ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - แฮกเกอร์เล็งเจาะเกมออนไลน์เพิ่มขึ้นในปี 2019 - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นมุ่งแก้ปัญหาฆ่าตัวตายอย่างจริงจัง - Short Clip
World Trend - เนเธอร์แลนด์ลงทุนเพิ่มให้คนใช้จักรยานมากขึ้น - Short Clip
World Trend - 995-996 วัฒนธรรมใหม่ในบริษัทจีน​ - Short Clip
World Trend - อัตราการเพิ่มประชากรจีนจะถดถอยในปี 2030 - Short Clip
World Trend - 'โทรแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย' ข้อจำกัดของลำโพงอัจฉริยะ - Short Clip
World Trend - ความเจริญของเอไอทำร้ายประเทศกำลังพัฒนา? - Short Clip
World Trend - 'ชุดเช่า' เทรนด์ธุรกิจแฟชั่นที่ยังไปได้อีกไกล - Short Clip
World Trend - อียูจัดระเบียบเบอร์เกอร์ เปลี่ยนชื่อเมนูไร้เนื้อ - Short Clip
World Trend - ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นกว่า 2,200 ล้านคนภายในปี 2050 - Short Clip
World Trend - ​วิจัยชี้ แมลงสาบเริ่มมีภูมิคุ้มกันยาฆ่าแมลง - Short Clip
World Trend - นักวิจัยแนะใช้โซเชียลมีเดียวันละ 30 นาที - Short Clip
World Trend - หญิงอัฟกันสร้างเกมต้านฝิ่น หวังเห็นประเทศพัฒนา - Short Clip
World Trend - นักต่อต้านโอลิมปิกชี้ 'ทุกคนมีแต่จะแพ้' - Short Clip
World Trend - อาดิดาสกับการเน้นครองใจวัยรุ่นจีน - Short Clip
World Trend - ผู้ถูกรังแกในที่ทำงานเสี่ยงหัวใจวายกว่าคนทั่วไป - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ อักษรไขว้ไม่ช่วยป้องกันสมองเสื่อม - Short Clip
World Trend - 'รถยนต์ไร้คนขับ' เปลี่ยนเกมวงการประกันภัย? - Short Clip
World Trend - 'พลัสไซซ์' ตลาดใหม่เพื่อแฟชั่นที่เท่าเทียม - Short Clip
World Trend - ผู้หญิงยิ่งทำงานน้อย ยิ่งลดความเสี่ยงเป็นเบาหวาน - Short Clip
World Trend - วิกฤติเวเนซุเอลากำลังทำร้าย 'วิทยาการ' - Short Clip
Mar 20, 2019 05:44

ความไร้เสถียรภาพในเวเนซุเอลาขณะนี้ไม่ได้ส่งผลแค่ด้านเศรษฐกิจและการเมืองเท่านั้น แต่ยังทำให้ความก้าวหน้าทางวิทยาการเข้าสู่ภาวะชะงักงันด้วย

ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา พื้นที่เกินครึ่งของเวเนซุเอลาเกิดปัญหาไฟฟ้าดับต่อเนื่องร่วมสัปดาห์ ทำให้ระบบขนส่งมวลชน โทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ตถูกตัดขาด ยิ่งไปกว่านั้น สถานพยาบาลยังต้องประสบกับภาวะที่เครื่องมือการแพทย์ที่ใช้งานโดยปราศจากไฟฟ้าไม่ได้ ทำให้การรักษาหรือช่วยชีวิตผู้ป่วยเป็นไปอย่างยากลำบาก

นอกจากนี้ หลายเมืองหลักยังไม่มีน้ำสะอาดใช้ เท่ากับว่า ประชาชนจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคพื้นฐาน อย่างน้ำและไฟฟ้า ทั้งยังเสมือนถูกตัดขาดจากโลกภายนอกอีกด้วย ซึ่งวิกฤติการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากปัญหาเศรษฐกิจการเมืองที่สะสมมาหลายสิบปี จนไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่าย ๆ และความไร้เสถียรภาพนี้ก็กำลังกัดกร่อนความเจริญทางวิทยาการ ส่งผลให้การฟื้นตัวของประเทศในอนาคตยิ่งน่าเป็นห่วง

รายงานขององค์การสหประชาชาติระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2015 มีประชากรเวเนซุเอลากว่า 3 ล้านคน ลี้ภัยออกนอกประเทศ เนื่องจากความยากจนและปัญหาเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่ยืดเยื้อเรื้อรัง โดยผลสำรวจที่มหาวิทยาลัยกลางแห่งเวเนซุเอลาร่วมจัดทำชี้ว่า ในปี 2014 มีครัวเรือนที่เข้าข่ายยากจน 48.4 % ของทั้งประเทศ ขณะที่ปี 2017 ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 87 % ซึ่งในจำนวนนี้ 61.2 % เข้าข่าย 'ยากจนมาก'

ภาวะ 'สมองไหล' หรือก็คือ การไหลออกของบุคลากรภาควิชาการ ทำให้วิชาชีพหลายแขนงเริ่มขาดแคลน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านวิศวกรรม สาธารณสุข และการศึกษา ที่ประสบปัญหารุนแรงที่สุด และสำหรับภาคอุตสาหกรรมและวิศวกรรม ยังสามารถเจาะจงลงไปได้ด้วยว่า บุคลากรด้านปิโตรเลียมและไฮโดรคาร์บอน เป็นสาขาที่ขาดแคลนบุคลากรมากที่สุด

กลุ่มคนเหล่านี้มักอพยพไปยังประเทศใกล้เคียง เช่น ชิลี อุรุกวัย อาร์เจนตินา หรือแม้แต่ประเทศในยุโรปอย่าง สเปน เนื่องจากไม่มีกำแพงด้านภาษามาเป็นอุปสรรค และสถิติยังชี้ด้วยว่า ผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาที่ 'ไหลออก' ไปยังประเทศเหล่านี้ มักมีความรู้ความสามารถด้านวิทยาการค่อนข้างสูง ซึ่งถือเป็นความสูญเสียอย่างมากต่อการเติบโตของประเทศ

จากข้อมูลของมหาวิทยาลัยอันโตนิโอ รูอิซ เดอ มอนโตยา หรือ UARM ในกรุงลิมา ของเปรู ภายใต้การรับรองขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน หรือ IOM ระบุว่า ในประเทศชิลี ซึ่งมีชาวเวเนซุเอลาลงทะเบียนพักอาศัย 85,500 คน ในปี 2017 ในจำนวนนี้ 64 % จบปริญญาตรีหรือปริญญาโทเป็นอย่างต่ำ ซึ่งมากกว่าผู้อพยพย้ายถิ่นจากชาติอื่น ๆ เป็นเท่าตัว

ขณะเดียวกัน สภาวะความเป็นไปภายในเวเนซุเอลาเองก็ไม่ได้เชื้อเชิญหรือดึงดูดให้คนเข้าไปศึกษาหาความรู้ หรือขับเคลื่อนภาควิทยาการไปข้างหน้าเท่าไรนัก โดยระหว่างปี 2016 ถึง 2017 จำนวนผู้เดินทางเข้าไปเรียนต่อในเวเนซุเอลาลดลงจาก 48 % มาอยู่ที่ 38 % ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ 'คนรุ่นใหม่' อายุ 18 ถึง 24 ปี นับล้านตัดสินใจเลิกไปเรียน และมีเพียง 426,000 คน จากราว 4 ล้านคน ที่ฝึกอบรมอาชีพในแนวทางที่เรียนมาจบตามเงื่อนไข

โฮเซ โคเอชลิน อาจารย์จาก UARM ผู้ร่วมเก็บสถิติด้านบุคลากรที่โยกย้ายถิ่น ให้ความเห็นว่า หากเวเนซุเอลาไม่มีนักเรียนนักศึกษา ก็จะไม่มีงานวิจัยและผลผลิตด้านองค์ความรู้ ซึ่งสะท้อนว่าภาวะขาดแคลนผู้มีความรู้ความสามารถนี้เป็นปัญหาใหญ่ และยิ่งทำให้ประเทศเติบโตไปต่อไม่ได้ ขณะเดียวกัน สถานการณ์ในเวเนซุเอลาขณะนี้ ก็ไม่ได้เอื้อต่อการผลิตความรู้ เท่ากับว่าปัญหาส่วนนี้จะไม่ได้รับการแก้ไขในอนาคตอันใกล้

เขาเสนอว่า หนทางหนึ่งที่อาจใช้บรรเทาความเสียหายจากปัญหานี้ได้คือการประกาศใช้นโยบาย 'รับกลับประเทศ' หรือก็คือ การให้นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพต่าง ๆ กลับเข้าทำงานในภาคส่วนที่ขาดแคลน แทนที่จะปล่อยให้พวกเขาไปทำงานที่ไม่ตรงกับความรู้ความสามารถในประเทศอื่น เช่น กุมารแพทย์ไปเป็นพี่เลี้ยงเด็ก หรือ วิศวกรไปเป็นบริกร เป็นต้น

วิกฤติเวเนซุเอลาสะสมมาตั้งแต่รัฐบาลของนายอูโก ชาเบซ ที่รับตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 1999 โดยเขาเป็นคนเริ่มต้นใช้นโยบายรัฐสวัสดิการ และแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนาน ประกอบกับการตัดทอนผลผลิตของประเทศจนเหลือแต่น้ำมันดิบเป็นสินค้าหลัก ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมไม่มีเสถียรภาพ เกิดเป็นปัญหาเงินเฟ้อขั้นรุนแรงในปัจจุบัน และทำให้ประเทศเข้าสู่ภาวะสงครามกลางเมืองในที่สุด

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog