ไม่พบผลการค้นหา
อุตสาหกรรม ยันไม่มีโรงงานปิดเพราะขาดน้ำ
ธ.ก.ส.จ่ายเงิน 1,000 ช่วยชาวนา ไร้ปัญหา
ไทยแอร์เอเชีย ประกาศรุกตลาดอินเดีย-จีนเพิ่มปีหน้า
ภูเขาไฟฟูจิ เปิดฟรี Wi-Fi โปรโมทเที่ยวญี่ปุ่น
บินไทย คงเป้ารายได้ปีนี้ 1.8 แสนล้านบาท
​พฤกษา รุกสร้างแบรนด์อันดับ 1 เปิด 75 โครงการใหม่
Wake Up News - พปชร.ตั้งแท่นสอย 30 ส.ส. 7พรรคฝ่ายค้าน - Short Clip
การบินไทย เร่งขายเครื่องบินเก่า
กองทุนช่วยชาวนา กับ ธ.ก.ส.
ยอดแลกคูปองทีวีดิจิตอลเกินหมื่นใบแล้ว
ไทยแอร์เอเชีย เปิดเส้นทางบินอู่ตะเภาเพิ่ม 5 เส้นทาง
ผู้ค้าประตูน้ำกังวลหลายปัญหาหากถูกจัดระเบียบ
มิสเตอร์ โดนัท ปรับกลยุทธ์รุกตลาด 360 องศา
ซิตี้แบงก์ เปิดบริการ Voice Biometrics แทนรหัส
ไทยแอร์เอเชีย เปิดบินหลวงพระบาง สปป.ลาว ครั้งแรก
DEAN & DELUCA ใช้ไทยขยายสาขาทั่วโลก 4 ปี 200 สาขา
ส.ว.สรรหา 250 คน-อำนาจคุมฝ่ายบริหาร
ภาพรวมเลือกตั้ง ต่างจังหวัด
Wake Up News - 'สามารถ' เชียร์ประมูลรถไฟเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน - Short Clip
Wake Up News - เทียบไทม์ไลน์เลือกตั้ง ( 24 ก.พ.62 กับ 24 มี.ค.62) - Short Clip
ก.เกษตรฯ ปรับแผนใช้น้ำในเขื่อน
Mar 2, 2016 09:26

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปรับแผนการใช้น้ำในเขื่อน ยืนยันมีน้ำใช้อุปโภคบริโภค เพียงพอถึงเดือนกรกฎาคมนี้  

พลเอกฉัตรชัย  สาริกัลยะ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยสถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล , เขื่อนสิริกิติ์ , เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์   ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 ถึง 1 มีนาคม 2559  มีการใช้น้ำไปแล้วรวม 1,994 ล้านลูกบาศก์เมตร คงเหลือน้ำใช้การได้จนถึงเดือนมิถุนายนนี้ ประมาณ 2,945 ล้านลูกบาศก์เมตร  มีการระบายน้ำรวมกันเฉลี่ย 18 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน

ส่วนเขื่อนกักเก็บน้ำ 10 เขื่อนที่มีปริมาณน้ำน้อย  อาทิ  เขื่อนแม่งัด , เขื่อนกระเสียว เขื่อนลำปาว ,  เขื่อนลำพระเพลิง  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ปรับแผนบริหารการใช้น้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น ปรับแผนการส่งน้ำเขื่อนแม่งัด เป็น 1.2 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อสัปดาห์  ซึ่งประเมินว่าเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคในจังหวัดตลอดแนวเส้นทางก่อนปล่อยลงสู่เขื่อนภูมิพล

ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ เหลือน้ำใช้งานเพียงร้อยละ 3.32 ปริมาณน้ำในเขื่อน 643.12 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 26.40 ยังเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค แต่กระทบภาคเกษตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ 

ส่วนพื้นที่ภัยแล้ง ได้ประกาศเพิ่มอีก 10 อำเภอ 62 ตำบล 659 หมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จากเดิมครอบคลุม 47 อำเภอ 21 ตำบล 1,902 หมู่บ้าน ซึ่งนอกจากมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรทั้ง 8 มาตรการ ยังเร่งช่วยเหลือเบื้องต้น เช่น จัดหาน้ำเข้าไปแจกจ่าย และขุดบ่อบาดาลเพิ่มเติม

ส่วนนักบินฝนหลวงที่ลาออก ประมาณ 20 คน จะไม่กระทบการทำฝนหลวงในช่วงหน้าแล้งนี้ โดยรับสมัครเพิ่มอีก 8 คน  ทำให้กรมฝนหลวง มีนักบินปฏิบัติการ 54 คน ภายใต้อากาศยาน 41 ลำ  อย่างไรก็ตาม อาจร่วมมือกับกรมการบินพลเรือน จัดฝึกนักบินเพื่อเข้ามาปฏิบัติการเป็นนักบินฝนหลวง  

     
    

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog