ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - ตลาดกัญชาสร้างงานชาวอเมริกันกว่า 2 แสนราย - Short Clip
World Trend - 'เนื้อสัตว์ทดแทน' อุตสาหกรรมใหม่ที่อาจโตอีก 20 เท่า - Short Clip
World Trend - ดิสนีย์แลนด์เผยโฉมโซน 'สตาร์ วอร์ส' - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นปรับปรุงโรงแรมรองรับคนพิการก่อนโอลิมปิก - Short Clip
World Trend - ​อัลฟาเบตลงทุนเพิ่มหมื่นล้านกับ 'เมืองใหม่' - Short Clip
World Trend - ธุรกิจกัญชาบูม มีแรงงานมากกว่าสาธารณสุข - Short Clip
World Trend - ยอดขายหัวเว่ยทะลุแสนล้าน แม้ถูกกีดกันจากทั่วโลก - Short Clip
World Trend - 'รถยนต์ไร้คนขับ' เปลี่ยนเกมวงการประกันภัย? - Short Clip
World Trend - นทท.จีนเดินทางไปฮ่องกงเพิ่มขึ้นแม้เงินหยวนอ่อนค่า - Short Clip
World Trend - ​เกาหลีบุกยึด 'กล้องถ้ำมอง' ไลฟ์สตรีมแขกในโรงแรม - Short Clip
World Trend - 'เกรตแบร์ริเออร์รีฟ' อาจไม่สามารถฟื้นตัวได้อีก - Short Clip
World Trend - รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่ยาครอบจักรวาล - Short Clip
World Trend - สหราชอาณาจักรเตรียมติดตั้งเน็ตความเร็วสูงทุกครัวเรือนในปี 2033- Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นวอนนักท่องเที่ยวทำประกันเดินทาง - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นมุ่งแก้ปัญหาฆ่าตัวตายอย่างจริงจัง - Short Clip
World Trend - 'พลัสไซซ์' ตลาดใหม่เพื่อแฟชั่นที่เท่าเทียม - Short Clip
World Trend - อังกฤษกังวล 'ความเหงาในที่ทำงาน' ระบาด - Short Clip
World Trend - 'จำกัดการกินเบอร์เกอร์' ช่วยโลกได้! - Short Clip
World Trend - 'นิสสัน' เตรียมปลดพนักงานทั่วโลกนับหมื่น - Short Clip
World Trend - Gravitymaster รุ่นใหม่จะวางขายเมษายนนี้ - Short Clip
World Trend - ต่างชาตินิยมเสื้อผ้ายูนิโคล่ แต่สวนทางกับทิศทางหุ้น - Short Clip
Oct 22, 2018 16:33

หนึ่งในแบรนด์ยอดนิยมของคนไทยอย่าง ยูนิโคล่ ประสบความสำเร็จต่อเนื่องในเรื่องยอดขาย แต่สิ่งที่แบรนด์ยังขาดคือนักลงทุนต่างชาติ ที่คิดว่ามูลค่าการตลาดของบริษัทสูงเกินไป ซึ่งมีนักวิเคราะห์ออกมาให้ความเห็นว่าความสำเร็จนี้อาจซ้ำรอยแบรนด์ดังอื่น ที่เติบโตอย่างเป็นปรากฏการณ์ และเสื่อมความนิยมลงหลังจากนั้น

เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว สำนักข่าวบลูมเบิร์กเผยแพร่บทความระบุว่า ยูนิโคล่ แบรนด์เสื้อผ้าชื่อดังที่เป็นที่นิยมในหลากหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย และยังเปิดสาขาใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเพิ่งเปิดแฟล็กชิปสโตร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กรุงมะนิลา ของฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาค และเป็นการเปิดแฟล็กชิปสโตร์หลังจากการบุกตลาดฟิลิปปินส์เพียง 6 ปีเท่านั้น แต่ถึงอย่างนั้น หุ้นของบริษัท 'ฟาสต์ รีเทลลิง' เจ้าของแบรนด์ยูนิโคล่ กลับไม่เป็นที่นิยมในหมู่นักลงทุนชาวต่างชาติเอาเสียเลย และปัจจุบันมีผู้ถือหุ้นต่างชาติเพียง 18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น คิดเป็นครึ่งหนึ่งของสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติในบริษัทญี่ปุ่นขนาดใหญ่ 10 อันดับแรก 

ทั้งนี้ บลูมเบิร์กชี้ว่า มูลค่าของบริษัทอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หุ้นไม่ได้รับความนิยมกับชาวต่างชาติเช่นนี้ โดยแม้บริษัทจะคาดการณ์ยอดขายปีนี้และกำไรในเดือนนี้ไว้สูงระดับทำลายสถิติเดิม แต่อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นและอัตรากำไรจากการดำเนินงานของบริษัทกลับอยู่อันดับท้าย ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับแบรนด์ต่างชาติอื่น ๆ และยูนิโคล่ยังเป็นแบรนด์ที่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับกำไรสุทธิ ยิ่งไปกว่านั้น ต้นทุนการลงทุนเฉลี่ยของบริษัท ยังสูงกว่า ค่าเฉลี่ยของบริษัทขนาดใหญ่ 20 แห่งในญี่ปุ่น ที่ไม่นับรวมถึงสถาบันการเงิน มากถึงเกือบเท่าตัวอีกด้วย

หนึ่งในนักวิเคราะห์ตลาดในญี่ปุ่นอย่าง ไมก์ อัลเลน จากบริษัท เจฟเฟอรีส์ เจแปน ให้ความเห็นกรณีนี้ว่า ทุกครั้งที่เขากล่าวถึงบริษัท ฟาสต์ รีเทลลิง กับนักลงทุนต่างชาติ จะมีอย่างหนึ่งที่ทุกคนพูดตรงกัน ก็คือมูลค่าประเมินของบริษัทนั้นเฟ้อเกินจริงไปมาก ซึ่งสำหรับประเด็นนี้ ฟาสต์ รีเทลลิง ไม่ได้ออกมาให้ความเห็นเรื่องราคาหุ้นตามที่สำนักข่าวบลูมเบิร์กติดต่อไปแต่อย่างใด

ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติพลาดการลงทุนกับบริษัทแม่ของยูนิโคล่ ที่มีมูลค่าตลาดพุ่งขึ้นถึง 18,000 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 600,000 ล้านบาท หลังราคาหุ้นพุ่งสูง 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนหนึ่งมีจากความสำเร็จด้านยอดขายในต่างประเทศ ซึ่งแม้อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นของบริษัทจะอยู่ที่ 19 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าน้อยกว่าบริษัทต่างชาติในธุรกิจเดียวกันอยู่มาก แต่ก็ถือว่าสูงว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหุ้นนิกเกอิแล้ว

ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติลังเลที่จะถือครองหุ้น อาจเป็นเพราะความต้องการถือหุ้นในระยะสั้น ซึ่งต่างจากตรรกะการถือหุ้นของบริษัทญี่ปุ่น ที่มักถือครองในระยะยาว ซึ่งมีดัชนีราคาหุ้นในเกณฑ์สูง ที่ 9 เปอร์เซ็นต์ และเป็นบริษัทที่ต้นทุนการเงินสูงที่สุดในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นอย่าง โซนี่ โตโยต้า นิสสัน และซอฟต์แบงก์ด้วย

ไมก์ อัลเลน ระบุว่า กว่าที่ราคาหุ้นจะลดลงมาจนสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติได้ น่าจะใช้เวลาหลายปี และบริษัทที่เติบโตได้อย่างเป็นปรากฏการณ์อย่าง ฟาสต์ รีเทลลิง นั้น มักจะมีระยะการทำกำไรที่ไม่ยาวนาน ซึ่งปัจจุบัน บริษัทมีลักษณะเหมือนแบรนด์ 'แก๊ป' เมื่อ 20 ปีก่อน ที่ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น จึงเป็นที่น่าจับตาว่า ฟาสต์ รีเทลลิง และแบรนด์ยูนิโคล่จะ 'แก้เกม' หรือปรับบริษัทให้เป็นไปในทิศทางไหนหลังจากนี้

ยูนิโคล่ เริ่มต้นจากการเป็นผู้ผลิตสิ่งทอในเมืองยามากุจิ ในปี 1949 จากนั้นเข้าของกิจการรุ่นลูกได้เข้ามาช่วยรุ่นพ่อบริหาร ในปี 1984 และตั้งชื่อว่า 'ยูนิโคล่ โคลธิง แวร์เฮาส์' โดยตั้งเป้าให้เป็นร้านเสื้อผ้าที่สวมใส่ง่าย และภายหลังได้ปรับชื่อให้เหลือเพียง 'ยูนิโคล่' ในปี 1988 จนปัจจุบันได้ขยายสาขาจนมีมากกว่า 1,000 แห่งทั่วโลก

จุดเด่นของยูนิโคล่ นอกจากจะอยู่ที่ราคาที่จับต้องได้และสไตล์ที่ไม่ยุคเทรนด์ง่าย ๆ แล้ว ยังมีความเข้าใจผู้บริโภคในแต่ละประเทศด้วย เช่น ในประเทศไทย ที่เป็นเมืองร้อน และมีอากาศแตกต่างจากญี่ปุ่นนั้น ยูนิโคล่ก็เลือกที่จะนำเสนอเสื้อผ้าตามเทรนด์ที่เหมาะกับสภาพอากาศเมืองร้อน และพยายามผลักดันการใส่ไอเท็มอื่น ๆ ที่เหมาะกับอากาศแต่ไม่เคยเป็นที่นิยม เช่น Inner Wear หรือเสื้อเสื้อทับใน เท่ากับว่ายูนิโคล่เป็นแบรนด์ที่ทั้งเข้าใจผู้บริโภค และเข้าใจสินค้าของตัวเองด้วย


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog