ไม่พบผลการค้นหา
ทุ่ม 1,500 ล้าน จ้าง 'กันตาร์มีเดีย' วัดเรตติ้งไทย
เฟซบุ๊ก เปิดรับ Head of Thailand
สตาร์บัคส์ สหรัฐฯ ส่งเมล็ดกาแฟถึงบ้าน
อินทัช-ฮุนได เปิดตัว 'ไฮ ช็อปปิ้ง' ในไทยแล้ว
7เดือนแรกงบโฆษณาโต 24.02% แต่วงการคาดปีนี้ติดลบ
แฮปปี้ จับมือ เฟซบุ๊ก เพิ่มยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทย
การบินไทย พร้อมเสิร์ฟอาหาร 5 ดาว บนเครื่อง
ไทยสมายล์ปรับภาพลักษณ์ ชูกลยุทธ์ 3S
อินทัช เปิดตัวรักษาการซีอีโอ สานต่อแผนธุรกิจ
IDC คาดการใช้จ่าย ICT ไทยปี 58 โต 3.8%
Apple ทุ่ม 3 หมื่นล้านผลิตไฟฟ้าใช้เอง
เฟซบุ๊ก เผยโดรนกระจายอินเทอร์เน็ต
Ensogo - ขายดี.คอม แนะ 'รับของก่อนจ่าย' ปลอดภัยสุด
LINE เปลี่ยน CEO ใหม่ เมษายน 2558
'พนักงานมาก่อน' เทรนด์มาแรงยุคดิจิตอล 2016
แกรมมี่ฟิล์ม ถึง GTH อนาคตธุรกิจภาพยนตร์ของแกรมมี่?
CPN เตรียมเปิดคอนโดใหม่ ต้นปี 59
'ไนกี้' เจาะตลาดผู้หญิง ดิจิทัล และจีน เพิ่มยอดขาย
MINI เตรียมเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า 100% ปี 2019
เจาะกลยุทธ์เจ้าตลาดอสังหาฯกับ ''พฤกษา เรียลเอสเตท''
แบรนด์ รับมืออย่างไรเมื่อเจอข่าวลบ
Apr 10, 2015 00:12

อิทธิพลของโลกออนไลน์  ไม่ได้เป็นผลบวกต่อการทำการตลาดของแบรนด์เท่านั้น  แต่นำมาซึ่งการแสดงความคิดเห็นเชิงลบ ที่มีผลกระทบต่อแบรนด์และองค์กรด้วย หลายแบรนด์ จึงต้องมีช่องทางโซเชียล มีเดีย เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมาย  เช่นกรณีของ GTH  และ การบินไทย  ใช้ช่องทาง เฟซบุ๊ก ชี้แจงข้อเท็จจริงจากคำวิจารณ์เชิงลบ           

กรณีของ GTH  หลังมีนักแสดงซีรีย์เรื่องดัง อัพโหลดคลิปเต้นแร้งเต้นกาบนรถไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั่วโลกออนไลน์ ทางต้นสังกัด ก็รีบออกชี้แจงกรณีนี้ทันทีผ่าน เฟซบุ๊ก GTH  พร้อมกับสั่งนักแสดงกลุ่มนี้ งดใช้สื่อ โซเชียล มีเดีย เป็นเวลา 3-6 เดือน       

เช่นเดียวกับ การบินไทย ที่ใช้ช่องทาง เฟซบุ๊ก ชี้แจงกรณียกเลิกตั๋ว เฟิรส์ คลาส ของเด็ก 2 ขวบ  เพื่อนำไปให้ วีไอพี นามสกุลดัง  โดยยืนยันว่า ไม่ได้ให้ที่นั่งกับบุคคลใด  และอยู่ระหว่างตรวจสอบตัวแทนจำหน่ายบัตร ที่ผู้โดยสารได้ทำการสำรองที่นั่งดังกล่าว

เว็ปไซต์ อีคอมเมิร์ซ ดอท แมกกาซีน  ระบุว่า  การรับมือกับเสียงวิจารณ์เชิงลบบนโลกโซเชียล  ควรทำอย่างระมัดระวัง  เพราะอาจสร้างภาพลบให้แก่แบรนด์ได้เช่นกัน  และการใช้โซเชียล เน็ตเวิร์ก ให้ประสบความสำเร็จต่อแบรนด์  ก็คือ การชี้แจงปัญหาและคัดกรองข้อมูลเหล่านี้ มาแก้ปัญหาในองค์กรและแบรนด์    

ทั้งนี้ หากแบรนด์ ต้องเจอเสียงวิจารณ์ทิศทางธุรกิจและบริการของแบรนด์  โดยให้ความเห็นสวนทางกับสิ่งที่แบรนด์ทำ  ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญการตลาด หรือ การพัฒนาสินค้า  สิ่งที่แบรนด์ควรทำ ก็คือ รับฟังคำวิจารณ์เหล่านั้น และนำมาแก้ไข หรือพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม  โดยรวบรวมคำวิจารณ์ส่งต่อให้กับฝ้ายที่เกี่ยวข้อง

หรือเจอกับคอมเม้นท์โจมตี มากกว่า วิพากษ์วิจารณ์  ซึ่งคอมเมนต์ในกลุ่มนี้ มีความละเอียดอ่อนค่อนข้างสูง เพราะระดับความรุนแรงค่อนข้างมาก คำแนะนำในการรับมือ ก็คือ การตอบกลับโดยเร็วในเชิงบวก เพื่อลดความตึงเครียด  ขณะเดียวกัน ต้องเร่งหาทางแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว

หากเจอกับกลุ่มป่วนหรือจ้องทำลายแบรนด์  การจัดการ คือ ไม่ควรตอบโต้  แต่ให้นำคอมเมนต์เหล่านี้ ไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาสินค้าต่อไป  โดย การฟัง จะเป็นกุญแจไขความสำเร็จให้แก่แบรนด์ และองค์กร  ได้  

 

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog