐานะเครื่องมือหลักในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเจริญของภูมิภาค ที่ผ่านมา อาเซียนมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปีละประมาณ 5% อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ด้วยอัตราการเติบโตนี้ ทำให้ในปี 2016 ที่ผ่านมา อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก และในต้นปี 2017 ก็ขยับขึ้นเป็นอันดับ 8 ของโลก โดยภายในปี 2020 อาเซียนจะกลายเป็นภูมิภาคที่มีขนาดเศรษฐกิจอันดับ 5 ของโลกเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายที่ World Economic Forum ประเมินว่าอาเซียนควรจะทำได้ ไม่ใช่การโตปีละ 5% แต่เป็นปีละ 7% ความแตกต่างนี้อาจจะดูเล็กน้อย แต่ผลที่จะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจและประชากรอาเซียนมีมหาศาล เพราะหากเศรษฐกิจโต 5% อาเซียนจะเพิ่มระดับรายได้ประชาชาติเป็น 2 เท่าภายใน 15 ปี แต่หากโต 7% การเพิ่มรายได้ประชาชาติเป็น 2 เท่าจะใช้เวลาเพียง 10 ปีเท่านั้น

World Economic Forum แนะนำว่าการจะก้าวไปให้ถึงตัวเลข 7% อาเซียนต้องพัฒนาสิ่งสำคัญ 2 ประการ ได้แก่โครงสร้างพื้นฐานและการศึกษา ที่สำคัญที่สุดก็คือการผลักดันกรอบความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมเสียที หลังจากมีการเปิดประชาคมอาเซียนมาตั้งแต่ปี 2558 แต่กลับไม่มีความคืบหน้าใดๆในการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจการลงทุนระหว่างชาติสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะการทำให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียวแบบประชาคมยุโรป เมื่อยังไม่มีระบบตลาดเดียวที่สมบูรณ์ ผู้ประกอบการท้องถิ่นก็จะยังติดกับ ไม่สามารถต่อสู้กับคู่แข่งในตลาดโลกได้ 

อีกประเด็นสำคัญที่อาเซียนต้องรับมือคือการมีประชากรจำนวนมากกำลังเข้าสู่สภาวะผู้สูงวัย จริงอยู่ที่ปัจจุบัน ประชากรอาเซียนอยู่ในวัยทำงานและวัยรุ่นเป็นจำนวนมาก แต่ภายในปี 2025 ประชากรจะเริ่มมีอายุมากขึ้น เป็นความท้าทายของรัฐบาล ที่ต้องเตรียมงบประมาณสำหรับสวัสดิการสังคม และออกแบบการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานในยุคที่ประชากรในวัยทำงานจะเริ่มมีน้อยลง สอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำให้แรงงานมีความจำเป็นน้อยลงในอุตสาหกรรมชั้นสูงต่างๆ เนื่องจากการเข้ามาของหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์

World Economic Forum สรุปว่า ตอนนี้อาเซียนผ่านกาลเวลามา 50 ปีพอดีแล้วนับจากวันก่อตั้ง แต่การจะให้ประชาคมสามารถยืนหยัดและเจริญรุ่งเรืองไปได้ในอีก 50 ปีต่อไป จำต้องแก้ปัญหาความท้าทายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในยุคที่อาเซียนแรกก่อตั้ง ปัจจุบันอาเซียนเป็นตลาดออนไลน์ที่โตเร็วที่สุดในโลก มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตรายใหม่ 124,000 คนทุกวัน การศึกษาแบบใหม่ งานใหม่ ธุรกิจใหม่ในโลกยุคดิจิทัลเข้ามาพร้อมกับความท้าทายใหม่ๆ ทั้งการที่หุ่นยนต์จะเข้ามาแทนที่คนงาน การสอดแนมในโลกออนไลน์ และความเหลื่อมล้ำที่มาพร้อมกับเศรษฐกิจดิจิทัลอันล้ำสมัย จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลอาเซียนที่ต้องตอบโจทย์ความท้าทายเหล่านี้ และเปลี่ยนให้อุปสรรคจากความเปลี่ยนแปลงในโลกเทคโนโลยีกลายเป็นพลังที่ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ได้

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog