ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - เฟซบุ๊ก วางแผนสร้างดาวเทียมอินเทอร์เน็ต - Short Clip
World Trend - ตลาดกัญชาสร้างงานชาวอเมริกันกว่า 2 แสนราย - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นมุ่งแก้ปัญหาฆ่าตัวตายอย่างจริงจัง - Short Clip
World Trend - ก.พลังงานเปิดสถานีชาร์จไฟฟ้า มุ่งเป็นสมาร์ตซิตี - Short Clip
World Trend - ในอีก 2 ปี 83% ของงานองค์กรจะอยู่ใน 'คลาวด์' - Short Clip
World Trend - เฟซบุ๊ก จับมือสำนักข่าวดังทำรายการข่าว ‘วอตช์’ - Short Clip
World Trend - สหราชอาณาจักรเตรียมติดตั้งเน็ตความเร็วสูงทุกครัวเรือนในปี 2033 - FULL EP.
World Trend - บ.แม่ Google เล็งเปิดฮับเทคโนโลยีในตะวันออกกลาง - Short Clip
World Trend - 'แอมะซอน โก' ต้นแบบความสำเร็จของร้านค้าไร้แคชเชียร์ - Short Clip
World Trend - 'ญี่ปุ่น' หวังเพิ่มผู้บริหารหญิงเป็น 30% ภายในปี 2030​ - Short Clip
World Trend - WHO ชี้ 'ติดเกม' เป็นอาการป่วยทางจิต - Short Clip
World Trend - ซิลิคอนแวลลีย์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือที่ใด - Short Clip
World Trend - จีนจัดการประชุมหุ่นยนต์โลก 2018 - Short Clip
World Trend - ​จีนลงทุน 500 ล้านบาท สร้างร้านหนังสือ - Short Clip
World Trend - ผลทดสอบชี้ แบตไอโฟนหมดไวกว่าที่โฆษณา - Short Clip
World Trend - UN เผย ไทยติดอันดับ 10 แหล่งท่องเที่ยวฮิต 2017 - Short Clip
World Trend - ปชช.ไม่พอใจปารีสปรับพื้นที่รับโอลิมปิก 2024 - Short Clip
World Trend - Pizza Hut เสิร์ฟไก่ปลอดยาปฏิชีวนะภายในปี 2022 - Short Clip
World Trend -Nokia 6.1 Plus (2018) : สมาร์ตโฟนครบครันในราคาเบา ๆ - Short Clip
World Trend - ชิลีเล็งใช้รถพลังงานไฟฟ้าเพิ่ม 10 เท่าในปี 2022 - Short Clip
World Trend - บริษัทไอที 32 แห่งลงนามสู้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ - Short Clip
Apr 18, 2018 09:30

บริษัทเทคโนโลยีรวมตัว ลงนามเพื่อป้องกันการคุกคามทางไซเบอร์ คาดความเสียหายจากการถูกโจรกรรมอาจพุ่งสูงถึง 8 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2022

บริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟท์ เฟซบุ๊ก และอีก 32 บริษัททั่วโลกร่วมกันลงนามในข้อตกลงว่าด้วยความปลอดภัยทางไซเบอร์และเทคโนโลยี หรือ Cybersecurity Tech Accord เพื่อต่อสู้กับปัญหาด้านการโจมตีทางไซเบอร์ที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และส่งผลกระทบโดยตรงกับทรัพย์สินของบริษัทเทคโนโลยีในวงกว้าง รวมไปถึงความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนตัวหรือบรรดาภาคธุรกิจ

ในปี 2017 บริษัทไมโครซอฟท์เคยเรียกร้องให้มีการออกกฎเกณฑ์และการร่วมมือกันของกลุ่มผู้นำด้านเทคโนโลยี เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น แต่ยังไม่มีการร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรม จนในที่สุดหลังจากนั้นเพียง 2 เดือนก็เกิดเรื่องการเรียกค่าไถ่ขึ้นอย่างที่หลายฝ่ายกลัวถึง 2 ครั้งใหญ่ ๆ ด้วยกัน 

อาชญากรรมทางไซเบอร์ที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างคือ WannaCry ที่โจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์ไปกว่า 300,000 เครื่องใน 150 ประเทศทั่วโลกในเดือนพฤษภาคมของปีที่แล้ว โดยการเรียกค่าไถ่เพื่อปลดล็อกเป็นเงินสกุลบิตคอยน์ ทำให้มีการตระหนักถึงหายนะที่อาจเกิดขึ้นอีกเมื่อใดก็ได้ โดยเหตุการณ์ครั้งนั้นมีหน่วยงานด้านการแพทย์ของอังกฤษมากถึง 48 แห่ง ตกเป็นเหยื่อของแรนซัมเรียกค่าไถ่ดังกล่าว สร้างความเสียหายอย่างมากต่อวงการการแพทย์ในยุโรป

และอีกหนึ่งครั้งก็คือ NotPetya เกิดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว การเรียกค่าไถ่ทางไซเบอร์นี้เกิดขึ้นในยูเครนเป็นที่เเรกก่อนที่จะส่งผลออกไปเป็นวงกว้างในหลายประเทศ โดยตัวซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่จะทำการล็อกระบบคอมพิเตอร์ของเรา แล้วเรียกเก็บเงิน 300 ดอลลาร์ฯ ในรูปแบบของสกุลเงินบิตคอยน์ แต่ผลปรากฎว่าเหยื่อหลายรายที่ยอมจ่ายเงินเพื่อให้ได้ข้อมูลคืนก็ไม่สามารถกู้ไฟล์ได้อยู่ดี ซึ่งทางการอังกฤษออกมาประกาศว่ารัสเซียคือผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้

ในงานประชุม RSA Conference 2018 นายแบรด สมิธ ประธานบริษัทไมโครซอฟท์ได้ขึ้นกล่าวประณามหายนะที่เกิดจากการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ที่มีรัฐบาลต่างประเทศอยู่เบื้องหลัง โดยมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งโจมตีผู้บริสุทธิ์ที่ไม่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเรียกร้องให้บริษัทด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้เข้าร่วมให้มาลงนามเพื่อร่วมมือกันปกป้องประชาคมโลกจากการโจมตีทางไซเบอร์

มีการคาดการณ์ว่าผลกระทบที่ทำให้เกิดความสูญเสียทางการเงินต่อองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกที่ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพผู้ก่อเหตุอาชญากรรมทางไซเบอร์จะเพิ่มเป็นมูลค่าความเสียหายราว 8 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ภายในปี 2022 นี้ โดยนอกจากไมโครซอฟท์และเฟซบุ๊กแล้ว ก็ยังมีบริษัทอื่น ๆ ที่ร่วมลงนามด้วยอย่าง Cisco, HP และ Nokia ในขณะที่รายใหญ่ของวงการอย่าง Apple, Alphabet และ Amazon กลับไม่ปรากฏชื่อในการลงนามในครั้งนี้


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog