ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - 'อาหารห่อกลับ' ปัจจัยเร่งโรคอ้วนในเด็กอังกฤษ - Short Clip
World Trend - 'อ้ายฉีอี้' เปิดตัวแอปฯ ใหม่ เจาะตลาดผู้สูงวัย - Short Clip
World Trend - Nissan Leaf E+ แล้วในญี่ปุ่น - Short Clip
World Trend - อินเทลบรรลุเป้า 'ความหลากหลายด้านกำลังคน' - Short Clip
World Trend - คาด 30 ปีข้างหน้า อากาศโลกจะเปลี่ยนแปลงรุนแรง - Short Clip
World Trend - ผลสำรวจชี้ คนรุ่นใหม่มองชีวิตในแง่ร้าย - Short Clip
World Trend - อินสตาแกรมเพิ่มโฆษณาในหน้าฟีด - Short Clip
World Trend - สงคราม 'ไขมันทรานส์' ประเทศไหนน่าห่วงที่สุด? - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นสวนกระแสโลก ไม่นิยมผู้บริหารหญิง - Short Clip
World Trend - 'อยู่ใกล้ทะเล' ช่วยให้สุขภาพดีกว่า - Short Clip
World Trend - แอปเปิลเปิดตัวแมคบุ๊ก 'กรีนที่สุด' - Short Clip
World Trend - 'สลัดผักพร้อมกิน' มื้อด่วนฮิตในเกาหลีใต้ - Short Clip
World Trend - 'ฟาร์มไก่มีจริยธรรม' เทรนด์บริโภคไข่ของวันนี้ - Short Clip
World Trend - เทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าในมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 39- Short Clip
World Trend - ชาวอเมริกันนิยมอยู่บ้านเพื่อประหยัดพลังงาน - Short Clip
World Trend - 'เวสป้า' เตรียมส่งรถไฟฟ้าล็อตแรกปีนี้ - Short Clip
World Trend - แอปเปิลสั่งลดการผลิตไอโฟนรุ่นใหม่ลง 20 % - Short Clip
World Trend - มจพ. เตรียมส่งดาวเทียม ‘แนคแซท’ สู่วงโคจร ส.ค.นี้ - Short Clip
World Trend - รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่ยาครอบจักรวาล - Short Clip
World Trend - อาดิดาสกับการเน้นครองใจวัยรุ่นจีน - Short Clip
World Trend - ผู้หญิงเรียนสูงเกินจำเป็นเพื่อพิสูจน์ตัวเอง? - Short Clip
Nov 21, 2018 16:34

ปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศในที่ทำงานทำให้เกิดพฤติกรรมที่ผู้หญิงพยายามพิสูจน์ตัวเองให้เกินจากที่ตำแหน่งงานเรียกร้อง แม้ศักยภาพการทำงานระหว่างหญิงชายจะไม่ต่างกันก็ตาม

บทความล่าสุดของซีเอ็นเอ็น โดย ลีโอนอรา ริสส์ พยายามหาตัวเลขที่ชี้ชัดว่าผู้หญิงและผู้ชายมีพฤติกรรมการทำงานไม่เหมือนกัน จากปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศ และการเลื่อนตำแหน่งให้ลูกจ้างโดยแบ่งแยกเพศ ทำให้พบว่าผู้หญิงมักเรียนสูงกว่าที่จำเป็นกับตำแหน่งงานที่ทำเฉลี่ย 1 ปีครึ่ง และมีประสบการณ์ทำงานมากกว่าที่ตำแหน่งงานต้องการถึงเกือบ 1 ปี โดยผู้เขียนยกตัวอย่าง ดอนนา สตริกแลนด์ นักฟิสิกส์ชาวแคนาดา ที่ทำงานวิจัยจนตัวเองได้รับรางวัลโนเบลเสียก่อน เธอจึงสมัครเพื่อรับพิจารณาปรับตำแหน่งวิชาการเป็นศาสตราจารย์ เพื่อให้แน่ใจว่าการสมัครจะไม่สูญเปล่าและเธอจะได้รับการเลื่อนขั้นอย่างแน่นอน

แนวคิดเช่นนี้เป็นผลมาจากความไม่เท่าเทียมทางเพศในที่ทำงานที่พบเห็นได้ในทุกอุตสาหกรรม แม้ว่าศาสตราจารย์สตริกแลนด์ไม่ได้ยืนยันหรือปฏิเสธว่า เธอทำเช่นนั้นเพราะเคยเห็นนักวิชาการชายรอบตัวได้รับการเลื่อนขั้นอย่างไม่เป็นธรรมหรือไม่ก็ตาม แต่บทความนี้ก็สะท้อนให้เห็นว่า ผู้หญิงจำนวนมากยังเลือกที่จะประสบความสำเร็จมากกว่าผู้ชาย เพื่อที่จะได้รับการยอมรับเท่ากัน

ผลการศึกษาของ ริสส์ ผู้เขียนบทความ ยังชี้ชัดลงไปด้วยว่า ในเชิงเศรษฐศาสตร์แล้ว มีผู้ชาย 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ "over-invest" หรือลงทุนเกินจากที่จำเป็น ในเชิงการเสริมสร้างทักษะและศักยภาพการทำงาน ขณะที่ผู้หญิงมีมากถึง 11 เปอร์เซ็นต์

ด้านศูนย์ข้อมูลประชากรออสเตรเลียก็มีข้อมูลที่ชี้ว่า ผู้หญิงได้รับค่าจ้างน้อยกว่า เมื่อเทียบกับระดับการศึกษาที่เท่ากัน โดยพิจารณาจากผู้จบปริญญาด้านนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ แพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่าเมื่อผู้หญิงเสนอตัวเพื่อรับพิจารณาเลื่อนขั้น จะไม่ประสบความสำเร็จเท่ากับเมื่อผู้ชายเสนอตัว

ขณะที่ อีกงานวิจัยหนึ่งที่น่าสนใจและไม่เคยมีการศึกษาหรือข้อสรุปเช่นนี้มากก่อนก็คือ งานวิจัยของ ดอกเตอร์ โรเบิร์ต กิฟฟอร์ด จากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ในสกอตแลนด์ ที่ระบุว่าเมื่อได้รับการฝึกฝนอย่างเท่าเทียมกันแล้ว ผู้หญิงมีความแข็งแกร่งทางกายภาพเหมือนกับผู้ชาย จากการทดสอบให้ทหารหญิง 6 นาย เทรกกิง หรือเดินข้ามทวีปแอนตาร์กติกา พบว่าไม่มีผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพมากไปกว่าทีมผู้ชาย

ทั้งนี้ ทหารหญิงทั้ง 6 นาย ได้รับการฝึกซ้อมเตรียมร่างกายอย่างหนัก ก่อนจะออกเดินทางร่วม 62 วัน ท่ามกลางสภาวะที่ลมแรงต่อเนื่องและอุณหภูมิติดลบ ซึ่งพวกเธอต้องเดินเท้าเป็นระยะทาง 1,700 กิโลเมตร และต้องแบกสัมภาระ 80 กิโลกรัม โดยตัวชี้วัดที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ ระดับความเครียด ระดับฮอร์โมน น้ำหนักตัว และความแข็งแกร่งของกระดูก

ดอกเตอร์ กิฟฟอร์ด ซึ่งก็เป็นทหารด้วยนั้น ได้กล่าวกับสื่อของกองทัพอังกฤษว่า งานวิจัยของเขาช่วยให้เข้าใจอย่างชัดเจนว่าทุกเพศสภาพล้วนมีความแข็งแกร่งและเปราะบาง ซึ่งกองทัพควรต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนอย่างเต็มที่ที่สุด เพื่อให้ทุกคนได้รับหน้าที่ที่เหมาะสมโดยไม่ต้องยึดติดหรือมีข้อจำกัดทางเพศสภาพ

งานวิจัยดังกล่าวออกมาสอดรับกับนโยบายของกระทรวงกลาโหมอังกฤษที่เพิ่งประกาศเมื่อเดือนที่แล้วว่า กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และหน่วยรบพิเศษ ที่เทียบเท่ากับนาวิกโยธินสหรัฐฯ เปิดรับผู้สมัครหญิงอย่างเท่าเทียมแล้ว ซึ่งผู้สมัครที่ผ่านการทดสอบร่างกายและผ่านสัมภาษณ์ จะต้องเข้ารับการฝึก 32 สัปดาห์ตามมาตรฐาน ในปีหน้า

ย้อนกลับไปที่บทความของ ริสส์ ที่เผยแพร่ผ่านซีเอ็นเอ็น เธอได้ระบุถึงหน่วยงานทั่วไปว่า องค์กรต่าง ๆ ควรต้องมีระบบประเมินลูกจ้างชายและหญิงอย่างเป็นธรรมและเสมอภาค เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้น ก็จะสูญเสียประโยชน์จากการไม่ใช้คนตามศักยภาพอย่างเต็มที่ และเมื่อหน่วยงานต่าง ๆ สูญเสียประโยชน์ สังคมโดยรวมก็จะสูญเสียประโยชน์เช่นกัน






Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog