ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - ทั่วโลกต้องเร่งรับมือ 'ภาวะโลกร้อน' ก่อนจะสายเกินแก้ - Short Clip
World Trend - ​ฝรั่งเศสขึ้นภาษี กูเกิล-แอปเปิล-เฟซบุ๊ก-แอมะซอน - Short Clip
World Trend - อังกฤษใช้ภาษีจ่ายค่าเสกสมรส 'เจ้าหญิงผู้น้อย' - Short Clip
World Trend - คาด 30 ปีข้างหน้า อากาศโลกจะเปลี่ยนแปลงรุนแรง - Short Clip
World Trend - เบลเยียมแจ้ง 'รหัสแดง' คลื่นความร้อนสูงครั้งแรก - Short Clip
World Trend - เนเธอร์แลนด์ลงทุนเพิ่มให้คนใช้จักรยานมากขึ้น - Short Clip
World Trend - 'จำกัดการกินเบอร์เกอร์' ช่วยโลกได้! - Short Clip
World Trend - ปืน-ความยากจน ทำยอดฆ่าตัวตายในสหรัฐฯ พุ่ง - Short Clip
World Trend - 'เนื้อทางเลือก' หรือเนื้อสัตว์ในอนาคตจะมาจากแล็บ? - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ภาษีโซดาช่วยลดการบริโภค - Short Clip
World Trend - มนุษย์ยังคงพิเศษกว่า เพราะเอไอ 'ขำไม่เป็น' - Short Clip
World Trend - ผู้บริโภคเกาหลีแบนสินค้าญี่ปุ่น - Short Clip
World Trend - 'ทรัมป์' สั่งหน่วยงานรัฐเร่งวิจัยเอไอ - Short Clip
World Trend - ราคาอินเทอร์เน็ตอังกฤษแพงกว่าอินเดีย 25 เท่า - Short Clip
World Trend - อาดิดาสกับการเน้นครองใจวัยรุ่นจีน - Short Clip
World Trend - 'สิริ-อเล็กซา' ตอกย้ำอคติทางเพศต่อผู้หญิง - Short Clip
World Trend - แอปเปิลเปิดตัวไอโฟนใหม่รองรับ 2 ซิม - Short Clip
World Trend - 'เลสเบี้ยน' เสี่ยงน้ำหนักเกินกว่าคนรักเพศตรงข้าม - Short Clip
World Trend - 'ไอทีวี' จับมือ 'บีบีซี' ทำสตรีมมิง - Short Clip
World Trend - ​'กวางนาระ' ทำร้ายนักท่องเที่ยวเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
World Trend - อุณหภูมิออฟฟิศที่เหมาะสมสำหรับทุกคนอาจไม่มีจริง - Short Clip
Jun 7, 2019 08:49

ผลการวิจัยชี้ ออฟฟิศอุณหภูมิอุ่นจะทำให้ผู้หญิงทำงานได้ดีขึ้น แต่ผู้ชายต้องการออฟฟิศที่เย็นกว่า การปรับอุณหภูมิที่เหมาะสมจึงไม่มีทีท่าจะหาข้อสรุปได้ เพราะอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับทุกคนอาจไม่มีอยู่จริง

ผู้หญิงส่วนใหญ่มักสวมเสื้อหนาว ถุงเท้า หรือแม้แต่คลุมผ้าห่มเพื่อให้ร่างกายอบอุ่นในที่ทำงาน และหากออฟฟิศไหนที่ผู้ชายใส่สูทไปทำงาน ก็จะปรับอุณหภูมิให้ออฟฟิศเย็นยะเยือก ราวกับเป็นยุคน้ำแข็งสำหรับผู้หญิงที่อยู่ในออฟฟิศเดียวกัน การปรับอุณหภูมิออฟฟิศจึงกลายเป็นหนึ่งในประเด็น 'พิพาท' ประจำวันของพนักงาน

เว็บไซต์ BBC ชี้ว่า สงครามการปรับอุณหภูมิ ทำให้ออฟฟิศในอังกฤษต้องเสียเวลาไปเปล่า ๆ ประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทำงานทั้งหมด อีกทั้งยังทำให้เสียเงินมากกว่าที่จำเป็นกว่า 13,000 ล้านปอนด์ หรือราว 521,000 ล้านบาทต่อปีด้วย ขณะเดียวกัน อุณหภูมิยังส่งผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพการทำงาน จึงเป็นอีกเรื่องสำคัญที่หลายผู้บริหารและหลายองค์กรหันมาใส่ใจ

ลีกวนยู นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ เป็นหนึ่งในคนที่เชื่ออย่างจริงจังว่า อุณหภูมิที่เหมาะสมจะทำให้คนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดยเขาเคยตอบคำถามที่ว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้สิงคโปร์ประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจ ว่า ปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้เลยคือ 'เครื่องปรับอากาศ' เขาเชื่อว่าการติดเครื่องปรับอากาศในสำนักงานของภาครัฐและออฟฟิศจะช่วยให้คนอยากไปทำงานมากกว่าอยู่บ้าน

ล่าสุด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียตีพิมพ์ผลวิจัยล่าสุดลงนิตยาสารวิชาการ PLOS One ซึ่งระบุว่า ผู้หญิงจะทำงานได้ดีในอุณหภูมิที่สูงกว่าผู้ชาย หลังจากทดสอบประสิทธิภาพในการทำงานของนักเรียนผู้ชายและผู้หญิงรวม 543 คนในเยอรมนี

นักวิจัยให้ผู้ร่วมการวิจัยทั้งหมดทำภารกิจต่าง ๆ ตั้งแต่ทดสอบด้านคณิตศาสตร์ การพูด และสมรรถนะสมองด้านพุทธิปัญญา หรือ Cognitive Reflection Test ซึ่งเป็นการทดสอบสัญชาตญาณและความคิดที่ได้ไตร่ตรองแล้ว โดยแต่ละช่วงในการทำแบบทดสอบ อุณหภูมิห้องจะเปลี่ยนไปตั้งแต่ 16 องศเซลเซียสไปจนถึง 32 องศาเซลเซียส

ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า ในอากาศที่อุ่นขึ้น ผู้หญิงจะทำแบบทดสอบด้านคณิตศาสตร์และการพูดได้ดีขึ้น แต่ผลจะออกมาตรงกันข้ามกับผู้ชายที่จะทำแบบทดสอบได้ดีกว่าในห้องที่มีอุณหภูมิที่ต่ำ ขณะที่ ประสิทธิภาพในการทำงานของผู้หญิงในอุณหภูมิสูงจะ 'เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ' เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ลดลงของผู้ชาย อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการทำแบบทดสอบความรู้เท่าทันพุทธิปัญญาของทั้งผู้หญิงและผู้ชายไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิห้อง การวิจัยนี้จึงเสนอว่า ออฟฟิศที่มีทั้งพนักงานชายและหญิงอยู่รวมกันอาจเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วยการปรับปุณภหภูมิห้องให้อุ่นขึ้นกว่าที่เคยตั้งไว้

ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ทอม ชาง อาจารย์ด้านการเงินและเศรษฐศาสตร์ธุรกิจของมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย และผู้ร่วมเขียนงานวิจัยชิ้นนี้กล่าวว่า งานวิจัยนี้ไม่ได้ศึกษาอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากต่อประสิทธิภาพในการทำงาน เพราะแม้แต่ช่วงอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกันอย่าง 15 - 23 องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นอุณหภูมิปกติ ก็ยังเห็นความแตกต่างของประสิทธิในการทำงานได้อย่างชัดเจนแล้ว

รศ.ชาง กล่าวว่า เจ้าของธุรกิจจำนวนมากลงทุนเพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานของตัวเองจะสบายและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่วิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า นอกจากการสนใจเรื่องเงินและประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานแล้ว ทางบริษัทก็ควรปรับอุณหภูมิให้อุ่นขึ้นกว่าที่เคยเปิดในออฟฟิศเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น แม้จะยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าควรตั้งอุณหภูมิที่เท่าไหร่จึงจะทำให้ผู้หญิงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด แต่ก็พบว่า ออฟฟิศที่มีทั้งผู้ชายและผู้หญิงทำงานด้วยกันควรตั้งอุณหภูมิไว้ที่ประมาณ 24 องศาเซลเซียส

ด้าน เดวิด ชิปเวิร์ธ นักวิจัยจากสถาบันพลังงาน UCL กล่าวว่า ปัญหาส่วนหนึ่งในการกาอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับพนักงานก็คือ การหาเกณฑ์มาวัดประสิทธิภาพการทำงาน เพราะประสิทธิภาพในการทำงานด้านต่าง ๆ ของคนเรามักแตกต่างกันไปตามปัจจัยแวดล้อม หรือแม้แต่เหตุการณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นในวันนั้น ๆ

ก่อนหน้านี้ มีการวิจัยการทำงานของเสมียนในบริษัทประกันภัย ผลการวิจัยพบว่า ในอุณหภูมิห้อง 25 องศาเซลเซียส ผู้หญิงสามารถพิมพ์งานต่อเนื่องโดยมีอัตราการพิมพ์ผิดเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ แต่หากลดอุณหภูมิลงเหลือ 20 องศาเซลเซียส ประสิทธิภาพในการทำงานของพวกเธอจะลดลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และพิมพ์ผิดบ่อยขึ้นถึง 2 เท่า

สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า อุณหภูมิห้องไม่เพียงแต่มีผลกระทบกับประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ยังส่งผลต่อวิธีคิดของเราด้วย โดยอุณหภูมิที่อุ่นกว่าจะทำให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ ส่วนออฟฟิศที่เย็นจะช่วยให้พนักงานตื่นตัวระหว่างการทำงานที่เป็นขั้นตอนซ้ำ ๆ ขณะที่ อุณหภูมิห้องที่สูงกว่า 27 องศาเซลเซียส ไม่ดีกับคนที่ต้องทำงานเกี่ยวกับการคำนวณตัวเลข และห้องที่อุ่นทำให้คนทำงานรู้สึกอบอุ่นเป็นมิตรกับคนรอบข้าง

ทั้งนี้ ไม่ว่าอุณหภูมิห้องจะอยู่ที่เท่าไร จะต้องมีใครสักคนบอกว่าหนาวไปหรือร้อนไปอยู่ดี นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามคาดการณ์เปอร์เซ็นต์ที่จะมีคนไม่พอใจกับอุณหภูมิที่แตกต่าง โดยมีการคำนวณปัจจัยต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า อัตราเมตาบอลิซึมของผู้อยู่อาศัยในอาคารนั้น ซึ่งอัตราเมตาบอลิซึมจะต้องคำนวณจากการคาดเดาอายุ น้ำหนัก และเพศร่วมด้วย

ฉะนั้น นักวิจัยจำนวนหนึ่งจึงมองว่าการให้พนักงานแต่ละคนควบคุมอุณหภูมิของตัวเองได้จะดีที่สุด หมายความว่าที่โต๊ะทำงานของแต่ละคนควรจะควบคุมอุณหภูมิรอบตัวตนเองได้ เช่น มีระบบทำความร้อนบริเวณขา หรือเลือกได้ว่าจะปิดหรือเปิดการระบายอากาศ เป็นต้น


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog