ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - เจ้านาย 1 ใน 3 เลี่ยงจ้างผู้หญิงที่กำลังสร้างครอบครัว - Short Clip
World Trend - 'ยูนิเวอร์แซล สิงคโปร์' เตรียมขยายพื้นที่ - Short Clip
World Trend - ผู้บริโภคเกาหลีแบนสินค้าญี่ปุ่น - Short Clip
World Trend - เทรนด์การกินทำให้คนทำอาหารหลายรอบในหนึ่งมื้อ - Short Clip
World Trend - ผลสำรวจชี้ คนรุ่นใหม่มองชีวิตในแง่ร้าย - Short Clip
World Trend - GM ติดตั้งระบบตรวจจับพฤติกรรมการฟังของผู้ใช้รถ - Short Clip
World Trend - Nintendo Switch รุ่นใหม่ยังไม่มาในเร็วๆ นี้ - Short Clip
World Trend - โปแลนด์ติดตั้งทางเท้าลดมลพิษ - Short Clip
World Trend - 'เทสลา โมเดล 3' ครองแชมป์รถหรูขายดีที่สุดในสหรัฐฯ - Short Clip
World Trend - อินเทลบรรลุเป้า 'ความหลากหลายด้านกำลังคน' - Short Clip
World Trend - พบ 1 ใน 10 เด็กเล็กในเกาหลีใช้สมาร์ตโฟน - Short Clip
World Trend - รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่ยาครอบจักรวาล - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ‘มิลเลนเนียล’ โพสต์รูปเที่ยวได้ ‘หลอกลวง’ ที่สุด - Short Clip
World Trend - ซาอุดีฯ เตรียมเปิดโรงหนังในรอบ 35 ปี - Short Clip
World Trend - ซาวนด์คลาวด์เตรียมเปิดให้สตรีมเพลงไปใช้งาน - Short Clip
World Trend - จีนฮิตโซเชียลเน็ตเวิร์ก 'ศัลยกรรม' - Short Clip
World Trend - ​'บอลโลก' ทำยอดส่งอาหารในจีนพุ่ง - Short Clip
World Trend - ชาวอเมริกันเสพข่าวโซเชียลมากกว่าสิ่งพิมพ์เป็นครั้งแรก - Short Clip
World Trend - BNK48 เตรียมประชันแข่งอีสปอร์ตครั้งแรก - Short Clip
World Trend - ESA ร่วมผลิตบาร์บี้นักบินอวกาศหญิง - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นสวนกระแสโลก ไม่นิยมผู้บริหารหญิง - Short Clip
Sep 13, 2018 16:31

บทความล่าสุดของสื่อญี่ปุ่น ที่อ้างอิงบทวิเคราะห์ระดับโลก ชี้ว่าญี่ปุ่นและจีนเป็นประเทศที่สวนกระแสโลก และยังคงไม่นิยมให้ผู้หญิงรับหน้าที่บริหารองค์กร หรือมีตำแหน่งใหญ่

The Japan Times รายงานบทวิเคราะห์ของ Bloomberg ที่ระบุว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่กำลังสวนกระแสเทรนด์โลกด้านการบริหาร ที่มักเปิดทางให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นบอร์ดบริหารองค์กร และวัฒนธรรม Old Boys Club ก็ยังคงรุ่งเรืองในประเทศแบบไม่มีทีท่าว่าจะหายไปในเร็ววัน โดยนอกจากญี่ปุ่นแล้ว จีนก็มีวัฒนธรรมการบริหารที่คล้ายคลึงกัน

การวิเคราะห์ของ Bloomberg รวบรวมข้อมูลการบริหารงานจากบริษัทที่มูลค่าสูงที่สุดในโลก 500 แห่ง พบว่าฝรั่งเศสเป็นประเทศที่บอร์ดบริหารองค์กรมีความหลากหลายทางเพศมากที่สุด ขณะที่ 11 เปอร์เซ็นต์ของบริษัททั้งหมดที่เก็บข้อมูล หรือ 55 บริษัท ไม่มีผู้หญิงในบอร์ดบริหารเลย ในจำนวนนั้นเป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น 15 แห่ง และจีนอีก 13 แห่ง

โดยบริษัทของญี่ปุ่นที่ไม่มีผู้บริหารหญิงเลย รวมถึง SoftBank Group , Nintendo , Fast Retailing เจ้าของแบรนด์ Uniqlo และ Seven & I Holdings เจ้าของแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อดัง 7-Eleven

รองศาสตราจารย์ มาร์ลีน ดีลเลอแมน จากแผนกกลยุทธ์และการวางนโยบาย มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ระบุว่า เอเชียเป็นภูมิภาคที่ยังล้าหลังด้านการบริหาร แม้ผู้บริหารในเอเชียส่วนใหญ่จะตระหนักรู้ถึงความสำคัญของความหลากหลายทางเพศ แต่ก็ไม่มีใครอยากจะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรที่มีมา และเริ่มเปิดโอกาสให้ผู้หญิงอย่างจริงจังเสียที

ด้านบริษัทขนาดใหญ่สัญชาติจีนที่ไม่มีผู้บริหารหญิง ได้แก่ Tencent Holdings ผู้ให้บริการโซเชียลเน็ตเวิร์กรายใหญ่ SAIC Motor (เอสเอไอซี มอเตอร์) เจ้าของแบรนด์รถยนต์ชื่อดัง Kweichow Moutai (กุ้ยโจว เหมาถาย) ผู้ผลิตเครื่องดื่มที่ครองตลาดในจีน ที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่ง และ JD.com บริษัทอีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่

ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางเพศ Equilar Gender Diversity Index ซึ่งประมวลสัดส่วนของบอร์ดบริหารหญิงในบริษัทที่ติดอันดับ Russell 3000 Companies หรือก็คือบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ 3,000 แห่ง พบว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ที่เพิ่งผ่านมา มีการรับตำแหน่งใหม่โดยผู้บริหารหญิง 35 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากสัดส่วนเมื่อปี 2014 

ส่วนฝรั่งเศส ที่มีความหลากหลายทางเพศในการบริหารมากที่สุด ใช้วิธีให้โควตาสัดส่วนอย่างชัดเจน โดย 5 ใน 6 ของบริษัท ที่มีจำนวนผู้บริหารหญิงในบอร์ดคิดเป็น 50 - 50 เป็นบริษัทฝรั่งเศส

ขณะที่ General Motors ที่มี แมรี บาร์รา เป็นทั้งประธานบริหารและซีอีโอ เป็นบริษัทเดียวที่มีความสมดุลทางเพศในการบริหาร ที่ไม่ใช่บริษัทฝรั่งเศส ซึ่งนอกเหนือจากตำแหน่งซีอีโอแล้ว GM ยังเพิ่งแต่งตั้ง ดิฟยา สุรยาเดวารา (Dhivya Suryadevara) เป็นซีเอฟโอด้วย

ขณะที่ เมื่อพิจารณาจากบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก 10 แห่ง จะพบว่า Amazon.com มีผู้บริหารหญิงเป็นสัดส่วนสูงที่สุด ที่ 30 เปอร์เซ็นต์ โดย 8 ใน 10 บริษัทมูลค่าสูงที่ว่า เป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในสหรัฐฯ ขณะที่ อีก 2 แห่งที่เหลือ เป็นบริษัทจีน คือ Tencent ที่ไม่มีผู้บริหารหญิงเลย และ Alibaba Group Holding ที่มีผู้บริหารหญิงอยู่ 9 เปอร์เซ็นต์

ปัจจุบัน มีบริษัทที่ให้ความสำคัญ และจัดสรรงบประมาณในการทำให้องค์กรเอื้อต่อความหลากหลายทางเพศมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น Solactive AG , Barclays , และ State Street Corp. มีการตั้งงบประมาณหรือดัชนีชี้วัดที่นำปัจจัยด้านความหลากหลายทางเพศมาร่วมพิจารณา เพื่อให้มาตรฐานในการบริหารงานภายในบริษัทอย่างชัดเจน


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog