ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - คาด 30 ปีข้างหน้า อากาศโลกจะเปลี่ยนแปลงรุนแรง - Short Clip
World Trend - ทั่วโลกต้องเร่งรับมือ 'ภาวะโลกร้อน' ก่อนจะสายเกินแก้ - Short Clip
World Trend - ผลสำรวจชี้ คนรุ่นใหม่มองชีวิตในแง่ร้าย - Short Clip
World Trend - ​'กวางนาระ' ทำร้ายนักท่องเที่ยวเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
World Trend - 'เนื้อทางเลือก' หรือเนื้อสัตว์ในอนาคตจะมาจากแล็บ? - Short Clip
World Trend - สตาร์บัคส์พัฒนากาแฟรับมือโลกร้อน - Short Clip
World Trend - เทศกาลดนตรีเดนมาร์กใช้แก้วรักษ์โลก-ลดพลาสติก - Short Clip
World Trend - อาลีบาบาเตรียมเปิดฮับแห่งแรกในยุโรป - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นมุ่งแก้ปัญหาฆ่าตัวตายอย่างจริงจัง - Short Clip
World Trend - นิวซีแลนด์เล็งปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2050 - Short Clip
World Trend - ​วิจัยชี้ แมลงสาบเริ่มมีภูมิคุ้มกันยาฆ่าแมลง - Short Clip
World Trend - อุณหภูมิออฟฟิศที่เหมาะสมสำหรับทุกคนอาจไม่มีจริง - Short Clip
World Trend - ชาวอเมริกันเกือบครึ่งมองว่า 'สตรีมมิง' ล้นตลาด - Short Clip
World Trend - 'อิเกีย' วางแผนลดมลพิษในอินเดีย - Short Clip
World Trend - ในอีก 2 ปี 83% ของงานองค์กรจะอยู่ใน 'คลาวด์' - Short Clip
World Trend - 'นิสสัน' เตรียมปลดพนักงานทั่วโลกนับหมื่น - Short Clip
World Trend - ผู้บริโภคเกาหลีแบนสินค้าญี่ปุ่น - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ภาษีโซดาช่วยลดการบริโภค - Short Clip
World Trend - สงคราม 'ไขมันทรานส์' ประเทศไหนน่าห่วงที่สุด? - Short Clip
World Trend - ความนิยม 'หุ่นยนต์' ในจีน- Short Clip
World Trend - 'จำกัดการกินเบอร์เกอร์' ช่วยโลกได้! - Short Clip
Jul 25, 2019 04:19

ที่ผ่านมามีการพูดถึงผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลดโลกร้อน ของการลดหรืองดบริโภคเนื้อสัตว์ แต่ความจริงแล้ว ประโยชน์อีกด้านหนึ่งคือการบรรเทาภาวะประชากรโลกอดอยาก โดยผลการศึกษาล่าสุดคำนวณว่าชาวอเมริกันสามารถช่วยโลกได้ด้วยการกินเบอร์เกอร์ไม่เกินสัปดาห์ละ 1.5 ชิ้น

บทความหนึ่งของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นเพิ่งเปิดเผยว่า สถาบันทรัพยากรโลก ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงกำไรที่ทำวิจัยสนับสนุนเรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับภาวะที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้ โดยทางสถาบันออกมาเปิดเผยผลการศึกษาเรื่องการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืน และออกรายงาน 568 หน้า ซึ่งใจความตอนหนึ่งเสนอแนะว่าชาวอเมริกันควรปรับลดปริมาณการบริโภคเนื้อวัวล 40 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ ชาวยุโรปควรปรับลง 22 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ภายในปี 2050 มีอาหารเพียงพอสำหรับประชากรโลกที่คาดว่าจะแตะระดับ 10,000 ล้านคน

ทั้งนี้ มีรายงานระบุว่า การเพิ่มขึ้นของประชากร จากปี 2010 ที่อยู่ที่ 7,000 ล้านคนเป็นเกือบ 10,000 ล้านคนในอีก 30 ปีข้างหน้านั้น ส่วนหนึ่งมาจากรายได้ของประชากรในประเทศพัฒนาแล้วที่ปรับสูงขึ้น ขณะที่ ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์นมเนยก็จะพุ่งสูงอย่างรวดเร็ว ราว 70 เปอร์เซ็นต์จากปัจจุบัน และเมื่อแยกย่อยออกไป พิจารณาเพียงเนื้อของ 'สัตว์เคี้ยวเอื้อง' เช่น วัว แกะ และแพะ จะพบว่าความการเนื้อของพวกมันสูงกว่าค่าเฉลี่ยความต้องการนมเนย โดยจะเพิ่มสูงถึง 88 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว

อย่างไรก็ตาม รายงานชี้ว่า หากจะผลิตปริมาณอาหารให้มีเพียงพอกับคนบนโลกแล้ว เกษตรกรต้องผลิตผลผลิตเพิ่ม 56 เปอร์เซ็นต์ จากปริมาณเมื่อปี 2010 เท่ากับว่าต้องใช้ที่ดินเพิ่มขึ้นคิดเป็น 2 เท่าของพื้นที่ประเทศอินเดีย และก็แทบจะแน่นอนแล้วว่า 'เป็นไปไม่ได้' รายงานฉบับนี้จึงสรุปว่า การจะแก้ปัญหานี้ให้ได้ จะยิ่งยุ่งยากและซับซ้อนกว่าการทำให้ผู้คนตระหนักรู้ถึงปัญหา ที่ในปัจจุบันนี้ก็ยากอยู่แล้วด้วย

ทั้งนี้ เนื้อสัตว์ส่วนที่ควรลดการบริโภคหลัก ๆ ได้แก่ 'สัตว์เคี้ยวเอื้อง' ที่ว่า เพราะการเลี้ยงและผลิตเนื้อจากวัว แกะ และแพะ ใช้พื้นที่และทรัพยากรอื่น ๆ มากกว่าสัตว์ประเภทอื่นถึง 20 เท่า ผลิตแก๊สเรือนกระจกมากกว่าการปลูกพืชที่ให้โปรตีนถึง 20 เท่า ยิ่งไปกว่านั้น การเลี้ยงวัวยังให้ทุนด้านเวลามากกว่าการเลี้ยงหมุหรือสัตว์ปีกอีกด้วย โดยวัวจะโตช้าและใช้เวลานานกว่าจะถึงวัวเจริญพันธุ์ เท่ากับว่าในระยะเวลานี้ พวกมันจะกินมากกว่าสัตว์อื่น เมื่อเทียบตามสัดส่วน สิ้นเปลืองทั้งที่ดิน ทั้งอาหารและน้ำ

การผลิตเนื้อวัวเพียงอย่างเดียวปล่อยแก๊สเรือนกระจกมากถึง 41 เปอร์เซ็นต์ของปศุสัตว์ทั้งหมด และคิดเป็น 14.5 เปอร์เซ็นต์ของแก๊สเรือนกระจกทั้งหมดทั่วโลก ซึ่งเท่ากับว่า 'วัว' เป็นสาเหตุของมลพิษมากกว่า 'รถยนต์' และยานพาหนะอื่น ๆ รวมกัน ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น ชาวอเมริกันที่เหมือนจะเป็นชาติที่ 'กินเนื้อ' เยอะ แต่ในความเป็นจริง พวกเขาบริโภคเนื้อวัวเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณแคลอรี่เฉลี่ยทั้งหมดเท่านั้น แต่การเลี้ยงวัวกลับใช้ที่ดินการเกษตรไปมากถึง 43 เปอร์เซ็นต์ เฉพาะในสหรัฐฯ ที่เดียว เกิดเป็นภาวะการผลิตที่ไม่สมดุลขึ้น

รายงานฉบับนี้ชี้ว่า การที่จะบริโภคได้อย่างสมดุลนั้น ชาวอเมริกันต้องจำกัดการกินเนื้อวัว โดยเมื่อเทียบเป็นปริมาณเนื้อเบอร์เกอร์แล้ว จะบริโภคได้เพียง 1.5 เบอร์เกอร์ต่อคนต่อสัปดาห์เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันนี้ หลายบริษัทเบอร์เกอร์ก็เลือกที่จะพัฒนาเนื้อจากพืช เนื้อจากแล็บ หรือเนื้อทางเลือกกันมากขึ้น และสิ่งที่ควรเกิดขึ้นต่อไป นอกจากกลไกทางการตลาดแล้ว รัฐบาลในแต่ละประเทศก็ควรตระหนักรู้และก้าวให้ทันกับปัญหาด้านอาหารเช่นนี้

เบื้องต้น รายงานเสนอว่า รัฐบาลควรเลือกมาตรการจูงใจให้คนลดการบริโภคเนื้อ เช่น ลดงบประมาณสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตเนื้อ หรือเพิ่มภาษีเนื้อ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาเนื้อแพงขึ้น แต่สุดท้ายแล้ว ทั้งหมดขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะเลือกวิถีการกินเช่นไร และทำเพื่อโลกในทางไหนบ้าง


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog