ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - ​'ลา ลีกา' ถูกปรับหลังดักฟังสมาร์ตโฟนผู้ชม - Short Clip
World Trend - คนดำเสี่ยงถูกตร.จราจรเรียกมากกว่าคนขาว- Short Clip
World Trend - 'สะกดจิต' อาจเป็นทางเลือกใหม่แทนยาสลบ? - Short Clip
World Trend - จีนไม่อนุญาตดิสนีย์ฉาย 'คริสโตเฟอร์ โรบิน' - Short Clip
World Trend - ประชากรญี่ปุ่นลดต่อเนื่อง 10 ปี - Short Clip
World Trend - 'เลดี้ กาก้า' เปิดการแสดงประจำที่นครลาสเวกัสรับปี 2019 - Short Clip
World Trend - ผลสำรวจชี้ คนรุ่นใหม่มองชีวิตในแง่ร้าย - Short Clip
World Trend - อิเกียเปิดร้านใหม่ใจกลางกรุงปารีส - Short Clip
World Trend - สิงคโปร์ ขึ้นแท่นประเทศที่ปลอดภัยที่สุดในโลก - Short Clip
World Trend - Met Gala 2019 ที่สุดแห่งความเกินจริงของโลกแฟชั่น - Short Clip
World Trend - สงครามการค้ากระทบธุรกิจ 'รองเท้ากีฬา' ในสหรัฐฯ - Short Clip
World Trend - Infinity War ทำเงินผ่านหลัก 2,000 ล้านดอลลาร์ - Short Clip
World Trend - 'นินเทนโด' จะไม่ขายไอเทมในเกมมากเกินไป - Short Clip
World Trend - 'ชีสนมลา' สินค้าหายาก-ราคาแพง - Short Clip
World Trend - ไอโฟน 2019 อาจอัปเกรดกล้องสแกนใบหน้า - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นมุ่งแก้ปัญหาฆ่าตัวตายอย่างจริงจัง - Short Clip
World Trend - ลูกจ้างอังกฤษเกินครึ่งเชื่อ 'เจ้านายคอยแอบดู' - Short Clip
World Trend - ดื่มน้ำผลไม้มากเกินเสี่ยงตายไวเท่าน้ำอัดลม - Short Clip
World Trend - 'เกรตแบร์ริเออร์รีฟ' อาจไม่สามารถฟื้นตัวได้อีก - Short Clip
World Trend - กินยาโรคซึมเศร้าระยะยาวเสี่ยงสมองเสื่อม - Short Clip
World Trend - 'คานส์' ยังขลังอยู่ไหมในปี 2019? - Short Clip​
May 15, 2019 06:14

เทศกาลภาพยนตร์สุดยิ่งใหญ่อย่าง 'คานส์' เพิ่งเริ่มต้นขึ้น พร้อมกับการตั้งคำถามถึงแนวทางอนุรักษ์นิยมของผู้จัดที่ไม่น่าจะประสบความสำเร็จในโลกยุคดิจิทัลเช่นนี้ ปัจจัยที่จะเป็นอุปสรรคต่อการดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงเกียรติยศที่เทศกาลได้สะสมมาบ้าง 

เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์เป็นหนึ่งในอีเวนต์ยิ่งใหญ่อลังการแห่งปีที่ผู้จัดพยายามคงไว้ซึ่งชื่อเสียง เกียรติยศ และแบบแผนที่มีมาแต่ดั้งเดิม ตั้งแต่การแบนการเซลฟี่บนพรมแดง การกำหนดให้ผู้หญิงสวมรองเท้าส้นสูง และการไม่ยอมรับผลงานสตรีมมิงอย่างเน็ตฟลิกซ์ในสายประกวด แต่ท่ามกลางการเติบโตและความสำเร็จของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติอื่น ๆ พร้อมทั้งความนิยมในแพลตฟอร์มสตรีมมิง ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าคานส์จะยังคงความขลังของตนเองเอาไว้ในยุคสมัยนี้ได้หรือไม่ หรือเป็นเพียงเทศกาลที่ไม่สามารถปรับตัวและตกหลุมเวลา ติดอยู่ในยุคเก่า

เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ปีนี้ จัดเป็นครั้งที่ 72 โดยเริ่มงานมาตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา และจะจัดต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 25 พฤษภาคม ซึ่งได้เปิดตัวโปสเตอร์ประจำงานอย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนที่แล้ว เป็นรูปของ อาเญส วาร์ดา คุณป้าช่างภาพในตำนานชาวฝรั่งเศส เจ้าของสารคดี Faces Places ที่เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อ 2 เดือนก่อน ขณะอายุ 91 ปี เพื่อเป็นการยกย่องเธออย่างสมเกียรติเป็นครั้งสุดท้าย ในฐานะผู้กำกับรุ่นที่ริเริ่มภาพยนตร์ French New Wave

ถึงอย่างนั้น โปสเตอร์ที่ว่านี้กลับไม่ได้โชว์ภาพของวาร์ดาที่หลายคนจดจำได้ดี ซึ่งก็คือเธอที่ตัดผมกะลาครอบย้อม 2 สี สวมเสื้อกุชชี่ไหมพรมตัวโปรด แต่เป็นภาพของเธอเมื่ออายุ 26 ปี ขณะถ่ายทำภาพยนตร์ 'ลา พอยนต์ คอร์ต' (La Pointe Courte) เมื่อปี 1954 ซึ่งดูจะเป็นความตั้งใจ และการประกาศอย่างกลาย ๆ ว่า คานส์มองหาคุณค่าและให้ความสำคัญกับ 'อดีต'

การถวิลหาอดีตและยุคทองของภาพยนตร์ของผู้จัดคานส์ไม่เคยเป็นความลับ เพราะตลอดทศวรรษที่ผ่านมา โปสเตอร์โปรโมตงานมีแต่ภาพจากผลงานยุค 50 และ 60 ทั้งสิ้น ทั้งยังมอบรางวัลให้กับภาพยนตร์ที่ยึดถือคุณค่าแบบเดิม ๆ หนึ่งในนั้นคือวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ โดยที่ผลงานของผู้กำกับหญิงแทบไม่เคยได้แจ้งเกิดจากการจัดฉายในสายประกวดของที่นี่เลย และใน 71 ครั้งที่ผ่านมา มีเพียง เจน แคมเปียน ผู้กำกับชาวนิวซีแลนด์ เท่านั้น ที่เคยชนะรางวัลปาล์มทองคำ รางวัลสูงสุดในการประกวดของเทศกาล ขณะที่ มีผู้กำกับหญิงเข้าชิงทั้งหมดเพียง 82 คน เทียบกับผู้กำกับชาย 1,645 คน

แม้ว่าปีที่แล้ว เคต บลานเชตต์ ประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวด จะนำทีมประท้วงและประกาศจุดยืนกลางพรมแดง เรียกร้องให้อุตสาหกรรมเปิดโอกาสให้ผู้หญิงและสร้างความเท่าเทียมในวิชาชีพมาแล้วก็ตาม แต่กระบวนการที่ว่านั้นดูจะเป็นไปได้ช้าเหลือเกิน เพราะในปีนี้มีภาพยนตร์จากผู้กำกับหญิงเพียง 13 จาก 47 เรื่อง ที่เทศกาลคัดเลือกมาฉาย และมีผู้กำกับหญิงเพียง 4 คน ที่เข้าชิงปาล์มทองคำ ซึ่งน้อยกว่าเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ เบอร์ลิน และโตรอนโต ยิ่งไปกว่านั้น ตัวเลขดังกล่าวยังถือว่าเป็นจำนวนที่ 'มาก' เป็นประวัติการณ์แล้ว สำหรับคานส์

ปีที่แล้ว เธียร์รี เฟรมอซ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเทศกาลมาตั้งแต่ปี 2001 กล่าวกลางงานแถลงข่าวว่าเขาไม่สนใจจะพูดถึงประเด็นผู้กำกับหญิง เพราะมันกลายเป็นเหมือน 'เทรนด์' ที่ต้องพูดถึงไปแล้ว และตัวเขาคิดว่าการตัดสินผลงานต้องไม่ขึ้นกับเพศสภาพใด ๆ โดยได้ย้ำในการให้สัมภาษณ์กับสื่อดัง วาไรตี ว่า 'คานส์จะคงคุณค่าไว้ได้อย่างไร หากการมองผลงานอย่างเท่าเทียมยังเกิดขึ้นไม่ได้?'

นอกจากนี้ กรณีฉาวที่คานส์ยังรวมถึงการเปิดให้ฉาย 'โอคจา' (Okja) และ 'เดอะ ไมโรวิตซ์ สตอรีส์' (The Meyerowitz Stories) ของเน็ตฟลิกซ์ ในเทศกาลทั้งที่ไม่ได้เข้าโรงใหญ่อย่างผลงานอื่น ๆ จนมีกระแสโจมตี ทำให้เฟรมอซ์ออกกฎใหม่ แบนเน็ตฟลิกซ์จากการประกวด จนทำให้ในปีถัดมา ผลงานยิ่งใหญ่แห่งปีอย่าง 'โรมา' (Roma) เลือกไปเปิดตัวที่เทศกาลภาพยนตร์เวนิสแทน

บทความล่าสุดของโว้กกล่าวถึงเทศกาลเวนิสไว้อย่างน่าสนใจว่า เวนิสเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์หลักจากความหยิ่งผยองของคานส์ เพราะในขณะที่คานส์เลือกจะเปิดตัว 'หนังอาร์ต' อย่าง 'เบิร์นนิง' (Burning) 'โคลด์ วอร์' (Cold War) และ 'ชอปลิฟเตอร์ส' (Shoplifters) นั้น เวนิสกลับได้เปิดตัวผลงานที่มีนักแสดงระดับเอ-ลิสต์อย่าง 'เดอะ เฟเวอริต' (The Favourite) และ 'อะ สตาร์ อิส บอร์น' (A Star is Born) ขณะเดียวกัน ในช่วงหลายปีมานี้ เวนิสก็กลายเป็นเวทีเปิดตัวผลงานที่ได้รับออสการ์หลายเรื่อง โดยที่คานส์แทบจะเทียบไม่ติดในด้านจำนวน จนเหมือนจะกลายเป็นเวทีสำหรับ 'ศิษย์เก่า' ให้กลับมาโชว์ผลงานปีแล้วปีเล่าเท่านั้น

ความฉาวยิ่งไปกว่านั้นของคานส์คือการที่ผู้จัดไม่ยอมแบนผู้ผลิตผลงานที่มีพฤติกรรมน่ากังขา ทั้ง ลาร์ส ฟอน เทรียร์ ที่บอกว่าเห็นใจฮิตเลอร์ รวมถึงถูกกล่าวหาว่าลวนลามนักแสดงและศิลปินหญิง ปีเยิร์ก (Björk) , โรมัน โปลันสกี และ วูดดี อัลเลน ที่ถูกพาดพิงว่าล่วงละเมิดทางเพศผู้หญิงหลายคน , ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน ที่ใช้เทศกาลเป็นที่ 'หาเหยื่อ' เพื่อล่วงละเมิดทางเพศมาโดยตลอด ทั้งหมดนี้มีเพียงไวน์สตีนที่เพิ่งถูกแบนไปไม่นานมานี้ เพราะกระแสต่อต้านในฮอลลีวูดรุนแรงมาก

ปีนี้ คานส์มอบรางวัลเกียรติยศให้กับ อแลง เดอลอง นักแสดงชาวฝรั่งเศสวัย 83 ปี ที่ถือเป็นไอคอนของวงการ แต่ที่ผ่านมา เขาเคยกล่าวข้อความที่น่ากังขาอยู่หลายครั้ง เช่น 'การเป็นเกย์เป็นเรื่องผิดธรรมชาติ' แสดงการสนับสนุนพรรคการเมืองขวาจัดอย่างเปิดเผย และยอมรับว่าเขาเคยตบผู้หญิง ทำให้นักรณรงค์เพื่อสิทธิสตรีจำนวนมากไม่พอใจต่อการมอบรางวัลครั้งนี้ ซึ่งเฟรมอซ์ยังคงยืนยันระหว่างงานแถลงข่าวว่า เดอลองสมควรได้รางวัล และเขามีสิทธิ์ที่จะแสดงความเห็นอย่างไรก็ได้

ความน่ากังขาด้านศีลธรรมและ 'การหยุดอยู่กับที่' ของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ที่กล่าวมาดูจะเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขให้ตรงใจคนรุ่นใหม่และคนหัวก้าวหน้าในอุตสาหกรรมได้ภายในไม่กี่ปีข้างหน้า จึงน่าจับตาอย่างยิ่งว่าในช่วงเวลาต่อจากนี้ ความขลังและอำนาจของเทศกาลจะยังคงอยู่หรือรักษาระดับให้เท่าเดิมได้หรือไม่

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog